Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย ด้านการส่งกำลังบำรุงร่วม

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
นักศึกษาวิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ ๖๕ (สิงโต)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2567
จำนวนหน้า:
144
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง โดย : แนวทางการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติการร่วมกองทัพไทยด้านการส่งกำลังบำรุงร่วม : นักศึกษาวิทยาลัยเสนาธิการทหาร กลุ่มสิงโต สาขาวิชา : ด้านการส่งกำลังบำรุง อาจารย์ที่ปรึกษา : นาวาอากาศเอก (อาทิตย์ เจนจบสกลกิจ) กรกฎาคม ๒๕๖๗ คำสำคัญ : การส่งกำลังบำรุง, การส่งกำลังบำรุงร่วม, หลักนิยม, การปฏิบัติการร่วม, กองทัพไทย งานวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติการร่วมกองทัพไทยด้านการส่งกำลังบำรุงร่วม ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับแนวความคิด ทฤษฎี ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงแนวทาง ในการพัฒนาหลักนิยมด้านการส่งกำลังบำรุงร่วมของกองทัพไทย เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับกองทัพไทย ในการปฏิบัติการด้านการส่งกำลังบำรุงร่วมในยามปกติและยามสงคราม ช่วยให้กองทัพสามารถดำเนินการ ได้อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ ภายใต้ระบบการบริหารงานที่ได้รับการยอมรับความเป็นสากล การพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมทางการทหารที่ก้าวล้ำ และการวางระบบส่งกำลังบำรุงที่เพียบพร้อม ไปด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย รวมถึงกำลังพลหรือบุคลากรที่มีทักษะความชำนาญการเฉพาะทาง ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี โดยใช้การค้นคว้า ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาหลักนิยมด้าน การส่งกำลังบำรุงร่วมนี้ ใช้วิธีการค้นคว้า ศึกษา วิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การค้นคว้า ศึกษา วิจัย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการประชุมสัมมนา เชิงปฏิบัติการ (Focus Group Interview) ต่อบุคลากรภายในกองทัพและนอกกองทัพที่มีคุณวุฒิ และความเชี่ยวชาญด้านการส่งกำลังบำรุงร่วมมาให้ความคิดเห็น เพื่อนำไปเป็นสารตั้งต้นในการใช้วิเคราะห์ และค้นหาแนวทางในการกำหนดหลักนิยมที่เหมาะสมต่อกองทัพไทยในอนาคตต่อไป ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๓ ท่าน และผลการจัด ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการต่อบุคคลากรในระดับผู้ปฏิบัติงาน จำนวน ๓๓ ท่าน พบว่าทั้ง ๒ ส่วน ให้ความคิดเห็นตรงกันเกี่ยวกับหลักนิยมด้านการส่งกำลังบำรุงร่วมของกองทัพไทยที่มีความล้าสมัย สมควรพัฒนาปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัยคุกคามในปัจจุบัน โดยควรเน้นการพัฒนา เทคโนโลยี อุตสาหกรรมทางการทหารให้มีขีดความสามารถทัดเทียมอารยประเทศ การพัฒนาระบบ โครงสร้างพื้นฐานให้พร้อม มีเครื่องมือ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่คร งอำนวยความสะดวกที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ การพัฒนาระบบการบูรณาการทางการแพทย์ เพื่อให้หน่วยรักษาพยาบาลทุกหน่วย มีบุคลากรที่เปี่ยมด้วย คุณสมบัติในปริมาณที่เพียงพอ ครบทุกสาขาวิชาเฉพาะทาง มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความละเอียด แม่นย้า และทันสมัย โรงพยาบาลสามารถรองรับผู้ป่วยต่อวันได้ในปริมาณมาก มีขีดความสามารถในการ สนับสนุนเมื่อเกิดภัยพิบัติหรือภัยคุกคามขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาระบบการระดม สรรพกำลังและทรัพยากร เพื่อให้กองทัพได้รับการสนับสนุนกำลังพลที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสายงาน และได้รับการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อส่งต่อให้หน่วยที่ปฏิบัติการรบได้อย่างเพียงพอ ต่อเนื่องและ ทันเวลา การพัฒนาโครงการความร่วมมือทางด้านการส่งกำลังบำรุงร่วมกับมิตรประเทศ เพื่อให้กองทัพไทย มียุทโฮปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกองทัพ สามารถทำการผลิต ยุทโธปกรณ์ภายใต้ขีดความสามารถของตนเอง และการดำเนินการต่างๆ ไม่สร้างความขัดแย้ง และบาดหมางต่อกันในประเด็นเชิงกฎหมาย เป็นต้น การพัฒนาระบบการส่งกำลังบำรุง เพื่อให้รองรับ ต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์และอวกาศ โดยการจัดทำแผนการพัฒนาองค์กร ทั้งในเชิงโครงสร้างขององค์กร เชิงเครื่องมือ/อุปกรณ์ และเชิงบุคลากรที่มีขีดความสามารถพร้อม มีแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน สามารถปฏิบัติงานได้จริง การพัฒนาระบบการฝึกศึกษาของกำลังพลในเหล่าสาย และหน่วยส่งกำลังบำรุง เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ ขีดความสามารถ สามารถปฏิบัติงานได้ตามหน้าที่ความรับผิดชอบของตน และสามารถทำหน้าที่แทนบุคคลอื่นได้เมื่อจำเป็น การพัฒนาระบบงบประมาณด้านการส่งกำลังบำรุงร่วม ที่ต้องมีความโปร่งใส การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย พ.ร.บ. พ.ร.ก. ระเบียบและข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่รับผิดชอบควรพิจารณาทำการแก้ไข ปรับปรุง จุด/ประเด็นทีมีความ อ่อนไหว หรือบกพร่อง ไม่ชัดเจน และควรศึกษา หรือเตรียมการบริหารและการใช้จ่ายงบประมาณ กรณีเกิดสงครามเตรียมเอาไว้ด้วย ประเด็นสุดท้าย คือ การพัฒนาระบบส่งกำลังบำรุงโดยรวมให้เป็นแบบ DIGITAL HQ เพื่อให้หน่วยเหล่ามีระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัย การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีระบบ เกิดความละเอียด เข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ผู้บังคับบัญชาสามารถตรวจสอบสถานภาพสิ่งอุปกรณ์ ได้ตลอดเวลา และกำลังพลทุกส่วนมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการส่งกำลังบำรุงได้เป็นอย่างดี ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า งานวิจัยฉบับนี้จะสามารถใช้เป็นแนวทางให้กับกองทัพไทย เหล่าทัพ และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อทำการพัฒนาระบบการส่งกำลังบำรุงร่วมของหน่วยให้เป็นระบบที่สมบูรณ์ และสมจริง เกิดความพร้อมทั้งในด้านบุคลากร ด้านยุทโธปกรณ์และสิ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัย สามารถตอบโต้ ต่อภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบ และทุกระดับ การปฏิบัติงานมีความสะดวก รวดเร็ว และก้าวหน้าได้มากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมกำลัง และการใช้กำลังของกองทัพ รับมือต่อภัยคุกคามซึ่งเกิดขึ้น ในอนาคตต่อไป

