Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ภาพลักษณ์ของกองทัพบกในทัศนคติของประชาชน

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พันเอก ชาญวิทย์ อรรถธีระพงษ์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง ภาพลักษณ์ของกองทัพบกในทัศนคติของประชาชน ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย พันเอกชาญวิทย์ อรรถธีระพงษ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาภาพลักษณ์ของกองทัพบกในทัศนคติของ ประชาชน ๒) เพื่อให้ได้แนวทางในการบริหารภาพลักษณ์ของกองทัพบก ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ (๑) ประชาชนทั่วไป จ านวน ๒,๐๒๙ คน จาก ๔ ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ (๒) ผู้ทรงคุณวุฒิได้แก่ ผู้บังคับบัญชา ผู้บริหารหน่วยงาน นักวิชาการ และสื่อมวลชน จ านวน ๙ คน ในการสัมภาษณ์แบบ เจาะลึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเป็นค าถามปลายปิด และการสัมภาษณ์แบบ ค าถามปลายเปิด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบ เพี ย ร์สัน (Pearson product-moment correlation coefficient) ในก ารทดสอบสมมติ ฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สถานภาพโสด อยู่ในช่วงอายุ ๑๘-๒๐ ปี เป็น นักเรียน/นักศึกษา อยู่ระดับการศึกษามัธยมตอนปลาย/ปวช. โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ ากว่าหรือ เท่ากับ ๑๕,๐๐๐ บาท นับถือศาสนาพุทธ และอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับกองทัพบก ๑ วันต่อสัปดาห์ ใช้เวลา ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับกองทัพบก ๑๕-๓๐ นาที ติดตามข่าวสารในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ รับทราบ ข่าวสารจากที่พักอาศัยและสถานที่ท างาน ติดตามข่าวสารจากสื่ออินเทอร์เน็ต/สื่อออนไลน์ ภาพลักษณ์ของกองทัพบก โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด นอกจากนี้เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน โดยเรียงล าดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบัน พระมหากษัตริย์ ด้านการป้องกันประเทศ ด้านการเสริมสร้างอุดมการณ์รักชาติและการปกครองใน ระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้านการพัฒนาประเทศและการช่วยเหลือ ประชาชน ด้านการด าเนินการตามโครงการพระราชด าริ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ด้านการเสริมสร้างก าลังกองทัพบก ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางทหารกับมิตร ประเทศ ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และด้านการรักษาความมั่นคงภายใน ตามล าดับ ทัศนคติของประชาชน โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด นอกจากนี้เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน โดยเรียงล าดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการพิทักษ์รักษาและเทิดทูน สถาบันพระมหากษัตริย์ ด้านการป้องกันประเทศ ด้านการเสริมสร้างอุดมการณ์รักชาติและการ ปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ข ทางทหารกับมิตรประเทศ ด้านการเสริมสร้างก าลังกองทัพบก ด้านการพัฒนาประเทศและการ ช่วยเหลือประชาชน ด้านการรักษาความมั่นคงภายใน ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ด้านการด าเนินการตามโครงการพระราชด าริ และด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย ภายในประเทศ ตามล าดับ การบริหารภาพลักษณ์ของกองทัพบกโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงล าดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า กองทัพบกต้องพัฒนาความรู้ ความสามารถ ความประพฤติ ระเบียบวินัยและสร้างทัศนคติที่ดีให้กับก าลังพลของกองทัพบกมี ค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา กองทัพบกต้องวางแผนในการก าหนดเนื้อหาข่าว การให้ข่าวที่น่าสนใจ น่าเชื่อถือ และเป็นข้อเท็จจริง ประชาสัมพันธ์งานของกองทัพบกอย่างต่อเนื่องและสม่ าเสมอ โดยเฉพาะความมั่นคงและการช่วยเหลือประชาชน ศึกษากลุ่มเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์อย่าง ต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงรักษาภาพลักษณ์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง สร้างเครือข่ายสัมพันธ์ เพื่อช่วย ประสานงานด้านต่าง ๆ และให้ชุมชนรอบหน่วยมีความรู้สึกที่ดี รวมทั้งช่วยเหลือและสนับสนุน กองทัพบกอย่างต่อเนื่อง ใช้สื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อกองทัพบกหรือสื่อมวลชนอื่น ๆ โดยให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และจัดกิจกรรมพิเศษ และกิจกรรมเพื่อสังคมที่มีจุดเด่นและแตกต่างจากหน่วยงานอื่น ตามล าดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ภาพลักษณ์ของกองทัพบกมีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติ ของประชาชน ภาพลักษณ์ของกองทัพบกมีความสัมพันธ์ต่อการบริหารภาพลักษณ์ของกองทัพบก และทัศนคติของประชาชนมีความสัมพันธ์ต่อการบริหารภาพลักษณ์ของกองทัพบก

abstract:

ABSTRACT Title Image of the Army towards public Field Social Phycology Name COLONEL CHANWIT ATTATEERAPONG Course NDC Class 60 This research aims to study image of the army towards the public and to get ideas of administrating image of the army. This research uses quantitative and qualitative tools. The samples are 2,029 citizens from 4 parts of Thailand and 9 experts. Statistic of analyzing this research is frequency, mean, percentage, standard deviation and Pearson product moment correlation coefficient to test the hypothesis. The result shows that majority of participants are males, single, and age between 18-20 years old. They are high school students/vocational students with average income per month lower or equal to 15,000 THB. They are Buddhist and live in North East of Thailand. Majority of participants have followed army’s news once a week with 15-30 mins time spending, during Monday to Friday from their residence and work place by using internet / online media. The image of army in general is at totally agreeing level. When consider the result by arranging from most mean to least, it shows that the image of protecting and respecting monarchy, defensing our territory, creating patriotic ideology of democratic form of government with the King as Head of State, developing the country and humanitarian relief, following King’s projects, preserving natural resources and environment, empowering the army, maintaining the military relationship with alliance, maintaining internal peace and keeping domestic security respectively. Pubic attitude is at totally agreeing level. When consider the result by arranging from most mean to least, it shows that the image of protecting and respecting monarch, defensing our territory, creating patriotic ideology of democratic form of government with the King as Head of State, maintaining the military relationship with alliance, empowering the army, developing the country and humanitarian relief, maintaining internal peace, preserving natural resources and environment , following King’s projects, and keeping domestic security respectively. Administrating the image of army is at totally agreeing level. When consider the result by arranging from most mean to least, it shows that the army must improve knowledge, skill, manner, disciplinary and establish positive attitude towards its manpower at most mean. Secondly, the army should plan and design scope of news, providing interesting and credible news as well as fact. The army should continuously and consistently promoting army’s work especially the stability and humanitarian relief respectively.