Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาหลักนิยมการปฏิบัติการร่วมด้านกำลังพลของ กองบัญชาการกองทัพไทยปี ๒๕๕๐

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
นักศึกษาวิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ ๖๕ (หมู่ฉลาม)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2567
จำนวนหน้า:
152
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : แนวทางการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย ด้านกำลังพลร่วม โดย : นักศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหาร รุ่นที่ ๖๕ หมู่ฉลาม อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย: นาวาอากาศเอก (ปิยะ จารุอารยนันท์) กรกฎาคม ๒๕๖๗ เอกสารการวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการนำหลักนิยม การปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย พ.ศ.๒๕๕๐ ด้านกำลังพลร่วม มาปฏิบัติตามนโยบาย และเพื่อศึกษาแนว ทางการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย ด้านกำลังพลร่วม ในการนำมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ให้สามารถเผชิญกับความท้าทายและภัยคุกคามตามแบบ (Traditional Threat) และไม่ ตามแบบ (Non - Traditional Threat) ของสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน และในอนาคตที่มีการ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีการดำเนินการวิจัยใช้ศึกษา รวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In - Depth Interview) และการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Focus Group) จากผู้ให้ข้อมูลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัย เรื่องนี้ ในส่วนราชการต่าง ๆ ของกองทัพไทย ผลการวิจัยพบว่า ๑. สภาพปัจจุบัน การพัฒนาหลักนิยมการปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย พ.ศ.๒๕๕๐ ด้านกำลังพลร่วม ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง โดยมีเนื้อหาบางหัวข้อ ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ปัจจุบันของเหล่าทัพ ประเทศ และโลก เนื่องจากแต่ละเหล่าทัพมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยมากขึ้น มีระบบการสื่อสารที่ทันสมัยมากขึ้น รวมทั้งบริบทของการปฏิบัติการทางทหารแต่ละเหล่าทัพ มีการ เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการแก้ไขปัญหาไม่เสมือนจริง ปัจจุบันการฝึกปฏิบัติจริงมุ่งเน้นที่การปฏิบัติการ ร่วม ด้านการข่าวร่วม และการปฏิบัติการร่วม ด้านการยุทธร่วม เป็นสำคัญ แต่ในส่วนของการฝึก ปฏิบัติการร่วม ด้านกำลังพลร่วม นั้น ยังคงเป็นการฝึกปฏิบัติแบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะฉะนั้น ความเสมือนจริงและการสร้างความเข้าใจให้กับกำลังพล ยังมีไม่เพียงพอ ทั้งการฝึกยังมีลักษณะตัดตอน ทำให้การฝึกปฏิบัติให้ครบวงรอบกำลังพลในทุกรายละเอียด ไม่สามารถฝึกได้อย่างถ่องแท้และยังไม่ลง ในรายละเอียดเพียงพอ เพื่อจะเข้าใจทุกขั้นตอนการปฏิบัติ ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้หลักนิยมการ ปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย ด้านกำลังพลร่วม ของประเทศไทยมีความแตกต่างจากของกองทัพสหรัฐฯ คือ โครงสร้างกองทัพสหรัฐฯ มีลักษณะเป็นศูนย์รวมของการบังคับบัญชา ทำให้การปฏิบัติการร่วม การจัดกำลังพลที่เหมาะสม การทดแทนกำลังพลที่รวดเร็ว ทำให้กองทัพสหรัฐฯ ทำการรบได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ๒. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาหลักนิยมการปฏิบัติการร่วมด้านกำลัง พลของกองบัญชาการกองทัพไทย จากผลการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - Depth Interview) และการ สัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Focus Group) พบว่า การจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ ถือเป็นกลยุทธ์และ กระบวนการ ที่ทำให้บุคคลในองค์กรดำเนินการทำงานตามหน้าที่ของงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การคัดเลือกและการบรรจุบุคคลที่เหมาะสมกับหน้าที่ในการปฏิบัติงานมีผลต่อการพัฒนาหลักนิยมอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ มีการจัดการทรัพยากรมนุษย์อยู่แล้ว เช่น การดำเนินการรูปแบบ คณะกรรมการการคัดเลือกหรือการออกระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ แต่ละเหล่าทัพต้องมีแผนการพัฒนา การจัดการทรัพยากรมีผลต่อการพัฒนาองค์กรเป็นอย่างมาก ไม่ใช่เฉพาะเพียงหลักนิยม แต่ส่งผลต่อการ พัฒนาองค์กร หากแม้ระบบ/ หลักนิยม ตีเพียงใด แต่การคัดเลือกบุคคลทำได้ไม่ดี จะทำให้ระบบ/องค์กร ขาดการพัฒนาได้ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจุบันกำลังพลขาดทักษะ ดังนั้นจึงควรสร้างความคุ้นเคย เพื่อให้ กำลังพลมีความตื่นตัวกับสถานการณ์จริง และเพื่อสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติการร่วมและหน่วยงาน อื่นในระดับการระดมสรรพกำลังของชาติ ตั้งแต่ระดับผู้บังคับชาจนถึงเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติในสาขา วิทยาการที่มีความใกล้เคียงกัน ควรเพิ่มเติมการเรียนรู้ธรรมชาติการใช้กำลังรบของเหล่าทัพอื่น เพื่อที่จะ สามารถปฏิบัติการร่วมได้อย่างเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยการที่จะปฏิบัติการร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ จำเป็นต้องเข้าใจคุณลักษณะของกำลังพลแต่ละเหล่าทัพในการสื่อสารให้เป็นเนื้อเดียวกันภายใต้ หลักนิยมและสภาวะแวดล้อมที่ใกล้เคียงกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ภารกิจหน้าที่ แต่ละส่วนงานที่เกิดขึ้นมีความชัดเจน กำลังพลมีความเข้าใจงานตามโครงสร้างของตนเอง ตามความ เหมาะสมของแต่ละตำแหน่งหน้าที่ อีกทั้งสามารถกำหนดเป้าหมายการทำงานในภาพรวมได้ อันจะ ก่อให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานต่อไป ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทาง เพื่อให้ได้แนวทางการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติการร่วมกองทัพไทย ด้านกำลังพลร่วม ไปสู่การปฏิบัติในระดับต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งสามารถ ประเมินผลการปฏิบัติตามแผนได้อย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบ สำคัญ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติ ดังนี้ ๑. มีระบบบริหารจัดการแผนที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการกำหนดยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ และกิจกรรมการพัฒนากำลังพลกองทัพไทย การกำหนดห้วงระยะเวลาการปฏิบัติตามแผนที่ชัดเจน ๒. หน่วยขึ้นตรงกองทัพไทยที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในกระบวนงานการพัฒนากำลังพลใน ทุกเหล่าทัพ ๓. มีการประชุมสัมมนาในการสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกัน ในการดำเนินงานด้านการพัฒนา กำลังพลกองทัพไทย เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ ๔. มีกลไกการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติตามแผน เพื่อติดตาม ประสานงาน ประเมินผลการปฏิบัติตามแผนอย่างต่อเนื่อง และสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จ

