Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย วรพันธุ์ สุวัณณุสส์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัย ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 ต าแหน่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก “ผู้สูงอายุ” ถือเป็นกลุ่มประชากรที่รัฐบาลให้ความส าคัญกับการดูแลและพัฒนา คุณภาพชีวิต โดยนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 11 ข้อ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 นโยบายข้อ 3. การลดความเหลื่อมล้ าของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึง บริการของรัฐ ได้ระบุถึงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2564 ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์” (Completed Aged Society) คือ มีประชากรที่เป็นผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ของจ านวนประชากร ทั้งหมด การก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย ส่งผลให้เกิดปัญหาหลายๆ ด้าน อาทิ ทรัพยากรแรงงานการผลิต ลดลง งบค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขที่เพิ่มมากขึ้น ปัญหาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอันเกิดจากรายได้เลี้ยง ชีพหลังเกษียณไม่เพียงพอ ฯลฯ เป็นต้น ส าหรับจังหวัดนครนายกก าลังจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ (Completed Aged Society) ผู้วิจัยจึงเห็นความจ าเป็นที่จะต้องมีการก าหนดนโยบายและมาตรการด้านสวัสดิการสังคม เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัยของจังหวัดให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั่วถึงผู้สูงอายุ ทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแล ช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักดิ์ศรี และความมั่นคงของชีวิต ตอบสนองกับปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในจังหวัดนครนายก เพื่อเป็นแนวทางในการจัดรูปแบบสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทยตลอดจนรองรับ การก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย

abstract:

Abstract Title Social Welfare Management for an Aging Society Field Social -Psychology Name Woraphan Suwannus Course NDC Class 60 “Seniors” are the group of population that The Royal Thai Government has put special attention in looking after and improving their quality of life. The preparation for an aging Thai society has been laid out in the Policy No. 3 - Reducing Social Inequality and Creating Opportunities to Access Public Services - of the Cabinet’s 11 - point Policy Statement addressed to the National Legislative Assembly on 12 September 2014. Thailand is expected to reach the “Completed Aged Society”, namely 20 or more per cent of the entire population are seniors, by 2021. An aging society brings with it many challenges, such as decrease in national workforce, increase in public health spending and limited quality of life as a result of inadequate earnings after retirement, among others. Likewise, it is forecasted that the province of Nakhon Nayok would join the aforesaid trend. The researcher recognizes the importance of developing proper social welfare policies and measures to ensure efficiency and quality of service for all seniors so they could be taken care of, assisted and could live a good, dignified and secured life. This research is intended to fulfil the need and respond to the challenges facing the seniors living in the province with the aim to be a case study for Thailand’s management of social welfare ina new aging society.