Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์ของประเทศเพื่อการส่งเสริมและสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทูต/Diplomacy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ถาวร กนกวลีวงศ์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์ของชาติ เพื่อส่งเสริมและสอดรับกับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย นายถาวร กนกวลีวงศ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาด้านภาพลักษณ์ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศใน หลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ และด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีปัญหาการขาดความ ร่วมมือของประชาชนในการผลักดันแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ดังนั้น การจัดการภาพลักษณ์ ของชาติ (Nation Brand Management) เพื่อให้ภาพลักษณ์ของประเทศมีความเข้มแข็ง สามารถสร้าง มูลค่าเพิ่ม และสร้างการยอมรับ อาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีส่วนในการแก้ปัญหา และสร้างการ ยอมรับและเชื่อถือจากประชาคมโลก ท าให้การบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ชาติเป็นไป ได้มากขึ้น จึงจ าเป็นต้องมีการศึกษาวิจัย เพื่อวางแนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์ของขาติ ส่งเสริมและสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้คือ เพื่อศึกษา ภาพลักษณ์ของชาติไทยในเวทีโลก ศึกษากระบวนการพัฒนาภาพลักษณ์ของชาติและวางแนวทาง ยุทธศาสตร์ภาพลักษณ์ของชาติ เพื่อส่งเสริมและสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ แนวคิดการสร้างแบรนด์ประเทศ (Nation branding) เป็น แนวคิดใหม่ที่พัฒนามาจากการบริหารการตลาดและการจัดการแบรนด์ของภาคธุรกิจ โดยมีวิธีการ ที่ใกล้เคียงกับการทูตสาธารณะ (Public diplomacy) ที่เริ่มใช้ตั้งแต่ยุคสงครามเย็น ที่ริเริ่มจากการ ต่างประเทศ ทั้งสองแนวทางมีเป้าหมายเหมือนกัน คือการท าภาพลักษณ์ของประเทศให้ เปลี่ยนแปลงในเชิงบวก และเป็นความสามารถในการแข่งขัน แต่มีความต่างกันในวิธีปฏิบัติ ภาพลักษณ์ของชาติ คือภาพสะท้อนของความเป็นจริงที่ประชาชนของประเทศนั้นๆ ก าลังเป็นอยู่ จริง (living the brand) การใช้เทคนิคโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) หรือการใช้การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ที่ปรุงแต่งขึ้นจนไม่สะท้อนภาพความเป็นจริงในเชิงสังคม เศรษฐกิจและการเมือง จะล้มเหลวและส่งผลลบต่อความน่าเชื่อถืออย่างรุนแรง ดังนั้นการพัฒนาภาพลักษณ์ของชาติจึงต้อง เริ่มต้นจากการพัฒนาทุนภาพลักษณ์ของชาติ (Nation brand equity) และบริหารจัดการให้เกิดอัต ลักษณ์เชิงแข่งขัน (Comptitive identity) โดยอัตลักษณ์ดังกล่าวจะต้องสะท้อนคุณค่าแท้ (Essential value) ที่เกิดจากประเทศและพลเมืองของประเทศ และมีข้อเสนอแนะที่ส าคัญ ได้แก่ ข้อเสนอแนะ ข เชิงนโยบาย ยกระดับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์ของชาติ เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการ สร้างเวทีความร่วมมือการพัฒนาภาพลักษณ์ ของชาติ รวมกลุ่มคณะบุคคลที่มีคุณสมบัติและภาพลักษณ์เหมาะสมจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกัน สังเคราะห์คุณค่าแท้ (Essential value และคุณค่าน าเสนอ (Value Proposition) ที่ได้รับการยอมรับ ร่วมกัน ค ค าน า แนวทางการจัดการภาพลักษณ์ของชาติมีวิวัฒนาการอันเนื่องมากจากบริบทที่แตกต่าง กันของการเปลี่ยนแปลงในโลก ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ของชาติ มีการเปลี่ยนแปลงไป ตามบริบทของโลก โดยเฉพาะเรื่องภาวะสงคราม เมื่อโลกเปลี่ยนเข้าสู่สันติภาพ ไม่มีสงครามขนาด ใหญ่ที่เป็นทางการหรือมีการประกาศภาวะสงคราม ผู้ที่มีบทบาทจึงค่อยๆ เปลี่ยนจากการทหาร เป็นการเมือง การทูต และเป็นการตลาดในยุคปัจจุบัน นักการตลาดเข้ามามีบทบาทในกระบวนการสร้างภาพลักษณ์ของชาติมากขึ้น ทั้งใน ฐานะที่ปรึกษาของรัฐบาล และผู้รับด าเนินโครงการเกี่ยวกับภาพลักษณ์ ซึ่งนักการตลาดมีความ พยายามในการใช้ศาสตร์การตลาดกับการสร้างภาพลักษณ์ของชาติ การสร้างภาพลักษณ์ประเทศ (Nation Image) ที่ดีอาจจะไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้เสมอไป