เรื่อง: แนวทางการใช้เกษตรเพื่ออาหารกลางวัน (Farm School) ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียน,(วปอ.10320)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง อุดมพร เอกเอี่ยม,(วปอ. 10320)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เร่ือง แนวทางการใช้เกษตรเพื่ออาหารกลางวัน (Farm School) ในการพัฒนา
คุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียน
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นางอุดมพร เอกเอ่ียม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพ่ือศึกษาสภาพปัญหาที่ส่งผลกระทบด้านคุณธรรม
จริยธรรมของนักเรียน 2) เพ่ือวิเคราะห์กระบวนการด าเนินกิจกรรมเกษตรเพ่ืออาหารกลางวัน
และ 3) เพ่ือศึกษาแนวทางการใช้กิจกรรมเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
ของนักเรียนในโรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา พ้ืนที่จังหวัดหนองบัวล าภู และจังหวัดอุดรธานี
จ านวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองกุงแก้ว อ าเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล าภู
โรงเรียนบ้านหนองบ่อ และโรงเรียนบ้านดอนเดื่อ อ าเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี โดยผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย
นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และนักวิชาการ ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จ านวน 2 เครื่องมือ ได้แก่
แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มย่อย ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) สภาพปัญหา
ที่ส่งผลกระทบด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน มี 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านครอบครัว
ปัจจัยด้านโรงเรียน ปัจจัยด้านเพ่ือน และปัจจัยด้านอิทธิพลจากสื่อต่าง ๆ 2) กระบวนการด าเนิน
กิจกรรมเกษตรเพ่ืออาหารกลางวัน ของโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา มีการด าเนินการ
ที่เป็นขั้นตอน และมีส่วนร่วมกันระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา
และปราชญ์ชาวบ้าน โดยครูจะมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับนักเรียนในแต่ละชั้นปี
เพ่ือด าเนินการใน 3 กิจกรรมย่อย ได้แก่ การปลูกพืช การเลี้ยงปลา และการเลี้ยงไก่อารมณ์ดี
ซึ่งนักเรียนจะต้องด าเนินการตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งถึงขั้นการเก็บเกี่ยวผลผลิตและจัดจ าหน่าย
3) ผลที่ได้รับจากกิจกรรมเกษตรเพ่ืออาหารกลางวันของโรงเรียน พบว่า นักเรียนได้รับประโยชน์
จากกิจกรรมดังกล่าวทั้งทางตรง คือ โรงเรียนมีผลผลิต เพ่ือจัดท าเป็นอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน
นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมเกษตร
เพ่ืออาหารกลางวัน และประโยชน์ทางอ้อม คือ นักเรียนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
นักเรียนมีระดับคุณธรรมจริยธรรมตามระดับขั้นทฤษฎีของโคลเบิร์กอยู่ในขั้นที่ 4 ของการให้เหตุผล
เชิงคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งสูงกว่าระดับการให้เหตุผลตามช่วงวัยปกติ และ 4) แนวทางการใช้กิจกรรม
เกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน พบว่า ครูต้องมอบหมายหน้าที่
ความรับผิดชอบให้นักเรียนท ากิจกรรมเกษตรเพ่ืออาหารกลางวันอย่างพร้อมเพรียง และต้องท าหน้าที่
สร้างบรรยากาศที่ดีในการด าเนินกิจกรรม ให้ค าปรึกษา ไม่มีการต าหนิหรือลงโทษ และต้องคอยกระตุ้น
ให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นและความภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตนเอง
abstract:
ข
Abstract
Title Moral and Ethical Development in Student Using Farm School
Field Social - Psychology
Name Mrs. Udomporn Ake-iam Course NDC Class 66
This research has 3 objectives: 1) to study problems that effect moral and
ethical principles in Student 2) to study process of Farm School and 3) to find out
how to use Farm School to develop moral and ethical principles in students who
study in school in educational fund project in the area Nong Bua Lamphu province
and Udon Thani province. The sample group included students, parents, teachers
and academics. The research instruments were structured interview and focus group
interview. The research results are as followed: 1) Moral and ethical principles in
students were affected by 4 factors: Family, School, Friend and Media. 2) Farm School
in school in educational fund project has a step-by-step procedures which involve
students, teachers, parents, school boards and intellectuals to participate and work
together. The teacher will assign the student a task depending on which academic
year he or she is, in 3 activities; crops planting, fish farming and chicken farming
for eggs. The student must involve in every process from the beginning till the day
the products are on sale. 3) The results from Farm School were both direct and
indirect benefits to the student: the direct one was the school had food products
to prepare lunch for students, while students were strength and had a good health.
The indirect one was students’ behavior had changed in the better way. According
to Kohlberg's theory of moral development, students were at the 4th stage of moral
development called Law and Order Morality which is higher than the basic stage
of their age. And, 4) in order to develop moral and ethics in Student by using
Farm School properly and efficiently, the teacher had to create a good atmosphere
in doing activities, giving advices, without reprimanding or punishing and encourage
students to be enthusiastic in doing their jobs according to their own responsibilities.