Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: วารสารวิชาการป้องกันประเทศ ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
หน่วยงานเจ้าของ:
สำนักการศึกษาทหาร
ปีที่พิมพ์:
2567
จำนวนหน้า:
212
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทบรรณาธิการ ขอต้อนรับผู้อ่านทุกท่านสู่วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ฉบับนี้มุ่งเผยแพร่องค์ความรู้ในหลายมิติ ด้านความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความมั่นคงทางอาหาร ทรัพยากรน้ำ และการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ซึ่งล้วนเป็น รากฐานสำคัญในการรักษาเสถียรภาพและความยั่งยืนของประเทศในระยะยาว ปัญหาความมั่นคงทางอาหารและทรัพยากรน้ำกำลังทวีความสำคัญมากขึ้นในเวทีโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศและการขาดแคลนทรัพยากร ได้สร้างความท้าทายต่อระบบเศรษฐกิจ และสังคมในหลายประเทศ จากรายงานของ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) และสถาบันทรัพยากรโลก (World Resources Institute: WRI) ต่างชี้ชัดถึงความจำเป็นในการบริหารจัดการทรัพยากร เหล่านี้อย่างยั่งยืนเพื่อป้องกันผลกระทบที่รุนแรงในอนาคต ความท้าทายนี้ไม่เพียงส่งผลต่อความมั่นคงด้านทรัพยากร แต่ยังเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับความมั่นคงทางด้านสังคมและด้านการเมืองภายในประเทศ นอกจากการจัดการทรัพยากรแล้ว การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้าง ความมั่นคงของประเทศในทุกมิติ การเตรียมความพร้อมและการเพิ่มพูนทักษะของบุคลากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ซึ่งไม่อาจที่จะมองข้าม จากรายงานขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization: NATO) ได้เน้นย้ำว่าการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง จะช่วยเสริมศักยภาพในการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศจึงมุ่งเป็นเวทีสำหรับนักวิชาการ นักวิจัย และผู้ปฏิบัติงาน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างความร่วมมือในด้านการป้องกันประเทศ และความมั่นคงในทุกมิติ บทความในฉบับนี้ไม่เพียง สะท้อนถึงความหลากหลายทางวิชาการ แต่ยังนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และการปฏิบัติที่สามารถนำไปประยุกต์ ใช้จริง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการความมั่นคงที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องครอบคลุม ทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางทหารและการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม การศึกษา เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน และการป้องกันประเทศ ซึ่งผู้เขียนในวารสารฉบับนี้ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการพัฒนา ประเทศ บรรณาธิการ วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ-----------------------------------------------------------บทความพิเศษ • 34 ปี สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองวิทยาการ สำนักการศึกษาทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ • บทวิเคราะห์สมุดปกขาวป้องกันประเทศของญี่ปุ่นในปี 2024 ภูริภัทร โชติยากรกุล • คุณภาพของเยาวชนไทยผ่านผลสอบ PISA 2022 ชัชรินทร์ เลิศยศบดินทร์ บทความวิชาการ • มุมมองต่อสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ณัฐพล ช่วยศรีนวล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคลื่นเทระเฮิรตซ์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการป้องกันประเทศ : โอกาส ความท้าทาย และแนวทางการพัฒนา ปาณิศา ธีระรัตน์, พัฒน์ศรัญย์ เลาหไพบูลย์ และ อรณิชา คงวุฒิ • ปัญหาความมั่นคงทางอาหารของโลกกับโอกาสของประเทศ จารุพล เรื่องสุวรรณ และ พลอยนภัส โจววณิชย์ • การบริหารปกครองน้ำและแนวทางการประเมิน • ดุษฎี วรธรรมดุษฎี แนวทางการพัฒนาระบบจำลองสถานการณ์ระดับยุทธการร่วม (JTLS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการฝึก และวางแผนทางทหาร วุฒิรงค์ คงวุฒิ • ข้อคิดเห็นต่อประเทศและกองทัพไทยจากการเปลี่ยนผ่านสู่ความเท่าเทียมทางเพศของประเทศแคนาดา ธำรงชัย หนุนภักดี • การรักษาความปลอดภัยคลังกระสุนและวัตถุระเบิดแบบมีส่วนร่วมของกองทัพบก สรวิศ ธนาศตายุส และ พงศ์กุลธร โรจน์วิรุฬห์ • แนวทางศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการกักเก็บคาร์บอน ภาคป่าไม้ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จินตนา แสนวงค์ บทความวิจัย • การจัดทำแบบประเมินขีดความสามารถของกองทัพไทยในการป้องกันประเทศ ทักษิณ สิริสิงห, จุฬารัตน์ เพชรวิเศษ และ ภิรัญชญา อุไรรัตน์ ทักษะด้านพฤติกรรมกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา : การศึกษาเบื้องต้น ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พลพัต รัตนอนันต์ รู้ภาษาก้าวทันโลกกับสถาบันภาษากองทัพไทย ภาพกิจกรรมสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

abstract:

-