Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: เอกสารวิจัย (Research Paper) เรื่อง ความท้าทายตามแนวแม่น้ำโขง : ศึกษาเฉพาะกรณีพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสิ่งแวดล้อม/Environment
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
ศศย.สปท.
หน่วยงานเจ้าของ:
ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์
ปีที่พิมพ์:
2563
จำนวนหน้า:
190
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาความท้าทายตามแนวแม่น้ําโขง ศึกษาเฉพาะกรณี พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” โดยมีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาความท้าทายต่อความมั่นคง แบบองค์รวม ตามแนวแม่น้ําโขงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒) ศึกษาผลกระทบจาก ความท้าทายต่อความมั่นคงแบบองค์รวมทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ตามแนวแม่น้ําโขงในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓) ศึกษาแนวทางในการสร้างโอกาสและความร่วมมือต่อความมั่นคง แบบองค์รวม ตามแนวแม่น้ําโขงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ๔) ศึกษาแนวทางและ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อกองทัพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการรองรับกับความท้าทาย ต่อความมั่นคงแบบองค์รวม ตามแนวแม่น้ําโขงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผลการ วิจัยนี้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติภารกิจและอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษา ความมั่นคงของชาติ ทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และภาคประชาสังคม รวมทั้งองค์กร NGOs ที่เกี่ยวข้องบริเวณชายแดน ตามแนวแม่น้ําโขงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และนําข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ๑. ความท้าทายต่อความมั่นคงแบบองค์รวมตามแนวแม่น้ําโขง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑.๑ ความเชื่อมโยง (Connectivity) ได้แก่ (๑) การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานและเส้นทางคมนาคม (๒) กลไกความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง ยังคงพบอุปสรรคบางประการ (๓) การเข้ามาของเทคโนโลยี เช่น อากาศยานไร้คนขับ (Drone) (๔) ปัญหาจากการสร้างเขื่อน และ (๕) ปัญหาด้านสาธารณสุข ๑.๒ ปรากฏการณ์ทางสังคม (Phenomena) ได้แก่ (๑) สายสัมพันธ์ความเป็นบ้านพี่เมืองน้อง และ (๒) การเปลี่ยนแปลง เชิงวัฒนธรรมของชุมชนริมฝั่งโขง ๑.๓ สิ่งแวดล้อม (Environment) ได้แก่ (๑) การลดลง ของแม่น้ําโขง (๒) ปัญหาภัยแล้ง (๓) การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อาหาร (๔) ปัญหาความ ไม่ชัดเจนเรื่องเขตแดน โดยเฉพาะเรื่องเกาะดอน (๕) ปัญหาการดูดทราย (5) ปัญหาการแย่งชิง ทรัพยากรน้ํา และ (๒) การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรทางธรรมชาติ ๑.๔ การเคลื่อนย้าย (Mobility) ได้แก่ (๑) การค้าชายแดนและการเข้ามาของกลุ่มทุนต่างชาติ (๒) การลักลอบ นําเข้า-ส่งออกสินค้าผิดกฎหมาย (๓) การค้ามนุษย์ (๔) การหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย และ (๕) คนไร้รัฐไร้สัญชาติ ๒. ผลกระทบจากความท้าทายต่อความมั่นคงแบบองค์รวมทั้ง เชิงบวกและเชิงลบตามแนวแม่น้ําโขงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒.๑ ผลกระทบ เชิงบวก ได้แก่ (๑) ระดับน้ําในแม่น้ําโขงที่ลดลงส่งผลดีต่อการท่องเที่ยว (๒) นโยบายของประเทศ มหาอํานาจต่อประเทศเพื่อนบ้าน (๓) การสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อนบ้านและ (๔) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ๒.๒ ผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ (๑) ระดับน้ําในแม่น้ําโขงที่ลด ลง (๒) ปัญหาภัยแล้ง (๓) การสร้างเขื่อนของประเทศเพื่อนบ้าน (๔) เศรษฐกิจโลกที่ตกต่ํา (๕) การปรับเปลี่ยนนโยบายการนําเข้าสินค้าของประเทศมหาอําานาจ (5) นโยบายการต่างประเทศ ของประเทศมหาอํานาจ (๒) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (๔) การเปลี่ยนแปลงร่องน้ําลึก (๔) ปัญหากรรมสิทธิ์ในการครอบครองเกาะดอนที่เกิดขึ้นใหม่ (๑๐) การระเบิดเกาะแก่งหินธรรมชาติ ตามแนวแม่น้ําโขง (๑๑) การสร้างสะพานข้ามแม่น้ําโขง ๓. แนวทางในการสร้างโอกาสและความ ร่วมมือต่อความมั่นคงแบบองค์รวม ๓.๒ ความร่วมมือภายในประเทศ ได้แก่ (๑) ความร่วมมือกับ หน่วยงานภายในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน (๒) ความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการศึกษา โดยมุ่งเน้นการค้นคว้าและวิจัยร่วมกัน และ (๓) การสร้างโครงข่ายความร่วมมือระดับชุมชน ๓.๒ ความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้แก่ (๑) ความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับหน่วยงานทาง ทหารของประเทศเพื่อนบ้าน (๒) ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐของไทยเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ตามแนวชายแดน (๓) ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างจังหวัด และแขวง (๔) ความร่วมมือด้านการศึกษา และ (๕) ความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลในการจัดการน้ําในแม่น้ําโขง ๔. แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อ กองทัพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการรองรับกับความท้าทายต่อความมั่นคงแบบองค์รวม ๔.