เรื่อง: การบูรณาการงบประมาณในการป้องกันและแก้ไขการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี วิเชียร แข็งขัน
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การบูรณาการงบประมาณในการป้องกันและแก้ไขการก่อความไม่สงบใน
จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย พล.ต.วิเชียร แข็งขัน หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐
เอกสารวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการบูรณาการงบประมาณ
กลไกและกระบวนการในการบูรณาการงบประมาณเพื่อป้องกันและแก้ไขการก่อความไม่สงบในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในปัจจุบัน และเสนอแนะแนวทางการบูรณา
การงบประมาณเพื่อให้การป้องกันและแก้ไขการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก
รวมทั้งใช้ข้อมูลทุติยภูมิ คือข้อมูลที่ได้จากเอกสารทางวิชาการ และแนวคิดทฤษฎีจากผลงานวิจัยที่
เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การจัดกลไกรับผิดชอบแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ
รัฐบาลชุดปัจจุบัน ในภาพรวมมีความเหมาะสม เป็นไปตามแนวคิดหลักของการบูรณาการ คือความ
เชื่อมโยง (Connection) และความสอดคล้องกัน (Alignment) มีการใช้ทรัพยากร งบประมาณ และ
บุคลากรร่วมกัน มีเป้าหมายการปฏิบัติงานร่วมกัน ซึ่งรัฐบาลได้ก าหนดกลไกและกระบวนการ
ในการบูรณาการงบประมาณไว้ตามเอกสาร ๒ ฉบับ ได้แก่ ๑. ค าสั่งส านักนายกรัฐมนตรีที่ ๓๓๗/
๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๐ เรื่อง ปรับปรุงองค์ประกอบและอ านาจหน้าที่คณะกรรมการ
พิจารณาการจัดท างบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒
และ ๒. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๘/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.
๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้ก าหนดแนวทางการด าเนินงานไว้ ๓ ระดับ
ได้แก่ ระดับนโยบาย ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และระดับปฏิบัติ ผลการวิจัยพบว่า
การบูรณาการงบประมาณมีปัญหาและอุปสรรคในเชิงโครงสร้างและในเชิงการบริหารอยู่หลาย
ประการ จึงมีข้อเสนอแนะเพื่อให้การป้องกันและแก้ไขการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ ๑. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งหน่วยงานภายในรองรับภารกิจงาน
เพื่อให้เกิดความเข้าใจและมีความต่อเนื่องของผู้ปฏิบัติงาน ๒. ปรับปรุงอัตราของ กอ.รมน. ให้มี
ต าแหน่งบริหารของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ๓. จัดท าหลักเกณฑ์การเสนอของบประมาณในแผนงาน
บูรณาการประจ าปีให้สอดคล้องกับก าหนดเวลาการเสนอค าของบประมาณในปฏิทินงบประมาณ
๔. มุ่งเน้นการติดตามประเมินผลโครงการที่ส าคัญอย่างจริงจังทุกปี เป็นต้น
abstract:
ABSTRACT
Title Integration of budget to prevent and correct insurgency in southern
border provinces
Field Economics
Name Major Genernal Vichien Kangkan Course NDC Class 60
This research aims to study concepts of budget integration theory, mechanisms
and processes of integrating the budget to prevent and correct insurgency in southern
border provinces to analyze current problems and obstacles and then propose a more
effective integration of the budget. This qualitative research paper and In-Depth interviews
use academic documents and theoretical concepts from related research as secondary data.
The results indicated that the overall picture of the current government’s
organizing mechanism responsible for solving problems of the southern border provinces is
appropriate. The mechanism is based on the concept of integration: connection and
alignment; and mutual use of resources, budget and personnel; and, possession of common
performance goal. The government released 2 documents relating to mechanisms and
processes to integrate budgets: 1) The Prime Minister's Office Order, no. 337/2560 dated
December 14, 2017, titled the Revision of the Composition and Authority of the Budgetary
Review Committee in the form of Strategic Integration for the Fiscal Year 2019 and 2) The
National Council for Peace and Order (NCPO) Announcement, no.98/2557 dated July 21,
2014, titled Problem Solving Strategies in Southern Border Provinces, which consist of
3 steps: policy, transforming policy to implementation, and implementation.
The research found that the integration of the budget has many structural and
managerial barriers. The suggestions for the more effective approaches are as follows
1) Relevant agencies establish an internal agency for the mission so that the operator can
work in continuity and with understanding 2) Appoint administrative positions for the
concerning ministries in the Internal Security Operations Command (ISOC) 3) Set the budget
request regulations of the annual integrated plan in accordance with the budget calendars.
4) Follow up closely and consistently on projects of significant importance.