Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: วารสารวิชาการป้องกันประเทศ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2565

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
หน่วยงานเจ้าของ:
สำนักการศึกษาทหาร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
197
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทบรรณาธิการ สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน ด้วย 5 ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คณะผู้จัดทำวารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศขอน้อมรำลึก ในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ โดยตลอดระยะเวลากว่า 70 ปี ที่พระองค์ได้ทรงงานและบำเพ็ญ พระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขแห่งปวงพสกนิกร ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างอเนกอนันต์แก่ประเทศชาติ ทั้งยังได้พระราชทานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแนวทางให้อาณาประชาราษฎร์ ได้ดำเนินชีวิต โดยใช้ความรู้และสติปัญญาเป็นภูมิคุ้มกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ได้มีพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กำหนดว่า วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร เป็นวันชาติ และ เป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกด้วย ชาติไทยเรานั้นมีประวัติศาสตร์ยาวนานทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะเครื่องแต่งกาย ซึ่งบทความพิเศษ ได้เล่าความ เครื่องแต่งกายของเหล่าทหารราชวัลลภ ตั้งแต่ยุคที่สยามเริ่มมีการใช้เครื่องแบบอย่างตะวันตก กอปรกับกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประแทศ ได้จัดนิทรรศการ หมุนเวียน “ภูษณพาส ราชวัลลภ” ขึ้น จึงขอเชิญชวนท่านเยี่ยมชมได้ที่ อาคารต้อนรับ ภายในอนุสรณ์สถานแห่งชาติ จ.ปทุมธานี ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ เวลา 09.00-15.00 น. โดยไม่เสียค่าบริการ วารสารฉบับนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับความมั่นคง ทั้งมิติการทหารและการป้องกันประเทศ สังคมจิตวิทยา เศรษฐกิจ การศึกษา พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทธศาสตร์การค้าของประเทศไทย ในการใช้ประโยชน์จากเส้นทางรถไฟจีน-ลาว หรือ “รถไฟสายมังกร” การเชื่อมโยงระหว่างนโยบายกับการพัฒนา เส้นทางสายไหม ติดตามปัญหาในทะเลจีนใต้ที่ส่งผลกระทบถึงเสถียรภาพตลอดจนสันติภาพของภูมิภาค ส่วนการพัฒนาเครื่องมือและวิธีการสำหรับการเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวทางทหารตามแนวชายแดน ซึ่งอาจจะนำมาประยุกต์ใช้ตามแนวชายแดนของไทยได้ในอนาคต จากกรณีศึกษา แนวชายแดนยูเครนและรัสเซีย การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้จากผู้สอนที่มีบทบาทเป็นผู้ถ่ายทอด ปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ชี้แนะวิธีการ ค้นคว้าหาความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแสวงหาความรู้ และประยุกต์ใช้ทักษะต่าง ๆ ตลอดจนสร้างความเข้าใจ ด้วยตนเอง ตามรูปแบบจัดการเรียนรู้เชิงรุกออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน การบูรณาการนวัตกรรมเข้ากับ เทคโนโลยีอัจฉริยะมาสร้างเป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์ ในการสนองความต้องการเฉพาะและแก้ปัญหาเฉพาะ ของแต่ละชุมชน ในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม การสกัดแยกกลีเซอรีนโดยวิธีการตัวทำละลาย โดยใช้กรด เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมกับวิธีการกลั่นด้วยระบบสุญญากาศ ช่วยลดต้นทุนการผลิตไบโอดีเซลและผลิตไบโอดีเซล มากขึ้น จะทำให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานในชุมชนและประเทศชาติได้ หากท่านผู้อ่านมีข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาคุณภาพวารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบรรณาธิการวารสาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ขอน้อมรับด้วยความยินดียิ่ง รวมทั้งขอเชิญชวนท่าน ส่งบทความพิเศษ บทความวิจัยหรือบทความวิชาการ เพื่อเผยแพร่วิทยาการความรู้ในการยังประโยชน์ต่อหน่วยงาน สังคม และประเทศชาติต่อไป บรรณาธิการ วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ-----------------------------------------บทความพิเศษ • เกียรติภูมิ ภูษณพาส แห่งราชวัลลภ กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ บทความวิชาการ ความมั่นคงของชาติ กรณีศึกษาการกำหนดเขตความรับผิดชอบในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยาน ประสบภัยของประเทศไทย ธงชัย พงษ์วิชัย • ยุทธศาสตร์การค้าไทยผ่านเส้นทางรถไฟสายมังกร จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา และ พันธ์รบ ราชพงศา การพัฒนาเครื่องมือเพื่อการเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวทางทหารตามแนวชายแดนด้วยภาพถ่ายดาวเทียม และเทคนิคตรวจค้นการเปลี่ยนแปลงบนกูเกิลเอิร์ธเอนจิน กรณีศึกษา ความเคลื่อนไหวของกองกำลังทหารรัสเซีย ตามแนวชายแดนยูเครนและรัสเซีย พงศ์พันธุ์ จันทะคัต และ เยาวเรศ จันทะคัด • ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อมาตุภูมิน่าอยู่: จากอุดมคติสู่การปฏิบัติ ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ บทบาทได้หวันในทะเลจีนใต้ อัคพงษ์ สิทธิวงศ์ • การปฏิรูปกฎหมายการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร: การทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย และความสอดคล้องกับการปฏิรูปประเทศ พงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ • รูปแบบจัดการเรียนรู้เชิงรุกออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน คำนึง เจนการ และ สุชาดา นาวานุเคราะห์ • บทความวิจัย การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานในวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนช่างฝีมือทหาร ชั้นปีที่ ๒ มนธวัล สาทักรัมย์ • บทบาทของไทยและอาเซียนต่อยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมของจีน สุรินทร์ดา มะลิสุวรรณ • การพัฒนากรอบการกำกับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับบริบทของกองบัญชาการกองทัพไทย สุนทรี จำเริญ และ วศิณ ชูประยูร การพัฒนาการฝึกอบรมออนไลน์ เรื่อง อุดมการณ์ทางทหารและจิตอาสาเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกความเป็นทหารอาชีพ สังกัดกองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ทิพย์ธัญญา หิรัญฤทธิ์ และ สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา อักษราภัคส์ โกสินรุ่งเรือง การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ การรับรู้ การใช้ประโยชน์ และการมีส่วนร่วมของข้าราชการกองทัพอากาศ สันนิภา โลหะสุวรรณ์, ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว และ วราพรรณ อภิศุภะโชค การวิเคราะห์ปริมาณโลหะในกลีเซอรีนที่ได้จากการสกัดแยกด้วยตัวทำละลาย โดยใช้กรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ร่วมกับวิธีการกลั่นด้วยระบบสุญญากาศ พัดชา เพิ่มพิพัฒน์ คำแนะนำในการเตรียมบทความ ภาพกิจกรรมสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

abstract:

-