เรื่อง: แนวทางการพัฒนาบุคลากรสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีภายใต้บริบทประเทศไทย 4.0
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง รุ่งรัตนา บุญ-หลง
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการพัฒนาบุคลากรส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรีภายใต้บริบท
ประเทศไทย ๔.๐
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นางรุ่งรัตนา บุญ-หลง หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริม
ให้เกิดนวัตกรรมและการคิดสร้างสรรค์ และการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล และศึกษาผลกระทบ
ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบต่อการพัฒนาบุคลากรส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรีจากนโยบายประเทศ
ไทย ๔.๐ เพื่อแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาบุคลากรของส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรี
ภายใต้บริบทประเทศไทย ๔.๐ ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
ประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลและ
จากผลการศึกษาข้อมูล ผลการสัมภาษณ์และการประเมินสถานภาพส่วนราชการ โดยวิเคราะห์ถึงปัจจัย
ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนา ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย บุคลากร ระบบงาน
หรือกระบวนการพัฒนา การสนับสนุนของผู้บริหาร สถานการณ์การการเปลี่ยนแปลง (ประเทศไทย ๔.๐)
พบว่า ส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรีมีการพัฒนาบุคลากรยังไม่เป็นระบบ ไม่ทั่วถึง ไม่ต่อเนื่อง และ
ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ขาดการติดตามประเมินผลในภาพรวมของส่วนราชการ ยังไม่ส่งเสริมสนับสนุน
ความต้องการหรือความคาดหวังของบุคลากร ผู้บริหารต้องมีนโยบายในการพัฒนาอย่างชัดเจน ดังนั้น
แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาบุคลากรของส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรีภายใต้บริบทประเทศ
ไทย ๔.๐ คือ การพัฒนากระบวนการพัฒนาบุคลากรของส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรีข้อเสนอแนะ
จากการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น ๒ ด้าน กล่าวคือ ๑. ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยมีการด าเนินการตาม
กระบวนการ แนวทางการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นรูปธรรม ชัดเจน ให้บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามา
มีส่วนร่วมในการด าเนินการ ในลักษณะของการร่วมคิด ร่วมท า ร่วมใช้ เป็นการสานพลังทุกภาคส่วน และ
ตอบสนองความต้องการของบุคลากร ๒. ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล พัฒนาระบบงาน การบริหาร
จัดการด้านบุคลากรให้พร้อม ตอบสนองยุทธศาสตร์ และสร้างแรงจูงใจ มีระบบการท างานที่มีประสิทธิภาพ
คล่องตัว และมุ่งผลสัมฤทธิ์สร้างวัฒนธรรมการท างานที่ดีมีประสิทธิภาพ และความร่วมมือ ผู้วิจัยมีข้อเสนอ
การด าเนินการในประเด็นนี้ เช่น การพัฒนาแอปพลิเคชันรองรับระบบปฏิบัติงานพื้นฐาน สร้างความผาสุก
และความผูกพันของบุคลากร ให้เป็น “องค์การแห่งความสุข” ท าให้การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็น
ส่วนหนึ่งของการประเมิน สามารถน าผลการประเมินดังกล่าวมาใช้ในการก าหนดประเด็นเพื่อการพัฒนาได้
ผลลัพธ์ของการพัฒนาบุคลากรต้องส่งผลให้การปฏิบัติงานมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น และเมื่อมีการน าแนวทาง
ไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม จะท าให้บุคลากรมีขีดความสามารถในการขับเคลื่อน ท าให้ภาครัฐมีขีดสมรรถนะสูง
ทันสมัย สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชน น าไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
abstract:
ABSTRACT
Title The Personel Development Of The Prime Minister's Office in the context
Thailand 4.0
Field Social - Psychology
Name Mrs. Rungratana Boon-long Course NDC Class 60
This qualitative research aims to study and analyze factors that encourage
innovation, creativity and transformation of public sectors into the digital government. This
research also studies both positive and negative effects interacting to the personnel
development of the Office of the Permanent Secretary, the Office of the Prime Minister under
the Thailand 4.0 strategy in order to seek for the appropriate approaches for such personnel
development under the Thailand 4.0 strategy. The target group of this research was selected
and interviewed thoroughly which included executives, officers and personnel involving in the
human resource management. From the analyzed information, the results of interviews and the
evaluation of public sectors’ status by analyzing the factors which affected developments,
innovation-oriented furtherance and creativity comprising of personnel, working system or
development progress, supports from the executives, as well as changing situations (Thailand 4.0
strategy), the research found that the Office of the Permanent Secretary, the Office of the Prime
Minister had the unsystematic, non-decentralized, and discontinuous systems with unclear goals
in the personnel development progress. The negative factors also consisted of lacking of the
monitoring and evaluation on public sectors, not encouraging the needs or expectations of
personnel, as well as the deficiency of clear development plans from the executives. Thus, the
appropriate mean to develop the personnel of the Office of the Permanent Secretary, the Office
of the Prime Minister under the Thailand 4.0 strategy is to develop the personnel development
progress of the Office. Suggestions from this research are categorized into 2 areas which are 1)
Human Resource Development: by having concrete methods of the implementation process
and the personnel development guideline, and allowing the personnel involved to be part of
process in the manner of brainstorming, collaborating, sharing as to join cooperation from all
sectors and meet the personnel’s needs, and 2) Human Resource Management: by developing
the working system of personnel management to be effective, responding to designated
strategies, enhancing motivation in working, creating effective and flexible working system,
as well as focusing on the accomplishment of creating good and cooperative working culture.