เรื่อง: มาตรการลดทอนความเป็นอาชญากรรมในคดียาเสพติด : แนวทางในการจัดตั้งศาลเพื่อบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทย
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย รุ่งศักดิ์ วงศ์กระสันต์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง มาตรการลดทอนความเป็นอาชญากรรมในคดียาเสพติด : แนวทางใน
การจัดตั้งศาลเพื่อบ าบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทย
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นายรุ่งศักดิ์ วงศ์กระสันต์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐
เอกสารวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องการลดทอนความเป็นอาชญากรรม
ในคดียาเสพติด โดยมุ่งเน้นการศึกษากฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของไทยและต่างประเทศ
เพื่อวิเคราะห์อุปสรรค ปัญหา และข้อขัดข้องที่ท าให้การบังคับใช้กฎหมาย กฎระเบียบที่มีอยู่ไม่ประสบ
ความส าเร็จ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดตั้งศาลเพื่อบ าบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดอย่างเป็น
ระบบในประเทศไทย การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์
ผู้ที่มีประสบการณ์ในงานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
ประเทศไทยรับแนวคิดการลดทอนความเป็นอาชญากรรมในคดียาเสพติดมาปรับใช้เช่นกัน เห็นได้จาก
มาตรการในการบ าบัดผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือ
พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕ อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังมีปัญหาในการใช้
บังคับอยู่บ้าง กล่าวคือ การบ าบัดฟื้นฟูตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นระบบ
บังคับบ าบัด หากผู้กระท าผิดอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ตามมาตรา ๑๙ ศาลจะมีค าสั่งให้ส่งตัวผู้ต้องหา
ดังกล่าวไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือติดยาเสพติดเสมอ ทั้งข้อหาหรือฐานความผิดตามพระราชบัญญัติ
ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๙ จ ากัดเฉพาะความผิดฐานเสพ เสพหรือมีไว้ใน
ครอบครอง เสพหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจ าหน่ายหรือเสพและจ าหน่ายเท่านั้น ดังนั้นผู้ติดยาเสพติด
ที่ต้องพึ่งพายาเสพติดและไปกระท าผิดอาญาอื่นจึงไม่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การเข้ารับการฟื้นฟูตาม
กฎหมายนี้จึงมีแนวคิดน าการจัดตั้งศาลเพื่อการบ าบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด ขยายขอบเขต
ประเภทคดี ให้ศาลมีบทบาทร่วมกับบุคลากรด้านสาธารณสุขและกระบวนการยุติธรรม เพื่อร่วมกันวาง
แผนการรักษาให้เหมาะสมกับผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดในแต่ละราย มีกลไกในการตรวจสอบดูแลอย่าง
ต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดลดหรือเลิกอาการติดยาเสพติดได้ในที่สุด
abstract:
ABSTARCT
Title Decriminalization of Drug Cases : An Approach for
Establishing Drug Courts in Thailand
Field Politics
Name Mr. Roongsak Wongkrasunt Couse NDC Class 2017-2018
This academic research aims to study laws and regulations relating to
the decriminalization in drug cases, to analyze problems regarding the compliance
with current laws and to suggest any possible and efficient measures to establish
court for drug addictions in Thailand. This research is a qualitative research by the
documentary research from academic books, journals, cases and by the in depth
interview who have been experienced in drugs rehabilitation. The result of this study
shows that although Thailand has adopted the concept of drug decriminalization via
many laws especially the Nacrotic Law B.E. 2522 and the Drug Rehabilitation Law
B.E. 2545, but there are certain problems in practical. For instance, there is a
provision for addicted prosessing drugs in specific type and amount to compulsory
rehabilitate without any consent. The rehabilitation has currently limited only for
the charge of drug consumption, drug prossession and drug prossession with the
intention to distribution. Any person who are addicted but not charged for the
above allegation could not be rehabilitated under these laws. Consequently, this
research suggests that there should be the law amendment for the establishment of
drug court in the Court of the First Instance with the specific procedures based on
the public healths. There should be mutual corporations among judges, prosecutors,
defence lawyers, probation officers to create the effective rehabilitate program for
individual with the suitable monitoring in order to reduce and/or to quit the drug
addicitons.