abstract:

ABSTRACT Title : Guidelines for Developing a Manual for Joint Logistics operations of Royal Thai Armed Forces By : Student of Joint War College, Class 65, Lion Group Major Field: Logistic Research Advisor: Group Captain (Arthit Janejobsakonkit) July 2024 Keywords: Logistics, Joint Logistics, Doctrine, Joint Operation, Royal Thai Armed Forces Research on "Guidelines for Developing a Manual for Joint Logistic operations of Royal Thai Armed Forces" aims 1) to study concepts, theories, problems, obstacles and guidance for developing the current Joint Logistics Operation Doctrine of the Royal Thai Armed Forces 2) to prepare all services of the Royal Thai Armed Forces to perform logistics operation in synergy during peace and war time. The research utilizes qualitative research (Document research), in-depth interviews and Focus Group Interview focus group interviews with military and civilian experts in the joint logistics fields. The research intends to give an opinion to shape up the Royal Thai Armed Forces Joint Logistics Operation Doctrine in the near future. The result of in-depth interviews (13 logistic experts) and the focus group seminar which (11 officers from Directorate of Joint Logistics of the Royal Thai Armed Forces) turn up the same ways: the Royal Thai Armed Forces should update Joint Logistics Operation Doctrine and should implement important issues which are 1) future technologies 2) leveraging defence industries 3) improving main infrastructure to support logistics 4) integration of joint medical services 4) enhancing HADR capabilities to encounter with massive disaster 5) modernizing defence mobilization and managing international resources 6) collaboration in the logistics network 7) improving military procurement capabilities and 8) reviewing logistics laws. Final goal is to achieve SMART HQ in 2037 Our research group hopes that this research will be a guideline for the Royal Thai Armed Forces, armed forces, and other relevance agencies to understand and able to develop their joint logistics system to serve the Royal Thai Armed Forces in preparing military forces with coping with future threats.