เรื่อง: การติดตามจุดความร้อนจากการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อดำเนินการลดผลกระทบตามมาตรการแก้ไขปัญหาหมอกและควันไฟข้ามแดน
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการศึกษา/Education
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย เข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การติดตามจุดความร้อนจากการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรเพื่อด าเนินการ
ลดผลกระทบตามมาตรการแก้ไขปัญหาหมอกและควันไฟในประเทศไทย
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายเข้มแข็ง ยุติธรรมด ารง หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60
การศึกษาการติดตามจุดความร้อนจากการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร โดยใช้ดาวเทียม
Terra และ Aqua ในระบบ MODIS มีจุดประสงค์เพื่อแสดงแผนที่เกิดจุดความร้อนในปี พ.ศ. 2558
2559 และ 2560 โดยน ามาจัดท าแผนที่แสดงพื้นที่เปราะบางต่อการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร
รวมถึงพื้นที่การเกิดไฟป่าและไฟไหม้ในเขตอุทยาน เพื่อลดการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่
วิกฤตด้านหมอกควันโดยใช้มาตรการดึงฟืนออกจากไฟในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ การศึกษานี้ใช้
ข้อมูลจุดความร้อนรายวันซึ่งได้จากภาพถ่ายดาวเทียม จากการเก็บข้อมูล 4 ช่วงเวลา ได้แก่ ดาวเทียม
Terra เวลา 01.00-02.00 และ 10.00-11.00 น. และดาวเทียม Aqua เวลา 13.00-14.00 และ
22.00-23.00 น. โดยดาวน์โหลดข้อมูลจากเว็บไซต์ ASEAN Specialized Meteorological Centre
(ASMC Website) ของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ท าการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัดในประเทศไทย
จากนั้นวิเคราะห์หาความเข้มของการเกิดจุดความร้อนด้วยโปรแกรม ArcMap
ผลการศึกษาการเกิดจุดความร้อนในประเทศไทย พบว่า ในปี พ.ศ. 2558 มีจ านวน
13,855 จุด ปี พ.ศ. 2559 มีจ านวน 3,040 จุด และปี พ.ศ. 2560 เหลือเพียง 2,617 จุด เมื่อวิเคราะห์
ทางสถิติแบบ Paired T-test พบว่าจ านวนจุดความร้อนลดลงอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ที่ระดับความ
เชื่อมั่น 99% จากการเปรียบเทียบพื้นที่เปราะบางต่อการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่ประเทศ
ไทย พบว่าภาคเหนือมีพื้นที่เปราะบางต่อการเผาไหม้มากที่สุด 99,891,827 ไร่ (ร้อยละ 31.15)
รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 82,041,759 ไร่ (ร้อยละ 25.58) ภาคกลาง 48,952,487 ไร่
(ร้อยละ 15.26) และภาคใต้ 15,144,867 ไร่ (ร้อยละ 15.26) ตามล าดับ อย่างไรก็ตามการลดลงของ
จุดความร้อนเนื่องมาจากกระทรวงมหาดไทยให้มีการจัดระเบียบการเผา และกรมพัฒนาที่ดินได้ใช้
มาตรการดึงฟืนออกจากไฟเพื่อลดจุดความร้อนในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบไปด้วยโครงการ
ไถกลบตอซังในพื้นที่ 100,000 ไร่ และโครงการจัดท าปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน จ านวน 4,680 ตัน
หน่วยงานทุกภาคส่วนได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน โดยการรณรงค์ให้เกษตรกร
ลด ละ เลิก การเผาเศษวัสดุทางการเกษตร ทั้งนี้เกษตรกรควรให้ความร่วมมือกับมาตรการต่าง ๆ ที่
ภาครัฐเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวต่อไป
abstract:
Abstract
Title Hotspot Monitoring from Burning Agriculture Area to
Reduce Transboundary Haze Pollution Impact
Field Science and Technology
Name Mr.Kemkaeng Yutidhammadamrong Course:NDC Class:60
The study of Hotspot Monitoring from Burning Agriculture Area Using Terra
and Aqua Satellite MODIS Systems to Reduce Global Warming Impact is goal not only at
mapping the surveillance of hotspot from the burning of agricultural waste but also
including forest and national park’s fire occurrence. Keep the daily record of fire in
2015-2017 and recover 77 provinces in the country, Thailand. Hotspot imagery from the
satellite of MODIS system has measured by means of the Thermal Sensor from two
satellites during four period of time such as 01.00-02.00 10.00-11.00 PM (Terra) and
13.00-14.00 22.00-23.00 PM (Aqua). The data is downloaded from ASMC website of the
Republic of Singapore. Give this information to analyze the intensity of the hotspot and
cover the entire country by means of ArcMap to implement measures to reduce the
burning of agricultural waste in the critical agriculture areas.
The results show that the hotspot tracking in 77 provinces of the country that
there were 13,855 points in 2015. On the other hand, there were 3,040 points in 2016 and
2,617 points in 2017. The Paired T-test statistical analysis shows highly significant difference
at 99%. Comparison of the fragile area to the combustion of agricultural materials in
Thailand. Northern areas were the most vulnerable to burnout, with 99.891,827 rai (31.15%),
followed by the Northeast 82,041,759 rai (25.58%), the Central 48,952,487 rai (15.26%), and
the South 15,144,867 rai (15.26%) respectively. However, the reduction of heat points due
to the Ministry of Interior to organize the burning. And the Department of Land
Development has taken measures to pull firewood out of the fire to reduce the heat point
in the 9 Northern provinces. There is 4,680 tons of stubble compost in the area of 100,000
rai and all of them are responsible for solving the problem of Transboundary Haze
Pollution. By campaigning for farmers to reduce the burning of agricultural materials.
Farmers should cooperate with government measures to address short, medium and long
term issues.