เรื่อง: แนวทางการพัฒนาระบบทหารกองประจำการ(อาสาสมัคร)ของกองทัพบก
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลโท คธายุทธ์ เสาวคนธ์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2559
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบทหารกองประจ าการ (อาสาสมัคร) ของกองทัพบก
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พลโท คธายุทธ์ เสาวคนธ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๙
การวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาวิเคราะห์การด าเนินการในอดีตและปัจจุบันของกองทัพบก
เกี่ยวกับทหารกองประจ าการ (อาสาสมัคร)และศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการร้องขอเข้ารับราชการ
ทหารกองประจ าการทุกวิธี กับเสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบทหารกองประจ าการ (อาสาสมัคร)
ของกองทัพบก โดยขอบเขตการวิจัยคือ ศึกษาการด าเนินการเกี่ยวกับทหารกองประจ าการ มุ่งเน้นข้อมูล
ของผู้ที่ร้องขอเข้ากองประจ าการ เป็นทหารกองประจ าการ (อาสาสมัคร) ในหน่วยที่เคยมีการบรรจุ
ทหารกองประจ าการดังกล่าวในอดีต กับหน่วยที่มีการบรรจุในปัจจุบัน ซึ่งประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการด าเนินการเกี่ยวกับทหารกองประจ าการ โดยข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับนั้น มาจาก
การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลส าคัญ ซึ่งเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบไปด้วย ระดับนโยบาย
จ านวน ๔ ท่าน ระดับแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติจ านวน ๑๖ ท่าน และระดับปฏิบัติ จ านวน ๘ ท่าน และ
จากการสอบถามโดยใช้แบบสอบถามกับพลทหารกองประจ าการ (อาสาสมัคร) สังกัด กองพันจู่โจม
จ านวน ๑๗๗ นายผลการวิจัยสรุปได้ว่าในอดีตนั้น มีเพียงกองพลทหารราบที่ ๖ และกองพลทหารราบที่ ๙
โดยเริ่มด าเนินการใน ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ และด าเนินการเรื่อยมาจนถึง ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๒ จึงยุติ
การด าเนินการ เนื่องจากเมื่อพลทหารกองประจ าการ (อาสาสมัคร) รับราชการครบ ๒ ปี ส่วนใหญ่
สมัครใจลาออก จึงท าให้หน่วยขาดความพร้อมรบ ไม่มีก าลังพลปฏิบัติราชการเพียงพอ ส่วนในปัจจุบัน
มีการด าเนินการเพียงหน่วยเดียว คือ กองพันจู่โจม ส าหรับปัจจัยที่มีผลต่อการร้องขอเข้ารับราชการ
ทหารกองประจ าการนั้น เรียงตามล าดับความส าคัญ คือ ปัจจัยด้านความมั่นคงและก้าวหน้าในอาชีพ
ปัจจัยด้านสิทธิต่าง ๆ ที่จะได้รับ ปัจจัยด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ปัจจัยด้านการได้รับ
ประสบการณ์ชีวิต ปัจจัยด้านเงินเดือนและสวัสดิการ และปัจจัยด้านการได้รับโอกาสในการบรรจุเป็น
ข้าราชการอื่น ๆ รวมถึงได้แนวทางการพัฒนาระบบทหารกองประจ าการ (อาสาสมัคร) ของกองทัพบก
ซึ่งได้แก่ การปรับปรุงคุณสมบัติของพลทหารกองประจ าการ (อาสาสมัคร) ให้สูงขึ้นกว่าพลทหารกอง
ประจ าการ (เรียกเกณฑ์) การโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อทุกชนิดการให้สิทธิประโยชน์
และสวัสดิการต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น และการให้โควตาการบรรจุพลทหารกองประจ าการ (อาสาสมัคร) เป็น
นักเรียนนายสิบทหารบก ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ เชิงปฏิบัติการ ทุกหน่วยจะต้องให้ความร่วมมือ
ตามแนวทางดังนี้คือ การสอบบรรจุเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก ให้รับเฉพาะทหารกองประจ าการ
(อาสาสมัคร) เท่านั้น และต้องจัดหางานรองรับหลังจากปลดจากกองประจ าการแล้ว กับได้รับโอกาส
ในการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการทหารตามคุณวุฒิรวมถึงมีเงินตอบแทนในลักษณะเดียวกับ
บ าเหน็จตามความเหมาะสม และเชิงนโยบาย รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนากองทัพบกให้มากขึ้น
ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความเหมาะสม มีการน าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ประโยชน์
และหลังปลดจากกองประจ าการแล้ว ต้องมีหลักประกันในความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ
abstract:
ABSTRACT
Title Improving the System Concerning Voluntary Private-Ranked
Soldiers in the Royal Thai Army
Field Military
Name LTG KATHAYOOTH SAOWAKON Course NDC Class 59
The objective of this research is to study the overall processes involving
voluntary Private-ranked soldiers in the Royal Thai Army. The scope of this research
is the study of all important information regarding these voluntary Private-ranked
soldiers. This qualitative research uses in-depth interviews from involved officers and
questionnaires from current voluntary Private-ranked soldiers as the method of data
collection. The in-depth interviews are conducted through 16 samples; 4 samples
from policy makers, 16 samples from administrators who apply the policies into use,
and 8 samples in the operating level. In addition, 177 voluntary privates from RTA
Ranger Battalion are participated in the questionnaires. The results show that in the
past there was a voluntary Private-ranked program conducted in the 6th and 9th
Infantry Division during 1 April 2530 B.E. to 1 May 2532 B.E. Then the program was
shut down because most voluntary privates decided to leave the army after their 2
years requirement. Currently, there have been voluntary Private-ranked soldiers only
at the Army Ranger Battalion. From the result, factors that influence people to apply
for the voluntary privates program are job security and career advancement, job
benefits, respectability, experiences in life, salary and payment, chance to be selected
into other government jobs. Finally, the research provides some recommendations to
the program. In operation term, RTA should change its rule to accept only voluntary
Private-ranked soldiers into the Army Non Commissioned Officer School. There should
be programs that help those voluntary soldiers to find new jobs after leaving the army.
Moreover, these soldiers should receive a better chance to join the army depending
on their education backgrounds. In strategic term, the government must provide
extra budgets to the army to support the program. Some laws, rules and regulations
should be changed to support the operations. Information technology should be applied
to the program. Lastly, there should be some assurances of job security for those
who join the program.