Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การศึกษาความชุกของการสูบบุหรี่ของกำลังพลในกระทรวงกลาโหม

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลอากาศตรี หญิง รจเรขา เบญจกุล
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2557
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การศึกษาความชุกของการสูบบุหรี่ของก าลังพลในกระทรวงกลาโหม ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย พลอากาศตรีหญิง รจเรขา เบญจกุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 57 บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งต่อผู้สูบเอง และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่สูดหายใจเอาอากาศ ที่มี ควันบุหรี่เข้าไป เพราะควันบุหรี่ประกอบด้วยสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งสิ้น ทหารไทยก็ เช่นเดียวกันโดยเฉพาะกลุ่มทหารกองประจ าการที่มีอัตราการสูบบุหรี่สูง จากการส ารวจด้านสุขภาพ อนามัยของก าลังพลในกองทัพบกทั้ง 4 กองทัพภาค ทุกชั้นยศ พบว่า ทหารกองประจ าการเป็นกลุ่มที่ สูบบุหรี่มากที่สุดร้อยละ 68.07 รองลงมาเป็นข้าราชการทหารชั้นประทวน ร้อยละ 45.29 และ ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร ร้อยละ 22.56 จึงต้องการศึกษาหาความชุกของการสูบบุหรี่ของก าลังพล กระทรวงกลาโหม รวมทั้ง ทัศนคติ การรับรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการด าเนินการให้กระทรวงกลาโหมเป็นส่วนราชการปลอด บุหรี่ในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า ก าลังพล สังกัดส านักงานปลัดกระทรวงกลาโหมที่สูบบุหรี่ทั้งสิ้น จ านวน 1,008 คน ร้อยละ 25.2 และกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่ จ านวน 2,935 คน ร้อยละ 74.8 ลักษณะของ กลุ่มที่สูบบุหรี่ ส่วนใหญ่จะเป็นเพศชาย และมีชั้นยศเป็นนายทหารประทวน คุณวุฒการศึกษาต่ ากว่า ปริญญาตรี มีพฤติกรรมการเริ่มสูบบุหรี่จากสภาพแวดล้อมในบ้านมีสมาชิกในบ้านสูบบุหรี่ ประสบกับ การสัมผัสควันบุหรี่ทั้งที่พักและที่ท างานตลอดทั้ง 7 วันในสัปดาห์ มีการรับรู้ถึงระเบียบของสถานที่ ท างานในการก าหนดพื้นที่สูบบุหรี่ และสุดท้ายส่วนใหญ่ต้องการที่จะเลิกสูบบุหรี่ เมื่อพิจารณาถึงการ รับรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 กลุ่มนี้มีค่าเฉลี่ย น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่ ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก คือ นโยบายของส่วน ราชการต้องมีมาตรการที่ชัดเจน เข้มแข็ง ต่อเนื่อง เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของ ผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 เช่น จัดสถานที่สูบบุหรี่ให้มีความเหมาะสม ก ากับดูแลมิให้มีการสูบบุหรี่ นอกสถานที่ที่ก าหนด พร้อมทั้งให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิด้านสุขภาพคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ เพื่อให้ก าลังพลมีความรู้ ความเข้าใจในสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะต้องได้รับการคุ้มครองด้านสุขภาพจาก ควันบุหรี่มือสอง เพื่อให้เป้าหมายเป็นส่วนราชการปลอดบุหรี่ต่อไป

abstract:

Abstract Title Prevalence of smoking in Ministry of defence Field Social-Psychology Name AVM Rojaraekha Benjakul Course NDC Class 57 Cigarette smoke contains many harmful toxins. It affects on human health, not only to the smoker himself but also to whom nearby inhaling secondhand smoke. Purpose of this study is to explore the prevalence rates of smoking among all personnel in Office of Permanent Secretary for Defence (OPSD) including their attitude and knowledge about the consumer protection act 1992. The finding can be attributed to establish a guideline in planning OPSD to be a non-smoking zone in future. The survey sample included participants of any ranks serving in OPSD with valid questionnaires. Regarding smoking, it showed that 1,008 personnel (25.2%) reported having smoked while 2,985 personnel (74.8%) are non-smokers. Majority in a smoking group are males, noncommissioned officers, received less than a bachelor's degree. Moreover, environmental factor has a direct influence on their behavior smoking habits. They can be affected by family and co-worker members who smoke at home and workplace, respectively. After all, they then inhale same smoke 7 days a week. Officers in smoking group also recognize the regulation of smoking in workplace but their attitude towards consumer protection act is less than those in non-smoking group. Nevertheless, they are willing to quit smoking. The results of this study suggest 5 main issues. The policy of government sector must be clear and persistent. The consumer protector act 1992 should be followed by providing proper smoking area and smoking in only smoking zones must be strictly controlled. Lastly, understanding of rights/regulations, in order to protect non-smokers, should be promoted. Laws banning smoking in public placesare able to make OPSD smoke-free and help to improve officer health.