เรื่อง: แนวทางการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร
|
หมวดหมู่:
|
งานวิชาการ
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
คณะผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รุ่นที่ ๑๑ กลุ่มที่ ๑
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
|
ปีที่พิมพ์:
|
2567
|
จำนวนหน้า:
|
120
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของ โรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ผู้วิจัย คณะผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคงสำหรับ ผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รุ่นที่ ๑๑ กลุ่มที่ ๑
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการสร้าง คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ ๒) สร้างและประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ และ ๓) เสนอแนวทางการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ โดยมี ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ตัวแทนนักเรียนที่เป็นกรรมการ สภานักเรียน และหัวหน้าห้อง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๒๐ คน และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน ๓๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ๑) แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง ๒) แบบประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ และ ๓) แบบประเมิน การตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาแนวทางการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัยนี้ พบว่า
๑. การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านใฝ่เรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก และมีพฤติกรรมด้านคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ทุกด้านอยู่ในระดับมาก และในส่วนของกระบวนการสร้างความตระหนักรู้ การสร้างการมีส่วนร่วม และการสร้างเครือข่าย พบว่า มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน โดยตัวนักเรียนเอง เพื่อนนักเรียน ครอบครัว โรงเรียน มีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างคุณลักษณะ ด้านใฝ่เรียนรู้ให้กับนักเรียน
๒. ผลการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินผลการเรียนรู้คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ พบว่า นักเรียนรู้และเข้าใจพฤติกรรมการแสดงออกด้านใฝ่เรียนรู้สูงขึ้น เนื่องจาก เป็นกิจกรรม ที่นักเรียนได้ระดมความคิดเพื่อออกแบบการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการเรียนรู้ และได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
๓. แนวทางการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ พบว่า แนวทางทั้งในระดับ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องมีนโยบาย แผนงาน และกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะนิสัยใฝ่เรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีระบบและกลไก ในการสนับสนุน ส่งเสริม สร้างแรงจูงใจและบูรณาการทำงานแบบเครือข่าย ตลอดจนแนวทาง ในระดับปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ในส่วนของการสร้าง ความตระหนักรู้ต้องร่วมมือกันปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในส่วนของการสร้างการมีส่วนร่วมต้อง มีการสนับสนุน อำนวยความสะดวก และมีการกำกับติดตาม เพื่อให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์ กล้าที่จะลงมือทำ และในส่วนของการสร้างเครือข่ายต้องมีระบบและกลไกในการประสาน ความร่วมมือการสร้างแรงจูงใจและการธำรงรักษาให้ทุกคน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องผลักดันให้นักเรียน สามารถขยายเครือข่ายความรู้สู่สังคมได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข
ข
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย พบว่า
๑. กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรกำหนด นโยบายที่มีความเฉพาะเจาะจงในการสร้างคุณลักษณะด้านใฝ่เรียนรู้ให้บรรลุตามเป้าหมายของ การพัฒนาที่ยั่งยืน
๒. ผู้บริหารสถานศึกษา และครูควรส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนได้พัฒนาตนเอง เพื่อให้มีนิสัยใฝ่เรียนรู้พร้อมรับการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๓. นักเรียนและผู้ปกครองควรได้รับการสื่อสารสร้างความเข้าใจจากสถานศึกษาในเรื่อง การสร้างคุณลักษณะนิสัยใฝ่เรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
abstract:
Abstract
Title: Guidelines for Creating Desirable Characteristics in the Area of Avidity for learning towards Sustainable Development of Khlong Khlung Rat Rangsan School Under the Secondary Educational Service Area Office Kamphaeng Phet
Name The Group of Workshop Participants Security Psychology Course for Educational Institutions Administrators Office of the Basic Education Commission,
Class 1, Group 1
This research aimed to 1) study students' opinions on creating desirable
characteristics in the area of avidity for learning, 2) create and evaluate learning activities of desirable characteristics in the area of avidity for learning, and 3) offer guidelines for creating desirable characteristics in the area of avidity for learning. The research process was divided into 3 steps. The group of informants included student representatives who were student council members and classroom leaders including 20 students of Secondary 5 (Grade11), and 30 students of Secondary 1 (Grade 7). Tools used in data collection included 1) a structured interview form, 2) a learning activity evaluation form, and 3) an evaluation form to check the accuracy of the content of the guidelines for creating desirable characteristics in the area of avidity for learning. Statistics used in data analysis included percentage, mean, and standard deviation.
The research results indicated that;
1) The study of students' opinions on creating desirable characteristics in the area of avidity for learning was found that students had a high level of knowledge and understanding, and behavior in all aspects of desirable characteristics in desire to learn at a high level. The process of raising awareness creating participation and network creation was found having a continuous relationship with students themselves, peers, families, and schools participating in organizing the learning process to create learning characteristics for students.
2) The results of creating learning activities and evaluating learning outcomes for desirable characteristics in the area of avidity for learning found that students knew and understood the behavior of expressing their desire to learn more because this was an activity in which students brainstorm to design and create learning activities on their own, which made students satisfied with the learning process. and got results according to the goals set.
3) The guidelines for creating desirable characteristics in the area of avidity for learning found that guidelines at both the policy level of the Ministry of Education and the Basic Education Commission Office emphasized the necessity for policies, plans, and activities aimed at desirable characteristics in the area of avidity for ง
learning to be sustainable development. These initiatives were underpinned by systems and mechanisms to support, promote, incentivize, and integrate networked work. Practical guidelines pertaining to school administrators, teachers, parents, and students highlight the collaborative efforts required for knowledge cultivation. There was a call for genuine and continuous collaboration in promoting awareness, supported by facilitation and monitoring, to instill analytical thinking processes and encourage proactive engagement. Moreover, in network building, systems and mechanisms for coordination were essential to ensure cohesive efforts, motivation, and sustained involvement from all stakeholders, empowering students to extend knowledge networks creatively and joyfully into society.
Based on the major findings, it was recommended as follows:
1) The Ministry of Education and the Office of the Basic Education Commission should set policies that are specific in creating learning characteristics to achieve the goals of sustainable development.
2) Educational institution administrators and teachers should encourage and support students to develop themselves so that they have the habit of learning and get ready to adapt and change towards sustainable development.
3) Students and parents should receive communication to create understanding from educational institutions regarding the development of learning-minded character traits in order to improve the quality of life and live happily in society.