เรื่อง: แนวทางการป้องกันการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาว รตญา กอบศิริกาญจน์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการป้องกันการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายในพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นางสาวรตญา กอบศิริกาญจน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐
แนวทางการป้องกันการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายในพื้นที่จังหวัดชายแดน
ภาคใต้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและน าเสนอข้อมูลกรณีการละเมิดสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกายในพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ ตลอดจนข้อขัดข้องและอุปสรรคในการด าเนินการ
ตามมาตรการและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) และ
เพื่อจัดท าข้อเสนอแนะแนวทางในการป้องกันการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย โดยศึกษา
เฉพาะค าร้องที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) รับเป็นค าร้องว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
กรณีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ –
๒ ๕ ๖ ๐
เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร ค าร้อง เอกสารงานวิจัย การสัมภาษณ์ และ
การสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า สิทธิที่จะไม่ถูกกระท าทรมานเป็นสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
ซึ่งได้รับการรับรองตามหลักการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งพันธกรณีระหว่างประเทศ
ด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคีการบังคับใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในจังหวัดชายแดน
ภาคใต้๓ ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพระพุทธศักราช ๒๔๕๗ พระราชก าหนดการบริหาร
ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๕๑ ส่งผลให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติที่อาจน าไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิ
และเสรีภาพในชีวิตและร่างกายเรื่องร้องเรียนที่ กสม. รับไว้ตรวจสอบพบว่าส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่ผู้ร้อง
กล่าวอ้างว่าถูกกระท าทรมานโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ มีการใช้ความรุนแรงในการจับกุม
ควบคุมตัว การซ้อมทรมานเพื่อให้รับสารภาพ หรือการเหวี่ยงแหจับโดยขาดการหาพยานหลักฐานที่ชัดเจน
ท าให้มีผู้ถูกจับกุมด าเนินคดีเป็นจ านวนมาก ส่งผลให้กระบวนการยุติธรรมมีความล่าช้า อาจน าไปสู่
การท าให้ผู้ที่มีความเห็นต่างไปสร้างเงื่อนไขในการลดความชอบธรรมในการท าหน้าที่ของฝ่ายรัฐ การ
วิจัยพบว่าไม่ได้มีข้อมูลที่ชี้ชัดว่าการทรมานหรือการปฏิบัติที่โหดร้ายเป็นไปตามนโยบาย มาตรการ การสั่ง
การจากหน่วยงานความมั่นคงระดับนโยบาย โดยปัจจุบันเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่เข้าใจ
ประเด็นสิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้น และตระหนักว่าผู้ที่ท างานในพื้นที่ต้องรักษาระดับความสมดุลในมิติ
ด้านความมั่นคงและสิทธิมนุษยชนควบคู่กันไป อันจะน ามาซึ่งผลดีในการลดเงื่อนไขความไม่เป็นธรรม
ทางสังคมของกลุ่มที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และฐานะทางสังคม การวิจัย
ได้ข้อเสนอแนะแนวทางในการป้องกันการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายในพื้นที่จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ส าหรับหน่วยงานภาครัฐและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและส านักงาน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เป็นรูปธรรม โดยคาดว่าหากได้ด าเนินการตามข้อเสนอแนะ
จะช่วยป้องกันการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้
abstract:
ABSTRACT
Title : Guidelines for the Prevention of Violations of Rights to life and
freedom of Physical Integrity in the Southern Border Provinces
Fields : Politics
Name : Ms. Rataya Kobsirikarn Course NDC Class 60
The researcher employed a qualitative research methodology in the
study of the cases were submitted to the National Human Rights Commission of
Thailand
(NHRCT) during 2015-2017, which were considered to be the cases of violations
against rights to life and freedom of physical integrity of the people in the Southern
Border Provinces. The outcome of the research indicates that arbitrary arrests,
detention, as well as violent acts, torture, and cruel treatment of the people in
detention are still prevalent in the area. They are carried out despite the policy and
high level authorities’orders for fair and just treatment of the arrested, and regular
training on human rights for the personnel before and during their active duties in
the area. The government has already evoked the enforcement of the Martial Law,
B.E. 2457, and the Emergency Decree on Public Administration in Emergency
Situation, B.E. 2548 in many areas. However, the Emergency Decree on Public
Administration in Emergency Situation B.E. 2548, has a clause that exempts the
officers who commit violent acts against prisoners from penalty and punishment,
which causes certain officers to violate people’s right and freedom in unacceptable
manners. Such acts often result not only in the breach of justice, but also become a
basis for dissidents to build up conditions that will lessen the legitimacy of the
government’s authorities in the implementation of internal security operations, and
judicial procedures. This research provides recommendations for the improvement
and elimination of the violation of human rights in the Southern Border Provinces, by
the operations of the National Human Rights Commission, and the government
agencies involved.