Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: เอกสารวิจัย (Research Paper) การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างเยาวชนไทยให้เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
อื่นๆ/Other
ผู้เขียน:
ศศย.สปท.
หน่วยงานเจ้าของ:
ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์
ปีที่พิมพ์:
2563
จำนวนหน้า:
118
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เอกสารวิจัย เรื่อง "การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างเยาวชนไทย ให้เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ" มีวัตถุประสงค์ ดังนี้(1) เพื่อศึกษาทัศนคติของเยาวชน ไทยต่อการเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ (2) เพื่อศึกษาแรงผลัก (Driving Force) ที่ส่งผลต่อทัศนคติของเยาวชนไทยในการเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างทัศนคติของเยาวชนต่อการเป็นพลเมืองที่ดี ของชาติ โดยใช้แรงผลัก (Dring Force) ที่เป็นตัวขับเคลื่อนผ่านการทำการทดลอง (Sandbox) กับกลุ่มเยาวชนตัวอย่าง เพื่อนำผลของการศึกษาไปเป็นแนวทาง ในการเสริมสร้างการเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ ผ่านการทดลองกิจกรรมในโครงการต้นแบบ การเสริมสร้างเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดี ภายใต้ประเด็นหลักคิดในเรื่อง "ชาตินิยม (Nationalism)" วิธีการดำเนินการศึกษา ผู้วิจัยได้แบ่งวิธีการศึกษาไว้ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การสำรวจทัศนคติของเยาวชน เรื่อง "ทัศนคติของเยาวชนไทยต่อ การเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ" เบื้องต้นนำแบบสอบถามไปตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหา (Content Validty) จากผู้พรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน มาวิเคราะห์สัชนี ความสอดคล้องระหว่างรายการข้อคำถามกับวัตถุประสงค์การวิจัยด้วยด้วยค่า IDC (Index of Item Objective Congruence) ได้ค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.0 และนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่มีสภาพใกล้เคียงกับจำนวน 30 คน ได้ค่าความเที่ยง (Reliability) เท่ากับ 0.82 โดยนำแบบสอบถามที่ได้ได้ไป ใช้กับกลุ่มเยาวชนตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี ที่กำลังศึกษาตั้งแต่กำลังศึกษา ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายไปจนถึงนักศึกษามหาวิทยาลัย ทั้ง 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยคัดเลือก โรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนนักเรียนและนักศึกษามากที่สุดในทั้ง 4 ภาค และเพื่อให้เกิดความหลากหลายของข้อมูลจึงพิจารณานักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิค และมหาวิทยาลัยราชภัฏในแต่ละจังหวัด ผ่านการคำนวณด้วยสูตรทาโร ยามาเน (Taro Yamane) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 399 คน รวบรวมข้อมูผ่าน Google Form ระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ - 31 มีนาคม 2564 โตยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งหมด 458 คน 2. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างกิจกรรมการปรับทัศนคติ (Workshop) กับผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษาและเยาวชน จำนวน 10 ท่าน เมื่อวันที่ 16 มีถุนายน 2564 ณ ท้องประชุม 1 ศูนย์ศึกษายุทธทรสพร์ สถาบันวิชาการ ป้องกันประเทศ โดยนำผลที่ได้จากแบบสอบถาม Google Form มาวิเคราะห์ เพื่อหาแรงผลักหรือปัจจัยสาเหตุ (Dning Force) ที่มีผลต่อทัศนศติของเยาวขนไทย 3. การทดลองทำกิจกรรม (Sandbox) กับกลุ่มเยาวชนตัวอย่าง โดยนำผล สรุปและแนวทางของการจัดกิจกรรมที่ใต้จาการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ มาทคลองใช้ เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างทัศนคติของเยาวชนในการเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ ณ เทศบาลเมืองแม่เที่ยะ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 1 กรกรกฎาคม 2564

abstract:

-