Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนชลราษฎรอำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

หมวดหมู่:
งานวิชาการ
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
คณะผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รุ่นที่ ๑๑ กลุ่มที่ ๒
หน่วยงานเจ้าของ:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
ปีที่พิมพ์:
2567
จำนวนหน้า:
70
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนชลราษฎรอำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ผู้ศึกษา คณะผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคงสำหรับ ผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รุ่นที่ ๑๑ กลุ่มที่ ๒ การศึกษา เรื่อง แนวทางการป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา : กรณีศึกษา โรงเรียนชลราษฎรอำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนชลราษฎรอำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ๒) เพื่อพัฒนาแนวทางป้องกัน การสูบบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนชลราษฎรอำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยการศึกษาแบ่งออกเป็น ๒ ตอน ตามวัตถุประสงค์ของ การศึกษา กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ โรงเรียนชลราษฎรอำรุง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำนวน ๓๔๔ คน และนักเรียนสภานักเรียน จำนวน ๔๐ คน สถิตที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสรุปผลได้ดังนี้ ๑. สภาพปัญหาการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษากรณีศึกษาโรงเรียนชลราษฎรอำรุง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง พบว่า สภาพปัญหาการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ในสถานศึกษา ๑.๑) ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของบุหรี่ไฟฟ้ามากน้อยเพียงใด พบว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ๑.๒) ด้าน นักเรียนเกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างไร พบว่า นักเรียนเกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ในภาพรวม อยู่ในระดับน้อย และ ๑.๓) นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ในสถานศึกษาอย่างไร พบว่า นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ๒. แนวทางการป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จากประเด็นข้อคำถามในการสัมภาษณ์ โดยกิจกรรมปฏิบัติการจิตวิทยา พบว่า แนวทางในการป้องกัน การสูบบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา โดยเรียงลำดับจากจำนวนกลุ่มที่ตอบคำถาม ได้แนวทาง ดังนี้ ๑) กลยุทธ์การกำหนดนโยบายและการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ “โรงเรียนปลอดบุหรี่ไฟฟ้า” ๒) การสร้าง เครือข่ายความร่วมมือกันป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ๓) การประชาสัมพันธ์

abstract:

Abstract Title: Guidelines for Preventing E-cigarette Smoking in Educational Institutions: A Case Study of Chonradsadorn umrung School, Chonburi Province under the Chonburi Secondary Education Area Office, Rayong Name The Group of Workshop Participants Security Psychology Course for Educational Institutions Administrators Office of the Basic Education Commission, Class 11, Group 2 Study of the subject Guidelines for preventing e-cigarette smoking in educational institutions: A case study of Chonradsadorn umrung School, Chonburi Province under the Chonburi Secondary Education Area Office, Rayong, aims to: 1) study the problem of e-cigarettes in educational institutions; Case study of Chonlarat Ramrung School, under Chonburi Secondary Education Area Office, Rayong 2) To develop guidelines to prevent e-cigarette smoking in educational institutions. Case study of Chonlarat Ramrung School, under the Chonburi Secondary Education Area Office, Rayong The study is divided into 2 parts according to the objectives of the study. Chon Rat Ramrung School, Chonburi Province, under the Chonburi Secondary Education Area Office, Rayong, The target group consisted of 344 secondary grade 1- 6 students for answering the questionnaire and 40 students council for group interview. The statistics used in the study were mean and standard deviation. The results of this research were: 1. The problem of e-cigarettes in educational institutions Case study of Chonradsadorn umrung School Under Chonburi, Rayong Secondary Education Area Office. 1.1) Knowledge and understanding about the harms of e-cigarettes It was found that the overall level was very high, 1.2) How do students relate to e-cigarettes? It was found that the overall picture was low 1.3) Students involved in building a network to prevent e-cigarette smoking in educational institutions found that the overall and individual aspects were at a high level. 2. Guidelines for preventing e-cigarette smoking in educational institutions by interviewing a sample of subjects from the question points in the interview by the psychological operations activity, it was found that the guidelines for preventing e-cigarette smoking in educational institutions in order of the number of groups answered the questions. 1) Strategies for policy formulation and implementation; "Smoke-free schools" 2) Creating a collaborative network to prevent e-cigarettes 3) Public relations.