Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการบริหารการชำระหนี้ของรัฐบาลอย่างยั่งยืนเพื่อลดยอดหนี้สาธารณะ

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย เอด วิบูลย์เจริญ
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2557
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดยอ บทคัดยอ เรื่อง แนวทางการบริหารการชําระหนี้ของรัฐบาลอยางยั่งยืนเพื่ เรื่อง อลดยอดหนี้สาธารณะ . ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ลักษณะวิชา . ผูวิจัย นายเอด วิบูลยเจริญ ผูวิจัย หลักสูตร วปอ. รุนที่ รุนที่ รุนที่ 57 . การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารการชําระหนี้ของไทยที่มีอยูอยางจํากัดใหมีประสิทธิภาพ สูงสุด และศึกษาความเปนไปไดในการสรางทางเลือกในการชําระหนี้จากแหลงเงินอื่นนอกเหนืองบประมาณปกติที่ไดรับจัดสรร โดยเปนการ วิจัยเชิงคุณภาพจากขอมูลทางสถิติและขอมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวของระหวางป 2541 - 2558 เพื่อนํามาวิเคราะหในเชิงลึก ไดแก ขอมูลการจัดสรร งบประมาณรายจายประจําป ขอมูลภาระหนี้ที่ครบกําหนด การประมาณการภาระหนี้ของรัฐบาล ขอมูลรายรับของภาครัฐ ขอมูลเงินคงคลัง และ ขอมูลการใชจายงบประมาณของรัฐบาล รวมทั้งขอกฎหมายตางๆ ที่เกี่ยวของ ตลอดจนแนวทางการบริหารการชําระหนี้ของตางประเทศและ องคการระหวางประเทศ ซึ่งผลการวิจัย พบวา ทางเลือกที่เปนไปไดในการบริหารการชําระหนี้ของรัฐบาลโดยใชแหลงเงินอื่นนอกเหนือ งบประมาณที่ไดรับจัดสรรมีอยู 4 แนวทาง ไดแก 1) พิจารณาขอใชเงินเหลือจายจากการใชงบประมาณรายจายของสวนราชการตางๆ เมื่อสิ้น ปงบประมาณมาสมทบกับงบประมาณที่ไดรับจัดสรรเพื่อการชําระหนี้ของรัฐบาล 2) พิจารณาขอรับจัดสรรเงินภาษีที่จัดเก็บไดจากยาสูบ สุรา ตางๆ มาสมทบกับงบประมาณที่ไดรับจัดสรรเพื่อการชําระหนี้ของรัฐบาล 3) พิจารณานําเงินคาธรรมเนียมการค้ําประกันและใหกูตอของ กระทรวงการคลังมาสมทบเพื่อการชําระหนี้ของรัฐบาล และ 4) พิจารณานําทางเลือกที่ 1) ทางเลือกที่ 2) และทางเลือกที่ 3) มาสมทบกับ งบประมาณที่ไดรับจัดสรรเพื่อการชําระหนี้ของรัฐบาล ซึ่งผูวิจัยพิจารณาแลวเห็นวา แนวทางที่ 4 เปนแนวทางที่ดีที่สุด โดยมีขอเสนอแนะ หากมีการดําเนินการควรมีการเปดรับความเห็นจากหนวยงานตางๆ ที่เกี่ยวของและผูที่มีสวนไดสวนเสีย เพื่อศึกษาผลกระทบจากการ ดําเนินการ และรวมกันเสนอแนะแกไขขอกฎหมาย เพื่อหาทางเลือกหรือสัดสวนที่เหมาะสมในการขอรับจัดสรรเงินเพื่อการชําระหนี้ให สามารถดําเนินการเปนรูปธรรมได นอกจากนี้ รัฐบาลควรมีความจริงใจและแสดงความรับผิดชอบตอภาระหนี้ที่กอขึ้นโดยตองกําหนดแนว ทางการชําระหนี้ที่กอขึ้น ตลอดจนกําหนดกรอบระยะเวลาการชําระหนี้อยางชัดเจนเพื่อใหภาระหนี้ที่เกิดขึ้นดังกลาวถูกชําระทั้งหมด รวมทั้ง มี นโยบายที่เปนขอบังคับใหหนวยงานที่เกี่ยวของปฏิบัติตาม เพื่อใหเกิดความยั่งยืนทางการคลัง สรางเครดิตของประเทศ และเสริมสรางความ มั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศใหแข็งแกรงตอไป นอกเหนือจากการพิจารณากอหนี้ภายใตกรอบความยั่งยืนทางการคลัง

abstract:

Abstract Title Sustainable Government’s Debt Repayment Methods to Decrease Public Debt . Field Economics . Name Mr. Ace Viboolcharern Course NDC Class 57 . This dissertation examines methods of the Government’s debt repayment to achieve maximum efficiency under limited repayment budget. In addition to the annual principal and interest budget allocated, various sources of the Government’s budget and revenue are explored. Several qualitative statistical figures and relevant secondary databases from 1998 to 2015 are used to obtain the research of debt repayment framework namely; government annual budget allocation data; government debt maturity profiles; principals and interests expenses of government debt forecast; public revenue figures; treasury cash balance figures; government budget spending data; and relevant laws and regulations. Furthermore, foreign debt repayment and international organization debt management are also studied to enhance an in-depth analysis. The preliminary results of the research find that there are 4 possible approaches to utilize other sources of government’s budget and revenue to help repay its debt. However, the best approach is to combine the Government’s budget and revenue including government agencies’ remaining budget at the end of fiscal year, revenue collected from sumptuary tax, and government guarantee and on-lending fee collected from state owned enterprises to supplement the existing principal and interest budget. The conclusion can also be drawn that the Government should be accountable and responsible to its debt obligation to ensure fiscal sustainability, national creditability, and long term economic stability. Following an in-depth analysis of various statistical research results, some recommendations for safeguarding the repayment framework will also be discussed.