เรื่อง: แนวทางการสร้างการรับรู้ของเยาวชนต่อยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทูต/Diplomacy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง นฤมล ลอมทอง
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการสร้างการรับรู้ของเยาวชนต่อยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย นางนฤมล ล้อมทอง หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60
การศึกษาเรื่อง แนวทางการสร้างการรับรู้ของเยาวชนต่อยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพการที่ผ่านมาในการรับรู้ของเยาวชนต่อยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี
ของรัฐบาลที่ผ่านมา ปัญหา และอุปสรรคอันเป็นสาเหตุของการรับรู้ยุทธศาสตร์ชาติของเยาวชน
แนวทางการสร้างการรับรู้ของเยาวชนต่อยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี ของรัฐบาล โดยใช้แบบสอบถาม
ในการรวบรวมข้อมูลจากประธานและคณะกรรมการสภาเด็กและเยาวชนของจังหวัด รวม 154 คน
และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมส าเร็จรูปทางสังคมศาสตร์(SPSS) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ
ระยะ 20 ปี ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.57 จากคะแนนเต็ม 5) และมีการรับรู้ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี
อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.23จากคะแนนเต็ม 5) ปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับการรับรู้ยุทธศาสตร์ชาติ
ระยะ 20 ปี พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 38.3 ประสบปัญหาเยาวชนยังเข้าไม่ถึง หรือไม่ได้เข้าไปมี
ส่วนร่วมในการจัดท ายุทธศาสตร์ชาติรองลงมาร้อยละ 30.5 มีช่องทางการรับรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติน้อย
ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้ ส่วนข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการรับรู้ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี
พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 40.9 เสนอว่า ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนและเยาวชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการท ายุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี รองลงมาร้อยละ 39.3 เสนอว่า ควร
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ยุทธศาสตร์ในภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจของประชาชนและเยาวชน
แนวทางการสร้างการรับรู้ของเยาวชนต่อยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีมีดังนี้
1. การสื่อสารตามรายการพิเศษหรือ สื่อประชาสัมพันธ์ ที่เผยแพร่ตามช่องทางต่างๆ
และเน้นในเนื้อหา ประเด็นยุทธศาสตร์ ตามกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์
2. การจัดให้มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง จัดให้มีทั้งจาก
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ระบบการศึกษา และสื่อประชาสัมพันธ์ของรัฐ
3. ประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับเพศ และวัย รวมถึงการเลือกสรรเนื้อหาในยุทธศาสตร์ชาติ
ระยะ 20 ปี ตามจ าเป็น โดยการจัดท าสื่อเฉพาะส าหรับกลุ่มเป้าหมาย เช่น animation หรือ การ์ตูน
4. ใช้กลไกการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งบุคลากรภาครัฐให้ท าหน้าที่เสมือนผู้ส่งผ่าน
ข่าวสารในรูปแบบต่างๆ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ การจัดเวทีประชาสัมพันธ์และการใช้สื่อสังคม (social media)
รูปแบบต่างๆ
ค าส าคัญ : แนวทางการสร้างการรับรู้ของเยาวชน, ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี
abstract:
ABSTRACT
Title How to Create Youth’s Perception of 20 Year National Strategy Plan
Field Strategy
Name Mrs. Narumol Lomtong Course NDC. Class 60
The objective of this research is to study youth’s perception of 20-Year
National Strategy Plan in the past, find out what are problems and treats that impact
youth’s perception of The National Strategy Plan and build up the guideline on how
to create youth’s perception of 20-Year National Strategy Plan. The research was
conducted using surveysto collect data from 154 members of The Children and
Youth Councils, both chairman and committees and by interviewing experts, scholars
and professionals. SPSS was used as a research tool to calculate percentage,
average and normal deviation.
The research shows that in general, the sample group has very low
perception of news and information concern to 20-Year National Strategy Plan (an
average of 2.57 points from 5.00) and moderate perception of the 20-Year National
Strategy Plan (an average of 2.57 points from 5.00). The treat study shows that 38.3%
of sample group do not participate in or have access to the making process of the
National Strategy Plan while another 30.5% has only small means to access the
information about the plan which results in majority of the population not having the
acknowledgment about it. The suggestion study shows that 40.9% of sample group
suggest all people including youths and any other stakeholders from all segments
should be involved in the making of 20-Year National Strategy Plan and 39.3%
suggest more public relations that aresimple and easy to understand for people and
youth.
How to Create 20-year National Strategy Plan for Youth;
1. Communicate via special shows or public relation channels and medias
focusing on strategies according to the audiences’ segment.
2. Continuously and solemnly publicize the plan by public authorities,
educational system and government public relations.
3. Publicize according to age and gender, create specific medias for each
target group such as animations or cartoons.
4. Using public relation mechanism including government’s human
resources to carry out the news in different forms such as printed medias, events or
different kind of social media.
Keyword : Youth’s Perception, 20-Year National Strategy Plan