๑ แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อกองทัพ (๒) กองทัพสามารถเข้ามามีส่วนในการ สนับสนุนขีดความสามารถโดยเฉพาะการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศ (๒) กองทัพ สามารถใช้ปัจจัยที่เกื้อกูล ได้แก่ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมมาพัฒนาความสัมพันธ์ ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน (๓) กองทัพสามารถเข้ามาร่วมบูรณาการในการจัดทําฐานข้อมูลด้าน ความมั่นคง เพื่อรับมือกับความท้าทายต่อความมั่นคง และ (๔) กองทัพสามารถเข้ามามีส่วนใน การเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมข่าวด้านความมั่นคงระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ๔.๒ แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๑) การดําเนินความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศในการลดโอกาสการนําปมทางประวัติศาสตร์ในอดีตมากระทบต่อความสัมพันธ์ ระหว่างกันในปัจจุบัน (๒) ภาครัฐควรสนับสนุนให้เกิดการพึ่งตนเองและปรับตัวด้านการประกอบ อาชีพบนฐานเศรษฐกิจชุมชนลุ่มแม่น้ําโขง (๓) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้ในเรื่องการ ปรับตัวด้านความมั่นคงด้านอาหารแก่ประชาชนในพื้นที่ และ (๔) ภาครัฐควรมีการจัดทําฐาน ข้อมูลด้านการบริหารจัดการในแม่น้ําโขงและแม่น้ําสาขา จากผลการศึกษาดังกล่าว ทําให้ได้ข้อเสนอแนะ ดังนี้ ๑. ข้อเสนอแนะสําหรับกองทัพ (๒) กองทัพควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน เพื่อการเฝ้าติดตามและรับมือกับ ความท้าทายในพื้นที่ตามแนวแม่น้ําโขง ในลักษณะศูนย์ปฏิบัติการร่วม (Joint Control and Cooperation Center) (๒) กองทัพสามารถเข้ามามีส่วนในการสนับสนุนขีดความสามารถ และงานในการพัฒนาประเทศ (๓) กองทัพควรมีการจัดตั้งช่องทางการสื่อสารในภาวะวิกฤติ (Crisis Communication) เพื่อลดข้อพิพาทในพื้นที่คลุมเครือ (Grey Zone conflicts) เช่น พื้นที่เกาะดอนและการปฏิบัติการตามลําแม่น้ําโขง เป็นต้น (๔) กองทัพควรดํารงความต่อเนื่อง ในการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและใช้ทักษะทางวัฒนธรรม และ (๕) กองทัพ ควรเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมข่าวด้านความมั่นคงระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ๒. ข้อเสนอแนะสําหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๑) ภาครัฐควรมีการริเริ่มและจัดตั้งประชาคม/ ภาคี เพื่อการบริหารจัดการแม่น้ําโขงและแม่น้ําสาขาอย่างยั่งยืนทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ (๒) ภาครัฐควรสนับสนุนให้เกิดการพึ่งตนเองและปรับตัวด้านการประกอบอาชีพบนฐาน เศรษฐกิจชุมชนลุ่มแม่น้ําโขง (๓) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้ในเรื่องการปรับตัวด้าน ความมั่นคงด้านอาหารแก่ประชาชนในพื้นที่ (๔) มีระบบการช่วยเหลือ ชดเชย เยียวยา ผู้ที่ได้ รับผลกระทบจากการพัฒนาแม่น้ําโขงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (๕) ภาครัฐควรนํา เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เข้ามาใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และเป็นฐานข้อมูลด้านการบริหารจัดการในแม่น้ําโขงและแม่น้ําสาขา และ (5) ควรมี การบูรณาการงานวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเชิงนิเวศของแม่น้ําโขง

abstract:

This research study the challenges along the Mekong River: a case study in the Northeastern region of Thailand which have objectives (1) to study the challenges of comprehensive security, (2) study the impacts from both positive and negative of comprehensive security challenges, (3) study approaches to create opportunities and cooperation towards comprehensive security, (4) study guidelines and policy recommendations for the military and related agencies to address the challenges of comprehensive security along the Mekong River in the Northeastern region. This study applies a qualitative research methodology and results are based on In-Depth Interviews and Focus Group. While, the sample is the related personnel who are in charge of the execution of missions and authorities in national security in terms of security, economy, society, culture, natural resources, environment and civil society as well as NGOs; along the Mekong River in the Northeastern region, consequently brought the collected data to process by Content Analysis technique. The findings reveal (1) Challenges of comprehensive security on (1.1) Connectivity which comprises of Infrastructure development and transport routes, Cooperation mechanisms in the Greater Mekong sub-region still encounter some obstacles, Entry of technology such as an unmanned aerial vehicle (drone) and Communicate, problems from dam construction and public health problems, (1.2) Social Phenomena consists of The relationship as sister cities and Cultural change in the community along the Mekong River, (1.3) Environment include Decreasing water level, Drought problems, Foodchain changes, Unclear boundaries especially on Don