Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การใช้ภาษีสรรพสามิตเป็นกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อปรับประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ,(วปอ.10321)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ,(วปอ. 10321)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การขับเคล่ือนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อปรับประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่่า ด้วยภาษีสรรพสามิต ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ช่ือ นายเอกนิต ิ นิติทัณฑ์ประภาศ หลักสูตร วปอ. รุ่นท่ี ๖๖ รายงานนี้น่าเสนอการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ภาษีสรรพสามิตเป็นกลไก ขับเคล่ือนยุทธศาสตร์ชาติสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่่าของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยติดอันดับ ๑ ใน ๑๐ ประเทศ ท่ีได้รับผลกระทบจากปัญหาส่ิงแวดล้อมสูงสุด ส่งผลกระทบอย่างมีนัยส่าคัญต่อ เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน โดยเฉพาะการเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานโลก ภายใต้ยุทธศาสตร์ ชาติ ๒๐ ปีและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี ๑๓ ท่ีมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว นอกจากนี้ ในการประชุม COP26 ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ (ค.ศ. ๒๐๕๐) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. ๒๐๖๘ (ค.ศ. ๒๐๖๕) พร้อมท้ังก่าหนดเป้าหมายการมีส่วนร่วมท่ีประเทศก่าหนด (NDC) ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ ๓๐ – ๔๐ ภายในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ (ค.ศ. ๒๐๓๐) ท้ังนี้ ข้อมูลล่าสุด ณ ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งภาคพลังงานและขนส่งเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลัก คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๙๖ ของการปล่อย ท้ังหมด รายงานนี้น่าเสนอการใช้ภาษีสรรพสามิตเป็นกลไกราคาคาร์บอนภาคบังคับในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๗ – ๒๕๗๒ (ค.ศ. ๒๐๒๔ – ๒๐๒๙) ซึ่งเป็นช่วงเปล่ียนผ่านก่อนการบังคับใช้ระบบซื้อขาย ใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ETS) ในปี พ.ศ. ๒๕๗๒ (ค.ศ. ๒๐๒๙) โดยเสนอให้จัดเก็บภาษี คาร์บอนจากสินค้าในพิกัดภาษีสรรพสามิต โดยเฉพาะในหมวดน้่ามันเช้ือเพลิงซึ่งปล่อยก๊าซ เรือนกระจกสูงถึง ร้อยละ ๓๗.๖ ของภาคพลังงานและขนส่ง หรือประมาณ ๙๘ ล้านตันคาร์บอน เทียบเท่า ซึ่งมาตรการนี้จะเป็นเครื่องมือส่าคัญในการสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพ ภูมิอากาศของประเทศไทย และเร่งการเปล่ียนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่่าสอดคล้องกับพันธกรณี ระหว่างประเทศภายใต้ข้อตกลงปารีส และแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ สามารถขยายขอบเขตการจัดเก็บภาษีคาร์บอนไปยังสินค้าอื่นๆ ท่ีมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในอนาคต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ

abstract:

ข Abstract Title The utilization of Excise tax as a mechanism to drive transitioning Thailand towards a low-carbon economy Field Economics Name Mr. Ekniti Nitithanprapas Course NDC Class 66 This study conducts an in-depth analysis of the application of excise tax as a mechanism to drive Thailand's national strategy towards a low-carbon economy. Thailand is currently ranked among the top 10 countries most affected by environmental problems, significantly impacting its economy, trade, and investment, especially in the context of being part of the global supply chain. Under the 20-Year National Strategy and the 13th National Economic and Social Development Plan, which aim for sustainable development, and BCG economy. Thailand set a Nationally Determined Contribution (NDC) to reduce GHG emissions by 30-40% by 2030. The country has also committed to achieving carbon neutrality by 2050 and net-zero GHG emissions by 2065 at COP26. As of 2019, the energy and transportation sectors were the primary sources of GHG emissions, accounting for 69.96% of total emissions. This study proposes the implementation mandatory carbon pricing mechanism under excise tax from 2024 to 2029, as a transitional period before the enforcement of the Emissions Trading System (ETS) in 2029. Specifically, it suggests imposing a carbon tax on goods under the excise tax code, particularly on fuels which account for 37.6% of GHG emissions in the energy and transportation sectors, equivalent to approximately 98 million tons of carbon dioxide. This measure will be a crucial mechanism to support Thailand's climate goals and accelerate the transition to a low-carbon economy, aligning with international commitments under the Paris Agreement and sustainable development principles. Moreover, it opens up opportunities to expand the scope of carbon tax imposition to other goods with high GHG emissions in the future, enhancing the effectiveness of reducing the country's greenhouse gas emissions.