Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การศึกษากระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเยาวชนนอกระบบการศึกษา เพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมยั่งยืน

หมวดหมู่:
งานวิชาการ
มิติ:
มิติการศึกษา/Education
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
คณะผู้เข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง รุ่นที่ ๑๒๔ กลุ่มที่ ๒
หน่วยงานเจ้าของ:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
ปีที่พิมพ์:
2567
จำนวนหน้า:
104
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ เรื่อง การศึกษากระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเยาวชนนอกระบบการศึกษา เพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมยั่งยืน ผู้ศึกษา คณะผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง รุ่นที่ ๑๒๔ กลุ่มที่ ๒ สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ มีนโยบายที่มุ่งสร้างความมั่นคงของชาติ โดยเน้นการปฏิบัติการจิตวิทยา และได้ให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชน ให้มี การปรับเปลี่ยนการคิด ทัศนคติและพฤติกรรม เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ผ่านมาคณะนักศึกษาหลักสูตรพัฒนาสัมพันธ์ระดับผู้บริหาร รุ่นที่ ๑๕ (พสบ.๓๕) ได้ทำการศึกษาการ จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้เป้าหมายที่ ๔ ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ การสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพครอบคลุมและเท่าเทียมและสนับสนุนโอกาสในการ เรียนรู้ตลอดชีวิต และได้สรุปข้อค้นพบว่า การเสริมสร้างให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ตลอดชีวิตนั้น จำต้องสร้างให้เยาวชนเกิดความตระหนักรู้ ให้เยาวชนได้มีส่วนร่วม และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ กลุ่มวิชาการ ๒ จึงดำเนินการศึกษาเพื่อต่อยอดข้อค้นพบดังกล่าว โดยมุ่งค้นหาแนวทางการสร้าง ความตระหนักรู้ การมีส่วนร่วม และการสร้างเครือข่ายในการเรียนรู้ของเยาวชน โดยได้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย เป็นเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ ตลอดชีวิตเป็นการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อให้เยาวชนนอกระบบการศึกษาได้มีอาชีพ มีงานทำ กลุ่มวิชาการ ๒ ได้เลือกศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ศึกษา เนื่องจากศูนย์แห่งนี้เป็นสถานที่ฝึกอบรม ด้านการเกษตรแบบครบวงจรให้กับเยาวชนและประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง เป็นหนึ่งในโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำรี ของในหลวงรัชกาลที่ ๔ วัตถุประสงค์ของการศึกษา ๓ ประการ ได้แก่ ๑) ศึกษารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตลอดชีวิตของเยาวชนนอกระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมยั่งยืน ๒) สร้างและประเมินผล การฝึกอบรมเรื่องการสร้างการเรียนรู้ให้เยาวชนเพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมยั่งยืน และ ๓) ศึกษาความ คิดเห็นของเยาวชนที่มีต่อแนวทางการสร้างความตระหนักรู้ การมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายในการ เรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมยั่งยืน การศึกษาใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพและการปฏิบัติการแบบมี ส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ โครงการฝึกอบรม และการประชุมแบบมีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกฯ อาจารย์และวิทยากรประจำศูนย์ฝึกฯ จำนวน ๕ คน และ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสัตหีบ และเยาวชนนอกระบบการศึกษา อายุระหว่าง ๑๕ ถึง ๒๕ ปี จํานวน ๒๕ คน ผลการศึกษาในด้านการสร้างความตระหนักรู้ พบว่า ความตระหนักรู้ของเยาวชนเกิดจากการ เรียนรู้ที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ และการถูกกระตุ้นด้วยการใช้สื่อดิจิทัลที่มีเนื้อหาที่น่าสนใจ รวมถึงการที่ เยาวชน สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งประเด็นเหล่านี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่สถานศึกษาจะต้อง คำนึงถึงและมีการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ Active Learning หรือการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ ในประเด็นการมีส่วนร่วมของเยาวชนนั้น พบว่าพวกเขาต้องการพื้นที่เสนอหัวข้อที่สนใจและต้องการเรียนรู้ ในเรื่องที่สนใจ ดังนั้น หน่วยงานหรือองค์กรที่จะสร้างกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการ พัฒนาอาชีพเกษตรกรรมยั่งยืนต้องเปิดโอกาสให้เยาวชนมีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็นเพื่อกำหนดหลักสูตร และกิจกรรม ให้ตรงความต้องการเรียนรู้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ในด้านการสร้างเครือข่ายการ เรียนรู้ เยาวชนเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างเครือข่ายในชุมชนและผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย การศึกษา พบว่าศูนย์ฝึกฯ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) และ ใกล้ชุมชน มีความพร้อมเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้วยจุดเด่นของหลักสูตรที่เน้นการปฏิบัติจริง ความ น่าเชื่อถือและความสำคัญของโครงการในพระราชดำริฯ มีทรัพยากรพร้อมทั้งแปลงสาธิตเกษตรธรรมชาติ ฐานการเรียนรู้ มีตลาดนัดเกษตรธรรมชาติซึ่งทำให้เกิดการรวมตัวกันของชุมชนและเป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงมีศักยภาพที่จะยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมยั่งยืนได้ ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ พบว่า กรมส่งเสริมการเรียนรู้ควรสนับสนุนให้ ยกระดับศูนย์แห่งนี้เป็น "ศูนย์เพื่อความเป็นเลิศด้านเกษตรกรรมยั่งยืน” ผู้บริหารศูนย์ฯ ต้องปรับภาพลักษณ์ ของศูนย์เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ตลอดจนยกระดับองค์ความรู้ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนวัตกรรม และจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนา อาชีพเกษตรกรรมยั่งยืน โดยมีวิสัยทัศน์และพันธกิจในการดำเนินงานแบบ "ทำได้จริง สร้างรายได้ รักษ์โลก ผู้บริโภคปลอดภัย"