Island, Sand suction, Competition for water resources and Change of natural resources, and (1.4) Mobility contains Order trade and the entry of foreign capitalists, Smuggling-export of illegal goods, Human trafficking, Illegal escapism and Stateless person. On (2) the impacts comprehensive security challenges are divided into (2.1) Positive impacts consists of the decreasing water level in the Mekong River, the policies of major powers, the construction of bridges over the Mekong River, the explosion of natural rocky islands along the Mekong River and the technological advancement; (2.2) Negative impacts involve the decreasing water level in the Mekong River, Drought, Dam construction by the neighbouring countries, Worldwide economic depression, Import policy change of great powers, Policies of great powers, Technological advancement, Change of thalweg in the Mekong River, Ownership conflict of Don Island, Explosion of natural rock islands along the Mekong River and Bridge construction across the Mekong River. For (3) the Approaches to create opportunities and cooperation towards comprehensive security comprise (3.1) Cooperation within the country, including cooperation with domestic agencies, both public and private sectors, Collaboration with education agencies with a focus on providing support to the government sector to conduct research and cooperation with the community by creating a network of cooperation at the community level, and (3.2) International cooperation, namely formal cooperation with neighbouring countries’ military agencies. Cooperation with Thai government agencies to solve problems along the border and cooperation with neighbouring countries through cooperation mechanisms between provinces as well as Education cooperation with international organizations to exchange information on water management in the Mekong River and solving problems. And (4) the Guidelines and policy recommendations for the military and related agencies to address the challenges of comprehensive security involve (4.1) Guidelines and policy recommendations for the military consists of the military can play a part in building international trust, the military can use complementary factors such as race, religion, language and culture to develop relationships with neighbouring countries, the military can join the creation of the security database to confront the challenges to security and the military can take part in strengthening the security news community between Thailand and neighbouring countries, and (4.2) Policy guidelines and recommendations to relevant agencies include Implementation of international relations in reducing the past historical conflict that affect the current relationship, the government should promote self-sufficiency and employment adjustment on the Mekong Community Economic Base, Relevant agencies should educate people in the area of food security adaptation, the government sector should establish a database on the management of the Mekong River and its tributaries. Finally, the study results reach to (1) Recommendations for the military which contains (1.1) the military should support the establishment of a coordination centre to monitor and tackle challenges in areas along the Mekong River In the form of a Joint Control and Cooperation Center,(1.2) the military can take part in supporting the capacity and work in developing the country, (1.3) Establishing a Crisis communication channel to reduce Grey Zone conflicts such as Don Island conflict, (1.4) the military should maintain continuity in relations with neighbouring countries and utilising cultural skills. and neighbouring countries and use cultural skills, and (1.5) Strengthening the security news community between Thailand and neighbouring countries, as well as (2) Recommendations for related agencies involves (2.1) a community/ partner should be initiated and established for the sustainable management of the Mekong River and its tributaries. Both at the national and local level, (2.2) the government should promote self-sufficiency and employment adjustment on the Mekong Community Economic Base, (2.3) relevant agencies should educate people in the area of food security adaptation, (2.4) create a system to help compensate those affected by Mekong River development in the Northeastern region, (2.5) the public sector should apply Blockchain technology to drive information exchange and management database in the Mekong River and its tributaries, (2.6) academic work and research related to the ecological change in the Mekong River should be integrated.