Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ยุทธศาสร์การจัดการภัยคุกคามด้านไซเบอร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทูต/Diplomacy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ราชิต อรุณรังษี
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง ยุทธศาสตร์การจัดการภัยคุกคามด้านไซเบอร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย พลตรีราชิต อรุณรังสี หลักสูตรวปอ. รุ่นที่ ๖๐ งานวิจัยนี้น าเสนอยุทธศาสตร์การจัดการภัยคุกคามด้านไซเบอร์ในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษารูปแบบ วิธีการ การประเมินสถานการณ์ และ ปัญหาผลกระทบ ๒) ศึกษาผลกระทบที่ส่งผลต่อความมั่นคงแห่งชาติ และ ๓) น าเสนอยุทธศาสตร์ การจัดการภัยคุกคามด้านไซเบอร์การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ๑) หน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ ๒) ผู้บริหาร/ผู้น าท้องถิ่น ๔ จังหวัด ๓) หน่วยงานภาคเอกชน ๔) หน่วยงานพลเรือน ๕) ภาคประชาชน ๖) เจ้าหน้าที่ด้านการข่าวที่เชี่ยวชาญ ๗) เจ้าหน้าที่ทหารที่ รับผิดชอบ ๘) ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ๙) ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานความมั่นคง และ ๑๐) ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมระบบไอซีทีและโลกไซเบอร์ รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น ๗๕ คน ได้มา จากการเลือกในลักษณะจ าเพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มี โครงสร้าง การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ตรวจสอบ ข้อมูลโดยวิธีการสามเส้าด้านข้อมูล และยืนยันร่างยุทธศาสตร์โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีกระบวนการใช้โลกไซเบอร์ในการ สร้างความไม่สงบสุขหลากหลายวิธี เช่น การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการบ่อนท าลายความ น่าเชื่อถือ การปฏิบัติการจิตวิทยาและการโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มผู้ไม่หวังดี การสร้างกระแสข่าว ในเชิงลบและการสร้างความขัดแย้งต่อประชาชน การก่อวินาศกรรมโดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นมัชฌิม โดยมีแนวโน้มจะปฏิบัติการในรูปแบบอื่นๆ มากขึ้น ยุทธศาสตร์การจัดการภัยคุกคามด้านไซเบอร์ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย ๗ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ๑) การจัดโครงสร้างพื้นฐาน ของประเทศไทยส าหรับใช้ในการจัดการกับภัยคุกคามด้าน ๒) การสร้างการตระหนักรู้โลกไซเบอร์ ให้กับประชาชน ๓) การพัฒนาความก้าวหน้าด้านไซเบอร์ ๔) การส่งเสริมความร่วมมือด้าน ไซเบอร์ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ๕) การก าหนดใช้กฎหมายด้านไซเบอร์และ การบังคับใช้กับประชาชน ๖) การใช้การบูรณาการร่วมกันเพื่อแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร และ ๗) การ รับรู้ด้านไซเบอร์เพื่อการป้องกัน การยับยั้ง และการโจมตี ประเทศไทยควรใช้ยุทธศาสตร์และ มาตรการรองรับให้มีประสิทธิภาพ คุณภาพ และความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความ มั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์และการน าสันติสุขกลับคืนสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

abstract:

ABSTRACT Title Cyber Threats Management Strategy in Southern Border Provinces Field Strategy Name Major General Rachit Aroonrungsri Course NDC Class 60 This article presents a strategy for managing cyber threats in the southern border provinces, with the following objectives: 1) study the model of the situation assessment method; 2) study the impact of cyber threats on national security in the southern border provinces; and 3) present a cyber threats management strategy in the border provinces. This research uses qualitative research methodology by study focused on specific issues leading to the establishment of cyber threat management strategies in the southern border provinces. Target groups include: 1) 10 state security agencies; 2) 8 local administrators/leaders in 4 provinces; 3) 8 private sector organizations; 4) 8 civilian organizations; 5) 8 people in southern border provinces; 6) 8 news officers threatened of cyber threats; 7) military officers threatened of cyber threats; 8) 8 people involved in internet network; 9) 4 experts from the cyber security department, Thai Army Headquarters; and 9) 5 ICT and cyber security experts. The total target groups of 75 people came from a specific selection. The research tools were unstructured interviews. Analysis and synthesis of data based on qualitative research. Analysis and synthesis of qualitative research data by means of analytical descriptive method, Validate data using data triangulation technique and confirm the strategy by using connoisseurship approach. The research found that in the southern border provinces, there is a cybercrime process to create a variety of disturbances. Like using social networks to undermine the credibility of government officials. Including the psychological operations and propaganda of the poor. Creating negative news and creating conflicts with the people. Sabotage using the Internet is mediocre. There are likely to be other types of operations. In addition, the system uses communication through the application to avoid detection and tracking by government officials. These have made a direct impact on national security. Strategies for managing cyber threats in the southern border provinces consist of 7 strategies: 1) Thailand's infrastructure for dealing with cyber threats; 2) creating cyber awareness for the people; 3) development of cyber security; 4) 2 promotion of cyber-cooperation between the public, private and public sectors; 5) enforcement of cyber law and enforcement with the people; 6) use of mutual Integration to share information and 7) cyber awareness for prevention, inhibition and attack. For Thailand, strategies and measures to address cyber threats should be implemented to ensure consistency, quality and consistency. In order to strengthen cyber security and bring peace back to the southern border provinces of the country.