Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้านไซเบอร์ของกองทัพอากาศ

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาวาอากาศเอก ณรงค์เวตย์ เรืองจวง
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้านไซเบอร์ของกองทัพอากาศ ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย นาวาอากาศเอก ณรงค์เวตย์ เรืองจวง หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 59 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีความส าคัญต่อการปฏิบัติภารกิจทางทหารเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้จะมีการด าเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็จะมีความเสี่ยงที่เกิดจากความผิดพลาดของระบบ หรือถูกโจมตีทางไซเบอร์จากผู้ไม่หวังดี ซึ่งบุคลากรเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการปฏิบัติภารกิจ จึงมี ความจ าเป็นต้องพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในการ วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้านไซเบอร์ของ กองทัพอากาศ โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงานด้านไซเบอร์ของกองทัพอากาศ และก าหนด ขอบเขตการวิจัยเฉพาะในกองทัพอากาศ ผลการวิจัยพบว่าขีดความสามารถการปฏิบัติการด้านไซเบอร์ของกองทัพอากาศ การปฏิบัติเชิงรับอยู่ในระดับดีและการปฏิบัติเชิงรุกอยู่ในระดับปานกลาง มีนโยบาย กระบวนการ แผนแม่บท และแผนงานที่เกี่ยวข้องรองรับการปฏิบัติเกือบทุกด้าน แต่ยังขาดแนวความคิดการ ปฏิบัติการด้านไซเบอร์ รวมถึงมีระบบและอุปกรณ์ที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ ขีดความสามารถในการปฏิบัติด้านไซเบอร์คือ บุคลากร ซึ่งมีไม่เพียงพอ ขาดความรู้และทักษะในการ ปฏิบัติงานด้านไซเบอร์ระบบการจัดการความรู้มีข้อมูลไม่ครบถ้วน และโครงสร้างการจัดหน่วย สามารถรองรับบุคลากรที่ปฏิบัติงานได้ในปัจจุบันเท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติด้านไซเบอร์ของ กองทัพอากาศมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น ต้องพัฒนาบุคลากรด้วยการให้การศึกษา การฝึกปฏิบัติ การ อบรมทบทวน ให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ พร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจด้านไซเบอร์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ พร้อมทั้งบรรจุบุคลากรเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับภารกิจที่ได้รับ รวมถึงเร่งด าเนินการ จัดท าแนวความคิดการปฏิบัติการด้านไซเบอร์เพื่อให้บุคลากรน าไปเป็นแนวทางการปฏิบัติภารกิจ ทบทวนแผนงานให้ทันสมัยและครอบคลุมการปฏิบัติ และควรจัดท าระบบการจัดการความรู้ให้มี ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน หากมีภารกิจด้านไซเบอร์มากขึ้นจากปัจจุบันควรพิจารณาทบทวนโครงสร้าง การจัดหน่วยให้สอดคล้องกับการปฏิบัติภารกิจด้วย

abstract:

ABSTRACT Title Guidelines for Competency Development of the Royal Thai Air Force Cyber Workforce Field Military Name Group Captain Narongwate Ruangjuang Course NDC Class 59 Information technology system is significant for military missions. In spite of the effiicient operations, the risks caused by system errors or from cyber attackers still occur. Personnel are one factor affecting the missions, it is therefore necessary to raise their level of competence to adapt to ever-changing technology. This research aimed to study the ways to develop the capabilities of cyber personnel of the Royal Thai Air Force by using qualitative research methodology to collect and analyze relavant documents including the Royal Thai Air Force commander and practitioner interviews. This research study focuses on the area of the Royal Thai Air Force. The results of this research found that, defensive operations of the Royal Thai Air Force cyber competence are good, while proactive operations are moderate. Th relevant policies, processes, master and action plans for supporting the implementation cover almost all aspects, however; lack of cyber concept of operations. There are also no modern and effective systems and devices. Factors affecting cyber competence include insufficient number of staff, lack of knowledgeable and skilled personnel in the field of cyber as well as incomplete information in the knowledge management system. Furthermore, the organizational structure can support only current staff. Accordingly, in order to enhance operational competencies in the field of cyber of the Royal Thai Air Force, practice and training practitioners must be provided for the purpose of readiness to perform their missions effectively. The number of personnel should be appropriate for the task. Moreover, implementing the cyber operational concept should be accelerated in order to be practice guidelines for staff. The action plans should be revised, updated and comprehended. The knowledge management system should contain completely accurate information. In case there are more cyber task, the organizational structure should be also reviewed whether or not the structure is still consistent with the missions.