abstract:

ABSTRACT TITLE : Guidelines for Developing a Manual for joint personnel operations of Royal Thai Armed Forces By : Students of the Military Staff Course, Class 65, Shark Group. Research Advisor: Group Captain (Piya Jaruarayanun) July 2024 The purpose of this research document is to study the problems and obstacles in applying the principles of joint operations of the Royal Thai Armed Forces in 2007 in the area of joint personnel. Let's follow the policy. And to study guidelines for developing a manual for joint operations principles of the Royal Thai Armed Forces. Joint personnel to improve and develop continuously. To be able to face challenges and threats according to traditional (Traditional Threat) and non-traditional (Non - Traditional Threat) of the current environment. And in the future that is changing rapidly. This research is qualitative research. The research method used to collect information from related documents (Documentary Research), in-depth interviews and group interviews with informants involved in this research study. In various government agencies of the Thai Armed Forces. The research results found that 1. Current condition: Development of the principles of joint operations of the Royal Thai Armed Forces 2007 in the area of joint personnel. Not consistent with the actual situation with some content topics. That is not consistent with the current situation of the army, country, and world because each army has more modern weapons and equipment. There is a more modern communication system. Including the context of military operations of each army. There has been a change. Including solving problems that are not realistic. Currently, hands on training focuses on joint operations. Joint news and joint operations the aspect of joint operations is important, but in the area of joint operational training. As for the joint personnel, it is still an exercise in solving immediate problems. Therefore, it is realistic and creates understanding for the personnel. There's still not enough. The training also has a cutting aspect. Make the training practice cover the personnel in every detail. It cannot be practiced thoroughly and is not detailed enough. In order to understand every step of the procedure for that reason therefore making the principles of joint operations with the Thai Army Joint personnel Thailand's army is different from that of the United States Army, namely the structure of the United States Army. It has the characteristics of being the center of command. Make joint operations proper organization of personnel rapid replacement of personnel make the US Army Fight effectively. 2. Human resource management that affects the development of the principles of joint personnel operations of the Royal Thai Armed Forces Headquarters. From the results of the in-depth interviews (In Depth Interview) and group interviews (Focus Group), it was found that human resource management. It is considered a strategy and process. That allows people in the organization to carry out their work duties with maximum efficiency. The selection and placement of individuals who are suitable for their duties has a great impact on the development of principles. At present, various agencies already have human resources management in place, such as implementing a selection committee or issuing various regulations. Each army must have a development plan. Resource management has a great impact on organizational development. It's not just the principles. But it affects the development of the organization. If, no matter how good the system/ principles are, the selection of people is not done well, it will cause the system/ organization to lack development. It was also found that at present, the personnel lacks skills. Therefore, it is important to build familiarity. To make the personnel aware of the real situation and to create understanding of joint operations and other agencies at the level of mobilizing national forces. From the level of commanders to officers operating in similar fields of science. There should be additional learning about the nature of the use of combat forces by other armies. In order to be able to work together and understand each other. By being able to work together effectively It is necessary to understand the characteristics of each army's personnel in order to communicate uniformly under the same principles and environment as possible. The results of this research indicate that the missions and duties of each department are clear. Personnel have an understanding of work according to their own structure. According to the suitability of each position and duty. In addition, you can set overall work goals which will cause further increase in efficiency in operations The researcher has suggested guidelines. To obtain guidelines for developing a manual for joint operations principles of the Royal Thai Armed Forces Joint personnel to be implemented at various levels efficiently and effectively Including being able to clearly evaluate the results of the implementation of the plan Therefore, it is necessary to focus on factors that are important components. that will lead to success in performing the following 1. There is an efficient plan management system. By setting strategies, plans, projects and activities to develop the Royal Thai Armed Forces personnel. Setting a clear timeline for implementing the plan. 2. Relevant units directly under the Royal Thai Armed Forces participate in the personnel development process in all branches of the armed forces. 3. There are seminars to create mutual knowledge and understanding. in carrying out the development of personnel in the Royal Thai Armed Forces to support driving the plan into action. 4. There is a mechanism to monitor and evaluate the performance of the plan in order to continuously monitor, coordinate and evaluate the performance of the plan and create indicators to measure success.