Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการแก้ไขปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานทางทะเลแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทูต/Diplomacy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือโท นิกิตติ์ ฑีร์ฆะยศ
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานทางทะเลแบบไม่ปกติใน มหาสมุทรอินเดีย ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ (Strategy) ผู้วิจัย พลเรือโท นิกิตติ์ ฑีร์ฆะยศ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา วิเคราะห์สถานการณ์ รูปแบบการและ ผลกระทบด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ต่ออาเซียนและประเทศไทยจากการโยกย้ายถิ่นฐานทางทะเล แบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย ปัญหาขัดข้องที่พบในกระบวนการและรูปแบบในการแก้ไข ตลอดจน แนวทางในการปรับบทบาทและโครงสร้างของหน่วยรับผิดชอบการบริหารจัดการความมั่นคงชายแดน และชายฝั่งทะเลเพื่อแก้ไขปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานทางทะเลแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย ด าเนินการโดยใช้รูปแบบการวิจัยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยประชากรที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จ านวน ๒ ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์ในเชิงลึก เกี่ยวกับปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย รวบรวมข้อมูลทั้งปฐมภูมิและทุติย ภูมิข้อมูลที่ได้มาจะน ามาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) เพื่อใช้ในการตอบวัตถุประสงค์ การวิจัยได้ชัดเจน มีความครอบคลุมและมีความถูกต้องมากที่สุด ผลการวิจัยพบว่าปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานทางทะเลแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย ของชาวโรฮีนจา มีทั้งเรื่องกระแสกับข้อเท็จจริง มีความแตกต่างกันอย่างมากในทั้งมุมมองต่อสาเหตุ และวิธีการแก้ไขระหว่างประชาคมระหว่างประเทศและรัฐบาลเมียนมาที่ได้รับการเลือกตั้ง การมอง ปัญหาที่ความซับซ้อนข้างต้นเพียงบริบทศาสนาและชนกลุ่มน้อยอาจไม่เพียงพอให้ค าตอบที่ถูกต้อง จ าเป็นต้องมองในบริบทที่กว้างขึ้นทั้งในมิติประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม - วัฒนธรรม ศาสนา การเมือง ความมั่งคง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และด้านสิทธิมนุษยชนและหลักการของอาเซียน และสังคมโลก ปัญหาดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่เล็ก ๆ อีกต่อไป แต่ก าลังกลายเป็น ปัญหาระดับโลกที่อาจเปลี่ยนสถานะทางยุทธศาสตร์ระหว่างมหาอ านาจในพื้นที่บริเวณนี้ได้ จึงเป็น เรื่องที่หลาย ๆ ฝ่ายต้องเข้ามาเกี่ยวข้องร่วมมือกัน การแก้ไขปัญหาที่มีข้อขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ ไม่ใช่สิ่งที่จะเสร็จได้ในชั่วข้ามคืนจึงเป็นสิ่งส าคัญ การแก้ปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานทางทะเลแบบไม่ปกติ ในมหาสมุทรอินเดียจึงต้องค านึงถึงมิติทั้งด้านความมั่นคงและหลักสิทธิมนุษยชนให้เกิดความสมดุล การแก้ปัญหาจึงต้องเป็นไปอย่างครอบคลุม ภายใต้หลักการแบ่งเบาภาระระหว่าง ประเทศ โดยอาเซียนต้องแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการพยายามแก้ไขปัญหาและเร่งเรียนรู้ ที่จะเผชิญหน้ากับวิกฤติผู้อพยพและวางกรอบการท างานในการจัดการผู้อพยพเหมือนยุโรป รวมถึง การแก้ไขถึงรากเหง้าโดยให้ภาพที่ชัดเจนเน้นทั้งการแก้ Pull Factor และ Push Factor เพื่อสร้าง ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาคมโลก นอกจากนี้ประเทศไทยและอาเซียน รวมถึงประเทศที่สาม และ องค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ควรแสวงหาลู่ทางในการสร้างกระบวนการและเงื่อนไข ให้เกิดการ เดินทางกลับของผู้ลี้ภัยโดยสมัครใจ ด้วยความปลอดภัยในอนาคต ปัจจุบันยังไม่มีนโยบายว่าจะด าเนินการอย่างไร เพื่อให้ประชาคมระหว่างประเทศเข้าใจ และเกิดการยอมรับว่าปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานทางทะเลแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียไม่สามารถ แก้ไขได้โดยฝ่ายเดียว และไม่สามารถใช้เวทีเพื่อเจรจาทีละฝ่ายหรือสองฝ่ายได้

abstract:

ABSTRACT Title The Direction of the Solution to a Problem of Irregular Migration in the Indian Ocean. Field Strategy Name Vice Admiral Nikit Tirakayos Course NDC Class 60 The purpose of this research is to study and analyze the situation and new influences on the stability of both ASEAN and Thailand caused by irregular migration in the Indian Ocean; problems in the process and formats of the solutions; together with the alteration of the roles and structures of the responsible authorities concerning shore and border defense management to resolve the irregular migration in the Indian Ocean. The research is conducted by the format of the Qualitative Research. The population in the research consists of 2 experts. The instrument for this research is the in - depth interview concerning the irregular migration in the Indian Ocean to collect both primary and secondary information for the Content Analysis in order to clearly answer the objectiveof this research with the highest level of completeness and correctness. The result has shown that the problem of the Rohingya’s irregular migration consists of both fictions and facts. There are also big differences in perspective of both the reasons and the solutions between the international community and the elected Myanmar government. To perceive this complex problem only from the religion and minority perspective is not sufficient to provide the right solution. The aspects of history, economy, society, culture, religion, politics, stability, international relationship, human rights, and principles of the ASEAN and the world community are required to be considered as well. This problem is no longer the small problem in the small region, but it is growing more severely and has become the worldwide problem which can alter the strategy between powerful nations in this region. This raises the requirement for the international assistance to resolve this problem. This historic conflict will not be resolved in a short time but will require the consideration for the balance of both stability and human rights aspects in order toresolve this irregular migration problem. The solution must be comprehensive under the principles of burden distribution among the international nations. ASEAN should present its unity in resolving and learning this immigration crisis; and also establish the guideline for dealing with this problem in the same manner with the countries in Europe. The root of the problem should be resolved by both Push and Pull Factors to create the truthful comprehension for the world community. Furthermore, Thailand, ASEAN, third party nations, and international organizations should develop the guideline for the process and conditions to create the safe and voluntary return voyage for the refugees in the future. At the present time, there is unclear policy on how to create the understanding and acceptance in the international community that the problem of irregular migration in the Indian Ocean cannot be resolved solely by any single faction and cannot be negotiated within only any few factions either.