เรื่อง: แนวทางการเปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติสู่การปฏิบัติ ในระดับพื้นที่ในเขตกองทัพภาคที่ 2
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทูต/Diplomacy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ธเนศ วงศ์ชะอุ่ม
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ
สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ในเขตกองทัพภาคที่ ๒
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย พล.ต.ธเนศ วงศ์ชะอุ่ม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐
เอกสารวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความ
มั่นคงของชาติ พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๔ เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนา
พื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๔ไปสู่การปฏิบัติ และเพื่อก าหนดแนวทางการ
แปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๔ ในระดับพื้นที่
ในเขตกองทัพภาคที่ ๒ ไปสู่การปฏิบัติผลการวิจัยพบว่าจากการศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่
เพื่อเสริมความมั่นคง ของชาติ พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๔ พบว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่เชื่อมต่อยุทธศาสตร์
ฉบับเดิมคือยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ พ.ศ.๒๕๕๖-๒๕๖๐ ได้เพิ่มเติม
ประเด็นยุทธศาสตร์จากเดิม ๖ ประเด็นยุทธศาสตร์เป็น ๘ ประเด็นยุทธศาสตร์ ตามสถานการณ์ความ
มั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับยุทธศาสตร์ชาติ๒๐ ปี พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๙ และแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการ
ใช้พลังอ านาจของชาติในด้านเศรษฐกิจและสังคม มาสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริม
ความมั่นคง ตลอดจนได้น้อมน าศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในรัชกาลที่ ๙
มาช่วยในการพัฒนาพื้นที่ เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จากการศึกษา
พบปัญหาในการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ ๕ ด้าน ดังนี้ ๑. ด้าน
บุคลากรและการปฏิบัติงาน บุคลากรที่รับผิดชอบปฏิบัติงานยังขาดความรู้ความเข้าใจ และทักษะของ
การด าเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ๒. ด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ที่เกี่ยวข้อง กฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องบางประการเป็นอุปสรรคไม่สามารถรองรับกับ
สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หรือไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งยังมีข้อจ ากัดใน
การน ากฎหมายไปบังคับใช้๓. ด้านแผนงาน/โครงการและงบประมาณ หน่วยงานในระดับจังหวัดยัง
ขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดท าแผนงาน/โครงการด้านความมั่นคงในแผนพัฒนาจังหวัด และขาด
การบูรณาการการด าเนินงานระหว่างหน่วยงาน ๔. ด้านกลไกการบริหารจัดการด าเนินงาน ขาดความ
เชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานส่วนกลางกับหน่วยงานระดับจังหวัดและระดับพื้นที่
๕. ด้านการจัดท าฐานข้อมูล การจัดท าฐานข้อมูลเพื่อรองรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อ
เสริมความมั่นคงของชาติ ในระดับพื้นที่และจังหวัด ยังขาดความสมบูรณ์ไม่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
ตลอดจนยังขาดความเชื่อมโยงของข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ และจาก
การศึกษาท าให้ทราบแนวทางการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ
พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๔ ในระดับพื้นที่ในเขตกองทัพภาคที่ ๒ ไปสู่การปฏิบัติควรควรก าหนดขั้นตอนใน
การด าเนินงานเป็น ๖ ขั้นตอน ดังนี้๑. พันธกิจ ๒. สถานการณ์ภัยคุกคามความมั่นคง การประเมิน
ความเสี่ยงและแนวโน้ม ๓. วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ ๔. แนวทางการติดตามและ
ประเมินผล ๕. กลยุทธ์ และ ๖. แผนที่กลยุทธ์
abstract:
Abstract
Title : Way of Changing the Strategy of Area Development to Support
the Nation’s Security to Pratice in Areal Level in Second Army Area
Field : Strategy
Name : Major General Thanet Course : NDC Class 60
This research is aimed to study the strategy of area development for
support the country’s security B.E. 2561 – 2564, and to study the problems caused
by the change of the strategy of area development for support the country’s security
B.E. 2561 – 2564 to practice, and specify the ways to change the strategy in areas.
Changing from the previous strategy, B.E. 2556 – 2560, this strategy has
more aspects from six aspects to eight aspects relying on the situation of security,
and also the 20-year National Strategy B.E. 2560-2579 including the Twelfth National
Economic and Social Development Plan B.E. 2560 – 2564, government’s policies to
utilize economic and social power to support the security development. Moreover,
King Rama IX’s science and sufficiency economy theory were brought to help
develop the areas. According to the study, it was found that there were five
problems of changing the strategy : 1. Operators lack of knowledge, comprehension, and
skills to operate. 2. Some rules and laws are obstacles not conforming to the strategy.
3.The organizations in the areas lack the knowledge and comprehension of making
plans and projects about the strategy. 4.There is a lack of cooperation between
central authorities, provincial authorities, and areal authorities. 5. The data building is
still not complete and not up-to-date. The study revealed the way to adjust the
strategy of area development to support the nation’s security B.E. 2561 – 2564 in
areal level in the second army area. There are six steps for the operation: 1.
Obligation, 2. the situation of security threats, 3. Vision and goal of strategy, 4. Ways
to follow and evaluate the result, 5. Tactics, and 6. Tactic maps.