Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาสวัสดิการแรงงานเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย วรรณรัตน์ ศรีสุขใส
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การพัฒนาสวัสดิการแรงงานเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายวรรณรัตน์ ศรสีขใส ุ หลักสูตร วปอ.รุ่นที่ 60 ตําแหน่ง ผู้อานวยการกองความปลอดภ ํ ัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคมครองแรงงาน ุ้ การวิจัยเรื่องการพัฒนาสวัสดิการแรงงานเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์เปรียบเทียบสวัสดิการแรงงานต่างๆ ทั้งที่กฎหมายกําหนดและนอกเหนือกฎหมายที่สถานประกอบกิจการต่างๆใช้อยู่ในปัจจุบัน ว่ามีความเหมาะสมครอบคลุมหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุง แก้ไข กฎหมายเพื่อให้ สถานประกอบกิจการมีสวัสดิการแรงงานที่ครอบคลุมเหมาะสม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี ของผู้ใช้แรงงานเตรียมพร้อมรองรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ผลการวิจัยพบว่า สวัสดิการแรงงานของผู้ใช้แรงงาน มีกําหนดในกฎกระทรวงว่าด้วย การจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2548 ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ยังไม่ครอบคลุม ครบถ้วน ไม่ทันต่อสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจสังคม ในปัจจุบัน ส่วนสวัสดิการนอกเหนือกฎหมายกําหนด เช่น ค่าครองชีพ เงินโบนัส เบี้ยขยัน ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น ผู้ใช้แรงงานจะได้รับเมื่อมีการเจรจาต่อรองกันกับนายจ้างในบางครั้ง ก็จะทําให้เกิดปัญหาการประท้วง ผละงาน นัดหยุดงาน ปิดงาน ซึ่งจะมีผลกระทบกับความสงบ เรียบร้อยในสังคมและทําให้นักลงทุนต่างประเทศกังวลใจที่จะลงทุนในประเทศไทย ข้อเสนอแนะ ในระดับนโยบาย ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาท หน้าที่ด้านการกําหนดและพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการการส่งเสริมสนับสนุนและดําเนินการให้มี สวัสดิการ ตลอดจนปฏิบัติงานรวมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติของหน่วยงานอื่นทีเกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ มอบหมายใช้กลไกประชารัฐขับเคลื่อนด้านสวัสดิการแรงงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน เป็นระบบไตรภาคีประกอบด้วย ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนายจ้างฝ่ายลูกจ้างซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีอํานาจหน้าที่ในการเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย แนวทางมาตรการด้านสวัสดิการการออกกฎกระทรวง ระเบียบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการในสถานประกอบ กิจการและคุ้มครองสิทธิแรงงานกรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ ระดับสถานประกอบกิจการ คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการเป็นระบบ ทวิภาคีประกอบด้วยผู้แทนลูกจ้างที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างน้อย 5 คน ทําหน้าที่ร่วมหารือเสนอแนะนายจ้าง ในการจัดสวัสดิการให้แก่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยเห็นควรเสนอเพิ่มเติมกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถาน ประกอบกิจการขึ้นใหม่ให้ครอบคลุมในแต่ละด้านดังนี้ข 1. สวัสดิการด้านการเงิน ควรกําหนดเรื่อง เงินโบนัสพนักงาน เงินช่วยค่ารักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้าน เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ เบี้ยขยัน 2. สวัสดิการด้านบริการและสิ่งอํานวยความสะดวก ควรกําหนดเรื่อง การจัดตั้งกองทุน สํารองเลี้ยงชีพ การจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการการจัดรถรับ – ส่งพนักงาน การจัดที่ พักให้พนักงาน จัดอาหารราคาถูกจําหน่ายให้พนักงาน 3. สวัสดิการด้านการพัฒนาลูกจ้าง ควรกําหนดเรื่องต่างๆ ดังนี้สนับสนุนให้ลูกจ้าง ได้รับการฝึกอบรมจากสถาบันภายนอก อบรมความรู้ในสถานประกอบกิจการ จัดศึกษาดูงาน อบรม ภายในประเทศส่งเสริมการศึกษาในเวลาทํางาน จัดศึกษาอบรมดูงานภายนอกประเทศ 4. สวัสดิการด้านการนันทนาการ ควรกําหนดเรื่องต่างๆ ดังนี้จัดเลี้ยงสังสรรค์ประจําปี จัดกิจกรรมวันเกิดให้กับพนักงาน จัดกีฬาในโรงงาน จัดทัศนศึกษาสนับสนุนอุปกรณ์กีฬาสถานที่แข่งขัน 5. สวัสดิการด้านสุขภาพอนามัย ควรกําหนดเรื่องต่างๆ ดังนี้จัดกิจกรรมโรงงานสีขาว จัดทําระบบมาตรฐานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (มยส.) จัดกิจการอบรมให้ความรู้การเสริมสร้าง สุขภาพ จัดบริการตรวจสุขภาพให้แก่ลูกจ้าง จัดให้มีสถานที่ออกกําลังกายทั้งในและนอกสถานประกอบ กิจการ

abstract:

1 Abstract Title: Labour welfare development to support Years National Strategies (2017–2026) Type of study: PsychoSocial Researcher: Mr. Wannarat Srisuksai Position: Occupational Safety and Health Division Director. The Labour welfare development to support 120 Years National Strategies (2017-2026) research aims to study, analyze and compare the coverage and suitability of labour welfare required by law and general welfare that enterprises usually provide for their employees to make recommendation for updating the law and enhance quality of working life to get ready for 20 Years National Strategies (2017–2026). Result of this research found that labour welfare required by Ministerial Regulations Concerning the Provision of Labour Welfare in Workplace B.E.2548 (2005) (Ministerial regulation under Labour Protection Act B.E. 2541) is not coverage and suitable for current socioeconomic situation. Also, general welfare which is more than the law requirement such as cost of living allowance, bonus, diligence allowance, medical cost always depend on the collective bargaining between workers and employers and sometime causes protest, strike and lock out which are effect to the harmonization of the social and the decision of foreign investors. Recommendation: By policy level, The Labour Protection and Welfare Department should be the main actor to regulate and develop form of labour welfare, promote and support labour welfare arrangement also cooperate with other relevant organization and use public-private mechanism to provide labour welfare. The National Labour welfare committee is a tripaties committee appoint by labour minister. This committee composes of representatives from government, employer and employees and responsible for recommend the labour welfare policy, 2 regulation to minister and protect worker right in case of enterprises changes their location. Labour Welfare committee in enterprises level is bipaties system compose of 5 workers representative from election to consult and make recommendation about welfare that employer provide for workers. The recommendation of this research is to update the ministerial regulation concerning labour welfare to cover each type of welfare as following. 1. Compensation welfare should cover Bonus, Medical cost, Housing cost of living allowance and diligence allowance. 2. Services and Facilities welfare, should cover provident fund, credit union in enterprises, employee’s shuttle bus, resting area and cheap food for workers. 3. Skill and knowledge development welfare, should cover training from external provider, in house training, and study visit in country and overseas. 4. Recreations welfare, should cover annual employees social gathering parties, Birth day activities, sport activities and equipment, and arrange field trips for workers. 5. Health welfare, should cover Drugs prevention activities, Standard on prevention and solution to drugs problems in an enterprises, Health promotion program, Medical Check Up and provide exercising places for employees.