Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการบูรณาการการฝึกของกองทัพไทย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับภารกิจ HADR

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาวาอากาศเอก กานต์ชนก หันหาบุญ
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการฝึกร่วม/ผสม ด้าน HADR ของกองทัพไทยเชิงบูรณาการ กรณีศึกษาเฉพาะ การฝึกร่วม/ผสมไทย - มาเลเซีย (JCEX THAMAL) ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย นาวาอากาศเอก กานต์ชนก หันหาบุญ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากระบวนการ ขั้นตอน ปัญหาและอุปสรรค การฝึกร่วม/ผสม ด้าน HADR ของกองทัพไทยเชิงบูรณาการ กรณีศึกษาเฉพาะการฝึกร่วม/ผสมไทย – มาเลเซีย (JCEX THAMAL) ในปัจจุบัน และ 2. ศึกษาแนวทางการฝึกร่วม/ผสม ด้าน HADR ของ กองทัพไทยเชิงบูรณาการ กรณีศึกษาเฉพาะ การฝึกร่วม/ผสมไทย – มาเลเซีย (JCEX THAMAL) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จ านวน 5 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การตีความจากข้อมูล เชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการ ขั้นตอนการฝึกร่วม/ผสมด้าน HADR ระหว่างกองทัพไทย – กองทัพมาเลเซีย มีหน่วยที่เข้ารับการฝึก ฝ่ายไทย มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ประกอบด้วย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย (ปภ.) กระทรวงกลาโหม (กห.) โดย กองบัญชาการกองทัพไทย ประกอบด้วย กรมยุทธการทหาร (ยก.ทหาร) กรมกิจการพลเรือนทหาร (กร.ทหาร) ศูนย์ฝึกบรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (ศฝภ.นทพ.) กรมกิจการ พลเรือนของเหล่าทัพ (กร.ทบ. กพร.ทร. กร.ทอ.) และองค์กรเอกชนต่างๆ เช่น มูลนิธิ และองค์กร NGO ส่วนต่างประเทศ ในการฝึกนี้คือ กองทัพมาเลเซีย ขั้นตอนแบ่งการปฏิบัติในการจัดการฝึกที่ศึกษา ประกอบด้วย ขั้นวางแผนและขั้นการฝึก (ขั้นการฝึกแบ่งเป็นขั้น TTX, FIT, CPX, FTX) ปัญหาอุปสรรค การบูรณาการฝึกร่วม/ผสม แบ่งตามขั้นตอนของการบริหารเชิงบูรณาการ มี 3 ประเด็น คือ 1) ปัญหา การบูรณาการการฝึกร่วม/ผสม (เจ้าภาพหลัก มีการวางแผนร่วม) ประกอบด้วย บทบาทของ ผู้จัดการฝึก การก าหนดสถานการณ์การฝึก และการก าหนดเป้าหมายการฝึกเชิง Unity of Effort 2) ปัญหาการบูรณาการเชิงหน้าที่ และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ประกอบด้วย การบริหารสถานการณ์ การวางแผน และการประสานการปฏิบัติ และ3) ปัญหาการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วม ประกอบด้วย ภาษาในการติดต่อสื่อสาร บทบาทหน้าที่ และการท างานเป็นทีม มีข้อเสนอแนะ คือ แนวทางการพัฒนาการบูรณาการการฝึกร่วม/ผสมไทย-มาเลเซีย ด้าน HADR เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มี 3 แนวทาง คือ การก าหนดนโยบายที่ชัดเจน การจัดท าแนวความคิดในการปฏิบัติการร่วม และ การพัฒนามาตรฐานสู่สากล

abstract:

ข Abstract Title Integration of Thailand of Thailand – Malasia joint / Combined Exercise to Prepare for HADR Mission of The Royal Thai Armed Forces Field Military Name Gp.Capt. Kanchanok Hunhaboon Course NDC Class 60 This research aims to (1) study the process, steps, problems and implications related to the current integration of Thailand-Malaysia Joint / Combined Exercise in HADR and (2) study the guidelines for development of the integration of Thailand-Malaysia Joint / Combined Exercise in HADR in order to achieve the objectives. The qualitative method was used by way of collecting significant data from 5 key informants. In-depth interviews were used as the research instrument, and the analysis of the data was accomplished by qualitative data interpretation. Research result there are several agencies and organizations involved in the Joint/ Combined Exercise on HADR between the Royal Thai Armed Forces and Malaysian Armed Forces. Thai participants comprise of representatives from Disaster Prevention and Mitigation Department of Ministry of Interior, Ministry of Defense by the Royal Thai Armed Forces Headquarters’ Directorate of Joint Operation (J3), Department of Joint Civil Affairs (J5), Mitigation Training Center of the Armed Forces Development Command, Department of Civil Affairs of Army, Navy, Air Force, and other Private Sector Organizations and Agencies, such as Foundations and NGOs. Foreign participants comprise of representative from the Malaysian Armed Forces. The Exercise functions that were studied include TTX, CPX, FTX. Problems and implications related to the current integration of the Joint / Combined Exercise can be divided into 3 steps, i.e. Step 1: Problem of Exercise Integration (the host country conducts joint planning) consists of role of Exercise Controller, determination of Exercise Scenario, and setting Exercise Objectives to demonstrate unity of effort; Step 2: Integrating Functional and Common Use of Resources Issue consists of situational management, planning and coordination; and Step 3: Integration of Exercise Conducting problems consist of collaborative language for communication, roles, and teamwork. The guidelines for development of the integration of Thailand￾Malaysia Joint / Combined Exercise in HADR in order to achieve the exercise objectives consists of Clear Policy Formulation, Joint SOP Formulation, Common Target Determination, Situational Management, Event Management Manual ข Development, HADR Language Development, INSARAG Standard Implementation Guide Preparation, and Team Building.