Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการเข้าถึงการบริการของรัฐด้านการสาธารณสุข

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลโท สุวิชา แก้วรุ่งเรือง
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2557
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ เอกสารวิจัยส่วนบุคคล เรื่อง "แนวทางการเข้าถึงการบริการของรัฐด้านการสาธารณสุข" นี้ มี วัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงลักษณะของบุคลิกภาพ และทัศนคติการให้บริการทางด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งในการศึกษานี้จะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวและผู้ที่ มีบุคลิกภาพแบบแสดงตัวว่า ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบไหนที่เอื้ออ านวยต่อการท าให้บุคคลนั้นๆ มีทัศนคติและ พฤติกรรมในการให้บริการประชาชน ผลที่ได้จากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ท าให้เข้าใจถึงลักษณะของ บุคลิกภาพ ทัศนคติ และพฤติกรรมของบุคคลว่า บุคคลที่มีบุคลิกภาพเช่นไรที่เหมาะกับงานชนิดหนึ่งๆซึ่งตรง กับส านวนฝรั่งที่ว่า Put the right man on the right job ในการศึกษาครั้งนี้ได้ท าการสุ่ม ตัวอย่างแบบตามขั้นจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีต าแหน่งเฉพาะ 5 ต าแหน่ง คือ พยาบาล เภสัชกร นักสังคม สงเคราะห์ พนักงานสาธารณสุข และพนักงานธุรการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทั้ง 5 ต าแหน่งนี้กระจายอยู่ตามศูนย์บริการ สาธารณสุข 68 แห่ง ทั่วกรุงเทพมหานคร หลังจากที่ได้จ านวนตัวอย่างจากการสุ่มตามขั้นครบแล้ว จึงได้เลือก ศูนย์บริการสาธารณสุขที่จะศึกษา โดยใช้วิธีสุ่มแบบง่ายที่ครอบคลุมตัวอย่างประชากรที่ต้องการศึกษา การศึกษาถึงบุคลิกภาพและทัศนคติในการให้บริการประชาชนนี้ มีฐานคติที่ว่า ทัศนคติเป็น แนวโน้มของพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกมา ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการศึกษาทัศนคติของบุคคลก็คือ การศึกษาถึง ส่วนหนึ่งของพฤติกรรมบุคคลนั่นเอง ส าหรับการศึกษาทัศนคติการให้บริการประชาชนในเอกสารวิจัยนี้ หมายถึง " ลักษณะความคิดเห็นซึ่งมีอารมณ์เป็นส่วนประกอบ เป็นส่วนที่พร้อมจะมีปฏิกิริยาเฉพาะต่อเรื่อง ของการให้บริการทางด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน ซึ่งมีองค์ประกอบคือ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเข้าอก เข้าใจ ความเห็นใจเพื่อนมนุษย์ ความอดทน ความพึงพอใจในงานที่ท า ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และ จรรยาบรรณของอาชีพตน " ส่วนบุคลิกภาพนั้นหมายถึง ลักษณะการผสมผสานของร่างกาย อารมณ์ สังคม และศีลธรรมประจ าใจ ท าให้พฤติกรรมที่แสดงออกเป็นลักษณะเฉพาะของคนคนนั้นซึ่งได้แบ่งบุคลิกภาพ ออกเป็น 2 แบบ คือบุคลิกภาพแบบแสดงตัว และบุคลิกภาพแบบเก็บตัว และบุคลิกภาพทั้ง 2 แบบมีความ แตกต่างกันดังนี้ 1. บุคลิกภาพแบบแสดงตัว (EXTRAVERSION) หมายถึงลักษณะหรือองค์ประกอบต่างๆของ บุคคลที่ตื่นตัวชอบการมีกิจกรรมต่างๆ ชอบเข้าสังคม ชอบท าอะไรที่ท้าทายและเสี่ยงภัย ท าอะไรหุนหันพลัน แล่นไม่ค่อยระมัดระวัง ชอบแสดงความรู้สึกออกมาอย่างเปิดเผย ขาดความคิดไตร่ตรอง และขาดความ รับผิดชอบ 2. บุคลิกภาพแบบเก็บตัว (INTROVERSION) หมายถึงลักษณะหรือองค์ประกอบต่างๆของ บุคคลที่ตรงข้ามกับบุคลิกภาพแบบแสดงตัวนั่นก็คือ เป็นผู้ที่ไม่ชอบการมีกิจกรรมที่ตื่นเต้นโลดโผน ค่อนข้าง เก็บตัว ชอบท าอะไรด้วยความมั่นใจไม่ชอบการเสี่ยง ท าสิ่งต่างๆด้วยความระมัดระวังและมักมีการวางแผน เอาไว้ล่วงหน้า มักที่จะเก็บความรู้สึกของตนเองเอาไว้คนเดียว ชอบคิดอะไรที่ลึกซึ้งและรอบคอบ และเป็นผู้ที่มี ความรับผิดชอบสูงสมมุติฐานของการศึกษาเรื่องบุคลิกภาพและทัศนคติในการให้บริการประชาชนของเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข มีดังนี้คือ 1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีภูมิหลังทางสังคมเศรษฐกิจที่แตกต่างกันจะมีทัศนคติในการ ให้บริการประชาชนที่แตกต่างกัน 2. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่วนใหญ่มีทัศนคติในทางที่ดีต่อการให้บริการประชาชน 3. บุคลิกภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นแบบเก็บตัว 4. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวจะมีทัศนคติในการให้บริการประชาชน ดีกว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีบุคลิกภาพแบบแสดงตัว ผลของการศึกษาปรากฏว่า เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ทุกประการ ค่าทัศนคติของเจ้าหน้าที่ ส า ธ า ร ณสุ ขก็อ ยู่ในเ กณฑ์ที่ดี โ ดยที่ทัศนค ติฯที่ อยู่ในเกณฑ์ดี มีค ว าม สัมพัน ธ์กับ บุค ลิกภ าพ แบบเก็บตัวด้วย และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่วนใหญ่ของส านักอนามัย กรุงเทพมหานคร มีบุคลิกภาพเป็นแบบ ค่อนข้างเก็บตัว ส่วนปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจที่ต่างกัน บุคลิกภาพและทัศนคติฯก็จะแตกต่างกันด้วยคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มี อายุ อายุราชการ ระดับงาน ระดับการศึกษาที่สูงกว่า จะมีบุคลิกภาพที่ค่อนไปทาง พวกเก็บตัวและเป็นผู้ที่มีทัศนคติการให้บริการประชาชนอยู่ใน ระดับดี - ดีมาก ซึ่งจากผลที่ได้ดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่า การที่จะให้ได้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีพฤติกรรมที่ดีในการให้บริการประชาชนเพื่อที่จะท าให้ประชาชน มีศรัทธาต่อตัวข้าราชการและระบบราชการอันเป็นส่วนรวมนั้น ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะซึ่งสรุปได้คือ การคัดเลือก บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่นั้นควรค านึงถึงบุคลิกภาพที่เหมาะสมเอื้ออ านวยต่องานที่จะปฏิบัติในหน้าที่ และน่าที่ จะมีการส่งเสริมเร่งรัดปรับปรุงคุณภาพของเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีความพร้อมในการให้บริการที่ดีแก่ ประชาชนโดยใช้วิธีการวางเงื่อนไขที่เหมาะสมตามสภาพของลักษณะงานซึ่งจะต้องมีการศึกษาค้นคว้าต่อไปถึง คุณลักษณะของบุคคลที่เหมาะสมกับงานชนิดต่างๆ

abstract:

0