ถึงแม้ว่าทุกประเทศจะพยายาม สร้างภาพลักษณ์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ (Identity) ของตน แต่ภาพลักษณ์ของประเทศหนึ่งๆ คือภาพ สะท้อนของความเป็นจริงที่ประชาชนของประเทศนั้นๆ ก าลังเป็นอยู่จริง (Living the Brand) ดังนั้น ประเทศสมัยใหม่จึงได้หันมาให้ความส าคัญกับทฤษฎีเรื่องการสร้างแบรนด์ประเทศ (Nation Branding) มากขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาด้านภาพลักษณ์ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศใน หลายด้าน เพื่อให้ภาพลักษณ์ของประเทศมีความเข้มแข็ง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างการ ยอมรับ อาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีส่วนในการแก้ปัญหา และสร้างการยอมรับและเชื่อถือจาก ประชาคมโลก ท าให้การบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ชาติเป็นไปได้มากขึ้น จึงจ าเป็นต้องมี การศึกษาวิจัย เพื่อวางแนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพลักษณ์ของขาติ ส่งเสริมและสอดรับกับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (นายถาวร กนกวลีวงศ์) นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรวปอ.รุ่นที่60 ผู้วิจัย

abstract:

ABSTRACT Title Strategy for the development of national image to promote and conform to the 20 years national strategy Field Economic Name Mr. Thavorn Kanokvaleewong Course NDC Class 60 Thailand is currently experiencing image problems this has affected many developing countries. The economy and the driving force of the 20 years national strategy. The problem of lack of public cooperation in pushing the national strategic plan for 20 years.So, the image management. Nation Brand Management to make the image of the country stronger. Can create value and create acceptance. It may be another way to solve the problem and the recognition and trust of the world. Make it possible to achieve the goals of a national strategic plan. Research is required to formulate strategic guidelines for the development of the image. Promoting and adhering to the 20 years national strategy. The purpose of this research is to: to study the image of Thai nation on the world stage, study of the development process of national image and the strategic direction of the national image to promote and conform to the 20 years national strategy. The results are as follows. Nation branding is a new concept developed by the marketing management and brand management of the business sector the approach is similar to the public diplomacy that began in the Cold War initiated by foreign affairs. Both approaches have similar goals. Is the image of the country a positive change and have the ability to compete but there are differences in practice national image. It is a reflection of the reality of the people of that country living the brand to use of propaganda techniques or the use of advertising advertising that is not reflected in the social reality. Economy and Politics It fails and negatively affects the reliability therefore the development of national image must start with the development of the national brand equity and the management of the Competitive Identity such identity must reflect the true value of the citizen and the country. And there are some important suggestions. Such identity must reflect the true value of the citizen and the country. Policy Recommendations 2 Enhancing the national image development strategy. A strategic plan linked to the 20-year national strategy. Create a platform for cooperation in the development of national image. Group of individuals with appropriate qualifications and image from all sectors. To share the value proposition (Essential value and Value proposition).