Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: รูปแบบการประกันสุขภาพและการจัดการ ด้านสุขภาพในแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตาม

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายแพทย์ ศุภกิจ ศิริลักษณ์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2557
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง รูปแบบการประกันสุขภาพและการจัดการด้านสุขภาพในแรงงานต่างด้าวและ ผู้ติดตาม ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายศุภกิจ ศิริลักษณ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๕๗ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อให้ทราบสถานการณ์ ปัญหาที่เป็นช่องว่างของการประกัน สุขภาพและการจัดการด้านสุขภาพ ในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตาม เพื่อน ามา สังเคราะห์ข้อเสนอรูปแบบการประกันและการจัดบริการสุขภาพที่เหมาะสม เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยได้รวบรวมข้อมูลทั้งจากต ารา เอกสาร งานวิจัย รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มกับผู้ที่ เกี่ยวข้องกับประเด็น และมีการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลใน ๓ จังหวัดที่มีแรงงงานต่างด้าวอยู่และยังมีการ จัดการสัมมนาเพื่อรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ผลการศึกษาพบว่า แม้จะมีการ ด าเนินการเรื่องนี้มายาวนานกว่า ๒๐ ปีแต่รัฐบาลก็ยังไม่มีนโยบายหรือยุทธศาสตร์ระยะยาวที่ดี การ ท างานขาดการบูรณาการและการประสานการปฏิบัติ ระบบประกันสุขภาพเริ่มแรกมีระบบเดียวคือการ ประกันกับกระทรวงสาธารณสุข ต่อมาภายหลังมี๒ ระบบคือการเข้าสู่การประกันสังคม ที่มีการจ่ายเงิน และชุดสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน มีความสับสนและบางเวลาขาดการปฏิบัติอย่างเข้มงวดท าให้อัตราการ มีประกันสุขภาพอยู่ในระดับต่ า โดยเฉพาะการเข้าสู่ระบบประกันสังคม ย่อมท าให้เกิดปัญหาการขาด หลักประกันสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย การใช้บริการของแรงงานและผู้ติดตามซึ่งมักจะไม่ไปสถานบริการ โดยเฉพาะโรงพยาบาลหากไม่เจ็บป่วยมากนัก การใช้บริการยังมีอุปสรรคด้านภาษา ความเข้าใจ ผู้ ให้บริการบางส่วนยังมีเจตคติด้านลบ โดยคิดว่าเป็นภาระทั้งด้านภาระงานและการเงินในกรณีที่ไม่มี ประกันและไม่สามารถจ่ายได้ การเงินการคลังในภาพรวมยังอยู่ในภาวะเป็นบวก แม้บางจังหวัดมีการ ขาดทุนแต่ก็เนื่องจากการต้องแบกรับกลุ่มที่ไม่สามารถจ่ายค่าบริการได้ หลายจังหวัดสามารถพัฒนา ให้ แรงงานต่างด้าวมาช่วยเป็นทรัพยากรบุคคลด้านสุขภาพ ตัวอย่างกรณีพสต. และ อสต. มีข้อเสนอรูปแบบ ในการประกันสุขภาพที่เหมาะสมคือการสร้างระบบประกันสุขภาพในรูปแบบเดียว โดยมีการออก พรบ. หรือการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สามารถด าเนินการได้ และการปรับรูปแบบบริการที่เป็นมิตร (Mi￾grant Friendly Service) ตั้งแต่ระดับบุคคล ชุมชนต่างด้าว รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมในสถาน บริการให้เอื้อต่อการเข้ารับบริการของแรงงานต่างด้าวและครอบครัว ข้อเสนอแนะจากการศึกษาคือ รัฐบาลต้องมีนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะยาว สร้างกลไกบูรณาการและการประสานการปฏิบัติ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ปรับแก้กฎหมาย โดยสนับสนุนการน าข้อเสนอรูปแบบการประกันสุขภาพ รูปแบบเดียวและการบริหารที่เป็นมิตรโดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสุขภาพน าไปวางแผนพัฒนาให้ เกิดประสิทธิภาพในทุกๆด้าน

abstract:

ABSTRACT Title The Health Insurance and Health Service in Migrant Workers and Dependences Field Social - Psychology Name Dr. Supakit Sirilak Course National Defend College Class Batch 57 This study aims to find out the situation of health insurance and health service management in labor migrants and their followers and propose the appropri￾ate health insurance and friendly service for them. The qualitative method was used by reviewing all relative documents, research papers and in-depth interviewing key informants and conducting focus-group discussion and work-shop in 3 provinces. The result showed that during the past two decades Thai government has not yet estab￾lished the solid policy on migrant workers and also the long term national strategic plan. At the beginning Ministry of public health was responsible for health insurance for all migrant workers. Then the temporary migrants who already had national verifi￾cation or coming in under MOU and working inthe formal sectors had to registered to social security scheme which including health insurance. The premium cost and the health care benefit are different between the two schemes. Although it was compul￾sory for migrant workers to be covered by either social security or MoPH scheme but the coverage was still poor and fluctuate. No health insurance has led them to less accessibility to health care. Even the ones who had health insurance but the accessi￾bility might be poor because they could not get the friendly services such as the translator for their native language. Some health care providers had negative attitude as they percept that those migrants made increase work load and also financial bur￾den in case they could not pay for service fee. In fact the financial balance was still positive except the hospital had to spend for uninsured and had no ability to pay cases. The development and use of migrant health worker and migrant health volun￾teer were proved to be effective in several areas. The proposal for health insurance in migrant worker was the single scheme migrant health insurance. This needs to re￾vise the relative laws and regulations or issue the new bill. The health service also had to be developed to be more migrant friendly for individual, migrant community and also the friendly system provided in the hospital. The recommendations are Thai government has to establish the solid long term policy and strategic plan on migrant workers and their dependences, establish the effective integration mechanism, issueor revisit the essential laws, develop the migrant health information system and make the single scheme health insurance and migrant friendly service as it’s priority policy to be implemented effectively.