Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางและมาตรการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของประเทศ

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการศึกษา/Education
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาว วิไลวรรณ ตันจ้อย
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางและมาตรการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของประเทศ ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นางสาววิไลวรรณ ตันจ้อย หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงมาตรการต่าง ๆ ของทบวงการพลังงานปรมาณู ระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) ซึ่งถือเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มี บทบาทโดยตรงในการควบคุมการใช้พลังงานนิวเคลียร์ให้มีความมั่นคงปลอดภัย เพื่อประเมินสถานะและ ความพร้อมด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของไทย รวมทั้งเปรียบเทียบกับสถานะของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนเพื่อเสนอแนวทางและมาตรการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ของไทยร่วมกับเครือข่ายทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีขอบเขตเนื้อหาในการศึกษาแนวทางและ มาตรการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ที่เหมาะสมกับประเทศไทยในบริบทสถานการณ์ และการพัฒนาในปัจจุบัน และเป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศและมาตรฐานสากล การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการรวบรวม ศึกษา หาข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การ รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่มีความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ด้านความมั่นคง ระดับชาติ และความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือของ IAEA การ ประเมินความพร้อมและขีดความสามารถของประเทศไทย รวมถึงปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค เพื่อน าไปสู่การจัดท าแนวทางและมาตรการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของ ประเทศ และการสรุปผลการวิจัย และจัดท าข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยจากการประเมินความพร้อมและขีดความสามารถของประเทศไทย พบว่าประเทศไทย มีจุดแข็งอยู่หลายด้าน อาทิ มีกฎหมายที่ครอบคลุมและรองรับการด าเนินการด้านความมั่นคงปลอดภัยทาง นิวเคลียร์ มีระบบควบคุมการใช้วัสดุนิวเคลียร์และวัสดุกัมมันตรังสีของประเทศ ผู้น าประเทศให้ความส าคัญ มีการเตรียมความพร้อมในการตอบโต้สถานการณ์และมีห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์และมีการ ทบทวนภัยคุกคามของสถานประกอบการ ขณะที่ยังคงมีจุดอ่อนบางประการ อาทิ การขาดแผนความมั่นคง ปลอดภัยทางนิวเคลียร์แห่งชาติ แผนตอบโต้เหตุความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์วัฒนธรรมความมั่นคง ปลอดภัย การพัฒนาศักยภาพด้านความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุกัมมันตรังสีและการขนส่ง และความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์รวมถึงภัยคุกคามทางนิวเคลียร์และรังสียังไม่ได้เป็นประเด็นในนโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติด้วย จึงสามารถก าหนดนโยบายเฉพาะด้านผ่านมาตรการ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านกฎหมาย และการก ากับดูแล ด้านภัยคุกคามและการประเมินความเสี่ยง ด้านการคุ้มครองทางกายภาพ ด้านการ ตรวจจับอาชญากรรม ด้านการตอบโต้ และด้านความยั่งยืนของระบอบความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการศึกษาวิจัย คือ ควรก าหนดภัยคุกคามทางนิวเคลียร์และ รังสีเข้าเป็นประเด็นนโยบายระดับชาติ พิจารณาตั้งคณะอนุกรรมการความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ภายใต้คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ควรมีกองบัญชาการตอบโต้เหตุความมั่นคงปลอดภัยทาง นิวเคลียร์และให้ส านักงานปรมาณูเพื่อสันติจัดท าเป็นแผนที่น าทางขององค์กรเป็น 3 ระยะ (ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว)

abstract:

ข ABSTRACT Title Approaches and Measures to Strengthen National Nuclear Security Field Science and Technology Name Ms. Vilaivan Tanjoy Course NDC Class 60 This research has been conducted to grasp the following objectives: to study related nuclear security measures of International Atomic Energy Agency (IAEA), to assess Thailand’s readiness in nuclear security along with comparison in the ASEAN region and to identify approaches and measures to strengthen nuclear security nationally and internationally. The scope of research covers study of IAEA nuclear security approaches and measures appropriate for Thailand’s current situation as well as conforming to international legal instruments and standards. The qualitative research methodology includes literature reviews, in-depth interviews with key persons involving with national security and/or nuclear security, analysis using IAEA tools, assessment of national nuclear security capabilities, as well as drawing significant results and recommendations. The results from the study through assessment showed many strengths of Thailand nuclear security such as nuclear security legislative framework, national registers for nuclear and radioactive materials, strong supports from the national leaders, response and technical supports for nuclear security events and threat assessment of facilities. Nevertheless, the study also unveiled several weaknesses such as the lack of national nuclear security plan, national response plan, security culture, radioactive source security, transport security and cybersecurity. Nuclear and radiation related threats are not reflected in the national security policy and plan. Specific policies were drawn from these results through six measures including legislative and regulatory measure, threats and risk assessment, physical protection, detection of criminal acts, security response and sustainability. The research results delivered recommendations to push forward nuclear and radiation issue into the national agenda, to form a sub-committee on nuclear security under the Nuclear Energy for Peace Commission, to establish nuclear response command and to bring the Office of Atoms for Peace’s nuclear security roadmap covering three phases (short-, medium- and long-term) into action.