abstract:

Abstract Title A Study on Lifelong Learning Processes of Out-of-School Youth for the Development of Sustainable Agriculture Careers Name Academic Group 2, the 124th Security Psychology Program, the Institute of Security Psychology, the National defense Studie Institute. The Institute of Security Psychology of the National Defense Studies Institute's policy focuses on national security by emphasizing psychological operations and prioritizing children and youth as target groups. The objective is to encourage changes in thinking, attitudes, and behaviors, fostering their involvement in sustainable national development. The students in the 15th Executive Development Relations Course studied lifelong learning for sustainable development, using the 4th Sustainable Development Goal (SDG), which aims to ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all. This study found that for youth to actively engage in lifelong learning, they must be made aware, given opportunities to participate, and have access to learning networks. Building on these findings, Academic Group 2 conducted further research, focusing on how to create awareness, encourage participation, and establish learning networks among out-of-school youth. The study aimed to guide lifelong learning towards the development of sustainable agriculture careers, ensuring these youths gain employment. The research was conducted at the Agricultural Training and Development Center, Wat Yannasangwararam Woramahawihan, a project under the Royal Initiative located in Bang Lamung District, Chonburi Province. This center was chosen due to its comprehensive agricultural training programs for youth and the public, and its connection to the late King Rama IX's initiatives. The research objectives include 1) to study the models of lifelong learning processes for out-of-school youth to develop sustainable agriculture careers, 2) to create and evaluate training programs focused on lifelong learning for sustainable agriculture, and 3) to explore youth opinions on the strategies for raising awareness, encouraging participation, and creating learning networks for sustainable agricultural careers. The study employed qualitative research methods and participatory action research, using interviews, training projects, and participatory meetings as tools. The key informants included the Director of the Training Center, 5 faculty members and trainers, the Director of the Sattahip District Learning Promotion Center, and 25 out-of-school youth aged 15 to 25. This study found that youth awareness was significantly influenced by hands-on learning and digital media with engaging content, alongside the practical application of knowledge in daily life. Educational institutions must incorporate active learning into their curricula to foster this kind of awareness. In terms of participation, youth expressed the desire for spaces where they can propose topics of interest and learn about subjects they are passionate about. Organizations promoting lifelong learning for sustainable agriculture must allow youth to contribute to curriculum and activity planning, ensuring the content is relevant and applicable. Regarding learning networks, youth emphasized the importance of bath community-based and online learning networks. The study highlighted that the Training Center, located in the Eastern Economic Corridor (EEC) near the community, is well-positioned to become a central hub for lifelong learning. Its strengths include hands-on curriculum, credibility, and the significance of the Royal Initiative, as well as resources like natural farming demonstration plots, learning bases, and the natural agriculture market, which serves as a community gathering point and tourist attraction.. In terms of the policy and practical recommendations, the Department of Leaming Promotion should support elevating the center to a "Center of Excellence in Sustainable Agriculture." The center's management should rebrand it as an accessible learning hub for all, update its knowledge base to keep pace with change, design innovative learning activities, and establish a lifelong learning network for sustainable agriculture, driven by the vision and mission of "Realistic, Profitable, Eco-friendly, and Safe for Consumers."