Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการจัดทำตัวชี้วัดเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศไทย

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย วิโรจน์ นรารักษ์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2557
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการจัดท าตัวชี้วัดเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศไทย ลักษณะวิชา เศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายวิโรจน์ นรารักษ์ หลักสูตร วปอ.รุ่นที่ 57 การศึกษาแนวทางการจัดท าตัวชี้เศรษฐกิจสีเขียวของประเทศไทย เนื่องจากในระยะ ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ประสบความส าเร็จด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ประสบปัญหา ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากรอบแนวคิดตัวชี้วัด การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP growth) และตัวชี้วัดเศรษฐกิจสีเขียว (Green GDP) ตามหลัก มาตรฐานสากล ประเมินความเป็นไปได้ในการจัดท าตัวชี้การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวในระดับภาพรวม และในระดับรายสาขาการผลิต และข้อเสนอแนะแนวทางการจัดท าตัวชี้วัดไปสู่การปฏิบัติ จากการศึกษาได้ท าการศึกษากรอบแนวคิดการวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ตามระบบขององค์การสหประชาชาติ และศึกษากรอบแนวคิดการจัดท าเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ สีเขียวโดยการศึกษาตามระบบของ SEEA (System of Environmental and Economic Accounting) เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงระหว่างบัญชีประชาชาติกับบัญชีทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งศึกษายุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อน าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งแนวนโยบายใน ภาพรวม และแนวนโยบายรายสาขา การจัดท าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่หักต้นทุนด้าน สิ่งแวดล้อม ในช่วงปี 2548 – 2557 พบว่า ในปี 2548 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสุทธิ ที่ปรับด้วย ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม มีมูลค่า 6.37 ล้านล้านบาท ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมมีมูลค่า 0.107 ล้านล้าน บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.41 ของ GDP และในปี 2557 มูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสุทธิ ที่ปรับด้วยต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม (Green GDP) อยู่ที่ 10.77 ล้านล้านบาท ต้นทุนสิ่งแวดล้อมรวมมี มูลค่า 0.145 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2548 – 2557 ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมได้ เพิ่มขึ้นประมาณ 1.35 เท่า อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบต่อ GDP พบว่าต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมต่อ GDP ลดลงจากร้อยละ 1.41 ของ GDP ในปี 2548 เหลือร้อยละ 1.12 ต่อ GDP และร้อยละ 1.10 ต่อ GDP ในปี 2556 และ 2557 ตามล าดับ ในการศึกษาพบว่า การจัดท าบัญชีบริวารทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ยังพบประเด็นด้านข้อมูลที่มีปริมาณและความถี่ในการจัดเก็บไม่เพียงพอ และคุณภาพ ข้อมูลไม่เป็นไปตามกรอบ SEEA ซึ่งน ามาสู่ปัญหาในการค านวณมูลค่าบัญชีประชาชาติที่ปรับด้วย ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเพื่อให้สามารถด าเนินการในอนาคตควรมีการหารือร่วมกันระหว่างข สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และแนวทางการจัดท าข้อมูลในการจัดท า บัญชีบริวารทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป

abstract:

Abstract Title Guidelines for Green Economy Indicator of Thailand Field Economics Name Mr. Wirot Nararak Course NDC 57 Thailand has achieved a favorable economic growth; however, there is a big problem of social and environmental issues. The paper aims to study the conceptual framework of economic growth and that of Green GDP in compliance with the international standards, to evaluate the possibility of calculating the Green GDP on the overview and economic activity level, and to give recommendations of Green GDP implementation. In this study, the concept of the United Nations System of National Accounts (UNSNA) and System of Environmental and Economic Accounting (SEEA) have been studied deliberately in order to acknowledge of the linkage between national accounts, and natural resource and environmental accounts; and study the strategy which leads to the sustainability of growth in terms of overview and economic activities levels. The results of Net GDP (NDP) adjusted with environmental costs during 2005-2014 showed that Green GDP valued at 6.37 trillion baht, and environmental costs amounted 0.107 trillion baht or 1.41% of GDP. In 2014, Green GDP valued at 10.77 trillion baht, and the environmental costs with the value of 0.145 trillion baht. Over last decade (2005-2014), the environmental costs have escalated 1.35 times. However, the comparison of the environmental costs to GDP showed the downward trend from 1.41% of GDP in 2005 to 1.12% and 1.10% of GDP in 2013 and 2014, respectively. In this study, the work on natural resource and environmental satellite accounts accounting has faced many problems of data quantity and data quality to be consistent with SEEA concept, and led to doubtful accuracy of NDP adjusted with the environmental costs. In order to work on Green GDP compilation accurately, therefore, the discussion between the NESDB and the agencies related to natural resource and environment should be arranged, as well as the concept, theory, and guideline of natural resource and environmental satellite accounting system should be studied and implemented.