เรื่อง: บทบาทด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับกลุ่มประเทศ CLMV
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย จิระเดช ห้วยหงษ์ทอง
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับ
กลุ่มประเทศ CLMV
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายจิระเดช ห้วยหงษ์ทอง หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับ
กลุ่มประเทศ CLMV รวมทั้งเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาความ
ร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับกลุ่มประเทศ CLMV เพื่อให้ได้แนวทางการส่งเสริม
ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับกลุ่มประเทศ CLMV ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทย
มีบทบาทด้านการท่องเที่ยวกับกลุ่มประเทศ CLMV โดยได้จัดทําแผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวอาเซียน
พ.ศ. 2554 – 2558 (ASEAN Tourism Strategic Plan 2011-2015: ATSP) อยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือ
ด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน มีการบูรณาการการทํางานร่วมกัน โดยได้มี
การจัดตั้งคณะทํางานในด้านต่างๆขึ้น เพื่อดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ มียุทธศาสตร์ความ
ร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี – เจ้าพระยา -แม่โขง ระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม
(ACMECS: Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy) เพื่อส่งเสริม
การพัฒนาร่วมกันอย่างสมดุล มีการจัดทําความตกลง ACMECS Single Visa เพื่อส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวในภูมิภาคตามแนวคิด “สี่ประเทศหนึ่งจุดหมาย Four Countries, One Destination” มีการ
จัดประชุมสุดยอดผู้นํายุทธศาสตร์ความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจ อิรวดี –เจ้าพระยา-แม่โขงหรือ
ACMECS ความร่วมมือสามเหลี่ยมมรกต (Emerald Triangle) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่
จังหวัดชายแดนที่ติดกันของสามประเทศ เป็นต้น ด้านปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาความ
ร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับกลุ่มประเทศ CLMV พบว่า มีปัญหาและอุปสรรคอัน
เกิดจากการปฏิบัติตามพันธกรณีของแต่ละประเทศ ปัญหาการเชื่อมโยงและพัฒนาเส้นทางคมนาคม
ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาเกี่ยวที่ข้องกับความปลอดภัย ด้านแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
พบว่า ควรมีการปรับปรุงกฎระเบียบและการอํานวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวบริเวณจุดตรวจ
ผ่านแดน ควรกําหนดงบประมาณที่ชัดเจนสามารถเห็นเป็นรูปธรรมได้ รวมถึงให้มีการผลักดัน
โครงการที่สามารถลงทุนร่วมกับประเทศหุ้นส่วนการพัฒนา การพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านการ
ท่องเที่ยวโดยการสร้างศักยภาพแก่บุคคลในระดับต่างๆ รวมถึงมีการยกระดับความร่วมมือกันของ
เจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฏหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการข้ามแดนระหว่างองค์กร การจัดให้มี
ระบบการช่วยเหลือนักท่องเที่ยว เป็นต้น ข
ข้อเสนอแนะ รัฐบาลควรกําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์กลยุทธ์ และแผนงาน ตลอดจนตัวชี้วัด
ให้ชัดเจน ในเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับ
กลุ่มประเทศ CLMV เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวไปสู่กลุ่มประเทศ CLMV
ได้อย่างแท้จริงควรมีการพัฒนากฎ ระเบียบ และระบบเชื่อมโยงธุรกิจการท่องเที่ยวไทยกับกลุ่ม
ประเทศ CLMV เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และอํานวยความสะดวกในการบริหารจัดการให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด เร่งดําเนินการด้านการออก Joint Visa หรือ Single Visa เพื่ออํานวยความ
สะดวกด้านการเดินทางแก่ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศสมาชิก CLMV
ดําเนินการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเชื่อมโยงภายในกลุ่มประเทศ CLMV สร้างโครงข่ายเส้นทาง
คมนาคมและระบบเชื่อมโยงการเดินทางท่องเที่ยวกับประเทศในกลุ่ม CLMV ส่งเสริมพัฒนา
ศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวทั้งระบบ ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สอดคล้องกับ
มาตรฐานสากลเป็นต้น
abstract:
ABSTRACT
Title The Approaches to Promote of tourism cooperation Thailand
andcountry group CLMV
Field Economics
Name Mr. Jiradej Huayhongthong Course NDC Class 60
This research the purpose of this study was to study the role of tourism in Thailand and
CLMV as well as to study and analyze the problems and obstacles in developing tourism cooperation
between Thailand and CLMV countries. Thailand has a role to play in tourism with CLMV countries.
The ASEAN Tourism Strategic Plan 2011-2015 (ATSP) is under the regional cooperation framework for
tourism in the region. ASEAN There is integration of collaboration. The working group has been set up.
To accomplish the purpose. The strategy of economic cooperation between the Irrawaddy - Chao Phraya
- Mekong between Cambodia, Laos, Myanmar, Thailand and Vietnam (ACMECS: Ayeyawady - Chao
Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy) to promote balanced development. ACMECS Single
Visa to promote regional tourism based on the concept. "Four Countries, One Destination”. Has been
set up by the leaders of the Irrawaddy - Chao Phraya -Mekong Economic Cooperation Strategy Summit,
or ACMECS, in cooperation with the Emerald Triangle to promote tourism in neighboring border areas.
The problems and obstacles in the development of tourism cooperation in Thailand with CLMV
countries are problematicpursuant to the obligations of each country. Linkage and development of
transport routes. Personnel issues problems related to safety and the solutions to the problems and
obstacles found to improve the rules and facilitate the tourism at the crossing point. Should set a clear
budget can be seen as concrete. It also includes the promotion of projects that can be invested with
partner countries. Human resource development in tourism by empowering individuals at various levels.
There is also an increased level of cooperation between the authorities in enforcing the exchange of
information between organizations. Provide a tourist assistance system.
Recommendations The government sets out vision, mission, strategies, strategies, and
plans as well as indicators. In regards to the promotion of Thailand's tourism cooperation with CLMV
countries, Thailand is the center of CLMV's links to tourism. The development of regulations and
linkages between Thailand and CLMV should be developed to facilitate mobility and to facilitate the
management to achieve maximum. Issuing a Joint Visa or Single visa is subject to urgency to facilitate
the inbound travelers to CLMV countries. The development tourist attractions that can be linked within
the CLMV countries to build a transport network. Promote the development of personnel in the tourism
system. To be competitive. Compliance with international standards.