Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นให้แข็งแรงและยั่งยืนเพื่อความมั่นคงของประเทศ

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง วรรณภรณ์ เกตุทัต
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นให้แข็งแรงและยั่งยืนเพื่อความมั่นคงของประเทศ ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นางวรรณภรณ์ เกตุทัต หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 งานวิจัยฉบับนี้จะน าเสนอแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นให้แข็งแรงและ “มั่นคง ยั่งยืน” ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม ต่อยอดจากนโยบายพัฒนาประเทศที่รัฐบาลวางไว้ จึงได้ศึกษาปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นของประเทศไทย วิเคราะห์แผนและนโยบาย ต่างชาติ และเสนอแนะแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นไทยอย่างยั่งยืน งานวิจัยฉบับนี้ครอบคลุมการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยมุ่งประเด็นความยั่งยืนในระยะ ยาว โดยมีขอบเขตครอบคลุมผู้ประกอบการระดับกลางและย่อม อันประกอบด้วยนิติบุคคลขนาดกลาง และขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน บุคคลธรรมดา รวมถึงชาวบ้านในชุมชนฐานราก ทั้งต่างจังหวัดและในเมือง ใหญ่ด้วย ทั้งนี้ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ข้อมูลทุติยะภูมิจากเอกสารวิชาการ บทความ เอกสารการประชุม การสัมมนา จากการศึกษา ได้พบอุปสรรคของเศรษฐกิจท้องถิ่นของประเทศไทย อีกทั้ง พบว่า ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนงาน Thailand 4.0 ครอบคลุมแนวทาง ที่ประเทศที่เศรษฐกิจก้าวหน้าน ามาใช้ ได้แก่ นโยบายด้าน (1) เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม เปลี่ยนโลก (2) สังคมและภาคธุรกิจ (3) การบริหารและกฎหมาย กฎระเบียบ ทั้งนี้ ธรรมาภิบาลเป็น เงื่อนไขที่ส าคัญของความส าเร็จ อนึ่ง การผลักดันการขยายตัวของภาคธุรกิจที่ก้าวกระโดดอาจจะน ามาซึ่งความเหลื่อมล้ า ทางเศรษฐกิจและสังคม บทวิจัยฉบับนี้จึงน าเสนอแนวทางขจัดปัญหาอุปสรรคต่อการก้าวไปสู่ความ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งเป็นประเด็นที่ยังไม่ได้รับความส าคัญเท่าที่ควร ได้แก่ การผลักดันการแก้ไขและจัดท า มาตรการป้องกันปัญหาความเหลื่อมล้ าเร่งด่วน โดยผลักดันโครงการเสริมขีดความสามารถให้ฐานราก ปรับปรุงแนวทางและกฎระเบียบการแข่งขันทางการค้าและการมีโอกาสเท่าเทียมกันทุกภาคส่วนของ สังคม และสร้างมาตรการปกป้องคุ้มครองเศรษฐกิจชุมชนจากการเสียเปรียบทางการค้า ปฏิรูปเชิง โครงสร้างระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ เพื่อกระจายทรัพย์สินและความมั่งคั่งอย่างทั่วถึงเป็นธรรมและเสมอ ภาค และก าหนดมาตรการคืนภาษีให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยโดยตรง การจัดท าแผนงานครอบคลุม ทั่วถึงทุกภาคส่วน และหลีกเลี่ยงความซ้ าซ้อน อีกทั้งเชื่อมโยงกับแผนงานของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงาน เอกชน โดยน าระบบสมองกลอัจฉริยะ หรือ Artificial Intelligent มาใช้การผลักดันการบังคับใช้ กฎหมายและให้ความส าคัญต่อการสร้างจิตส านึกของสังคมในการเคารพกฎหมาย สร้างความเข้าใจและ ความร่วมมือของทุกภาคส่วน และสร้างสังคมแห่งธรรมาภิบาล เชิดชูคุณธรรม จริยธรรม อันเป็นก คุณสมบัติส าคัญที่สุดของการบริหารประเทศและบริหารกิจการ ที่จะน าประเทศไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

abstract:

ABSTRACT Title Empowering Local Economy for Inclusive, Resilience and Sustainable Prosperity Field Economics Name Vannaporn Ketudat Course NDC. Class 60 The magnitude of the global challenges post threats to the world economy. Restrictions on trade, access to resources, geo-political issues and disruptive technology have strategic implications, creating imperative for change. Local, smaller scale enterprises are obviously at risk. To deal with today’s unprecedented challenges, Thailand recently adopted the 20 Year National Strategy, the 11th National Economic and Social Development Plan, and Thailand 4.0 Strategy, aiming at leapfrogging the country to a prosperous future with sustainable, inclusive and equitable local development is a top priority. This research examines whether the national schemes could effectively empower local economy to “inclusive, resilience and sustainable prosperity”, circumvent future disruption and shape Thailand’s trajectory for the next economic level. The study explores the strengths and weaknesses of local economy and new government schemes, and compares them with national economic strategies in different countries. The report finds that abilities to harness disruptive technology, to engage civil society, to indulge a strong sense of good governance are key factors to leverage fast-emerging challenges. The newly crafted Thailand’s policies apparently cover all these issues. Unfortunately, ambiguous governance and inclusivity are immense threats to the country. The paper proposes concrete recommendations in crucial areas namely tackling inclusivity, using AI for effective and comprehensive national programs, pressing the maximum enforcement of law and orders, applying social engagement, and building social value and good governance. It is strongly urged that the government should prioritize on good governance and inclusivity. The incremental approach is not an option.