Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาการส่งกลับสายแพทย์ทหารบก

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พันเอก ชัชชัย เต็มยอด
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การพัฒนาการส่งกลับสายแพทย์ทหารบก ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พันเอก ชัชชัย เต็มยอด หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙ การศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาการส่งกลับสายแพทย์ทหารบกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระเบียบ การสั่งการ และนโยบายการส่งกลับสายแพทย์ทหารบก แล้วน ามาวิเคราะห์หาปัญหา และอุปสรรคของการส่งกลับสายแพทย์ทหารบก โดยเฉพาะการส่งกลับทางอากาศ เป็นการวิจัยเชิง คุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการส่งกลับ และผู้บังคับบัญชาระดับสูงและใช้ ประสบการณ์ที่ผู้วิจัยประสบมาด้วยตนเอง เพื่อน าไปสู่การวิเคราะห์เพื่อให้ได้แนวทางการพัฒนาการ ส่งกลับ สายแพทย์ทหารบกที่มีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่าอุปสรรคส าคัญของการส่งกลับสายแพทย์ทหารบกทางอากาศ คือ ไม่มีอากาศยานพยาบาลโดยตรง และการสั่งการใช้อากาศยานเพื่อการส่งกลับสายแพทย์ ไม่สามารถสั่งการได้โดยตรงจากผู้บังคับบัญชาสายแพทย์เพื่อให้การใช้อากาศยานพยาบาลดังกล่าว เป็นไปตามข้อบ่งชี้ และความจ าเป็นเร่งด่วนทางการแพทย์อย่างแท้จริง และต้องมีการประสานงาน การใช้อากาศยานดังกล่าวได้อย่างคุ้มค่า โดยการจัดหาอากาศยานจากงบกลางด้านความมั่นคง มีการ กระจายไปในทุกภูมิภาค และในทุกภาคส่วน แต่เมื่อมีภารกิจทางการทหารด้านความมั่นคงให้อยู่ใน อ านาจของผู้บังคับบัญชาสายแพทย์ทหารโดยตรง มีการบริหารจัดการร่วมกับระบบของสถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณชดเชยทั้งด้านอากาศยาน เชื้อเพลิง และค่าตอบแทนบุคลากรได้อย่างถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย แนวทางที่แก้ไข ควรจะให้หน่วยแพทย์ทหารบกควรมีอากาศยานพยาบาลเองเป็น การเฉพาะ และสามารถสั่งการใช้อากาศยานได้ด้วยตนเอง แต่มีการบริหารจัดการด้านงบประมาณ ทั้งหมดในแบบบูรณาการงานด้านการส่งกลับ และความร่วมมือในการบริหารจัดการร่วมกับสถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

abstract:

ABSTRACT Title Development of Army Medical Evacuation Field Military Name Colonel Chatchai Temyord Course NDC Class 59 This research study “Development of Army Medical Evacuation” is a qualitative research that aims to study regulations, orders and army patient evacuation policy. After that, bring them into analysis to find out the problems and the obstacles in medical evacuation especially in aeromedical evacuation. The author myself had a real own experience and combined with the interviews with experts in medical evacuation and the higher commanders. This will bring about to synthesis of efficient army medical evacuationguideline. The result showed that the main obstacle in army medical evacuation was the lacks of medical aircrafts and authorization to initiate the operations by medical staffs or medical commanders directly, to provide the efficient uses of medical aviation in according to the indications, necessity and medical urgency. Including co-ordination for worthily uses, the purchases of such medical aircrafts should be done by common budget in national security aspect. These aircrafts will be allocated to all regions and all sectors. There will be recruited and controlled by medical military commanders when faces with confidentially military operation. There should be a cooperative management with National Institute for Emergency Medicine (NIEMS). For emergency services, they can receive expenses for fuel, aircraft maintenance and personnel compensation that are in accordance with the laws and regulations.