Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การปรับปรุงบทบาทและโครงสร้างของหน่วยงานด้านสังคมและวัฒนธรรมของไทยในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาว อุษณี กังวารจิตต์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2557
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การศึกษาเรื่องการปรับปรุงบทบาทและโครงสร้างหน่วยงานด้านสังคม และ วัฒนธรรมของไทยในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นางสาวอุษณี กังวารจิตต์ หลักสูตร วปอ. รุ่น 57 การปรับปรุงบทบาทและโครงสร้างหน่วยงานด้านสังคม และวัฒนธรรมของไทยในการ ก้าวสู่ประชาคมอาเซียนมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาทฤษฎีและแผนงานการจัดตั้งประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ศึกษาแผนงานและบทบาทพร้อมทั้งโครงสร้างของหน่วยงานด้านสังคม และวัฒนธรรมของไทยและเสนอแนวทางการปรับปรุงบทบาทและโครงสร้างของหน่วยงานด้านสังคม และวัฒนธรรมอาเซียนของไทยในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีขอบเขตการวิจัยเน้นเฉพาะ กลุ่มเป้าหมายด้านเยาวชนเท่านั้น และมีวิธีด าเนินการวิจัย เพื่อการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาใน ลักษณะของการวิจัยเอกสาร ซึ่งข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการศึกษาเอกสาร แนวคิด นโยบายที่เกี่ยวข้อง กับประชาคมอาเซียน โดยเน้นประชาคมสังคมและวัฒนธรรม นโยบายต่าง ๆ และการศึกษาความ คิดเห็นของบุคคล ซึ่งผลการวิจัยสรุปว่า 1) แผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนควร ได้รับการพัฒนาให้มีบทบาทที่เป็นจริง เห็นผลที่เป็นรูปธรรม 2) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียนด้วยการ เขียนความเป็นมาร่วมกัน 3) แผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนขาดการเปิด โอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการที่จะท าให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับ ประชาชนเกิดขึ้น และ 4) อุปสรรคต่อความร่วมมือไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ได้แก่ ระบบการ ปกครอง ความขัดแย้งทางด้านการเมือง-ความมั่นคง ความแตกต่างของระบบการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนาของประเทศสมาชิกอาเซียน กลไกอาเซียน ต้องเป็นประชาคมของ ประชาชนอาเซียน และกฎบัตรอาเซียนมุ่งสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนอาเซียนเป็นส าคัญ งานวิจัยดังกล่าวแบ่งข้อเสนอแนะได้เป็น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือควรปรับปรุง บทบาทของคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน (กดยช.) ให้มีบทบาทอย่างแท้จริงในการ ก าหนดนโยบายในการพัฒนาเยาวชน ควรก าหนดเกณฑ์อายุของเยาวชนประเทศสมาชิกอาเซียนให้เท่ากัน ขยายโอกาสแก่เยาวชนอย่างทั่วถึงเพื่อให้สามารถสร้างเสริมทักษะที่จ าเป็นต่อการด ารงชีวิต และ ส่งเสริมสุขอนามัยของตนเองให้สมบูรณ์ และควรมียุทธศาตร์ในการพัฒนาแรงงานเยาวชน ทั้งในระดับ เศรษฐกิจจุลภาคและมหภาค ข้อเสนอแนะในการด าเนินงาน ควรจัดท าแผนปฏิบัติการโดยการมีส่วน ร่วมและบูรณาการการท างานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ควรออกแบบหลักสูตรการศึกษาให้สนับสนุน การฝึกฝนทักษะอาชีพและเพิ่มพูนประสบการณ์ในการท างาน พัฒนาทักษะของเยาวชนไทยให้ สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน และรัฐควรขยายทางเลือกในการศึกษาให้ ตอบสนองความต้องการของเยาวชน ผลักดันให้เกิดนโยบายและยุทธศาสตร์ในเรื่องการพัฒนาเยาวชน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และสร้าง จิตส านึกของคนใน ชาติต่ออาเซียน และชนในชาติต่อชนชาติอาเซียน เรียนรู้วัฒนธรรม/ภาษา ของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค เพื่อที่จะท าให้เกิดความเข้าใจในวิถีชีวิตและวิถีการด ารงชีพของคนในภูมิภาคจ

abstract:

Abstract Title Study on the Reformation of Role and Structure of Thai Socio and Cultural Organizations Towards ASEAN Community Field: Social - Psychology Name: Ms. Usanee Kangwanjit Course: NDC Class: 57 The Study on the Reformation of Role and Structure of Thai Socio and Cultural Organizations Towards ASEAN Community is with the objectives to study the theory and plan to establish ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC), to study the plan and role as well as the structure of Thai socio and cultural organizations, and to propose the reformation of their role and structure towards ASEAN Community. This study is focused only on the target group of young people while conducting the study with documentary research. The secondary data is derived from the documentary study, policies on ASEAN Community especially on ASCC, various policies and opinions. It is found out from the study that (1) ASCC Plan of Action should be developed into practice with tangible results. (2) The creation of ASEAN identity should be holistic designed. 3) ASCC Plan of Action is still lack of the civic society’s participation in order to establish people to people relationship. 4) The obstacles to the cooperation towards ASEAN Community are regime, political-security conflict, the differences of political system, economics, cultures, races, religions of ASEAN member countries while ASEAN mechanism must be the community of ASEAN people and ASEAN Charters aims to the benefit of ASEAN people as a whole. The study comes up with recommendations on policy aspect which are to strengthen the role of National Commission on the Promotion of Child and Youth Development in the policy formulation, to set the age group criteria of ASEAN youth at the same range, to provide assessment opportunity for general youth to have potential life skill and healthy life, and to have special strategy on youth skill labor development both in macro and micro economic level. In addition, the recommendations on implementation aspect are to have participatory and integrated plan of action among agencies concerned, to design curriculum supporting skill labor training and increase their working experiences in response to labor market with more educational choices, and to drive policy and strategy on youth preparation for ASCC.