Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับเยาวชนไทย กรณีศึกษาโครงการสร้างเด็กและเยาวชน รู้ รัก สามัคคี และสำนึกความเป็นไทย รุ่นที่ ๑ และรุ่นที่ ๒,(วปอ.10317)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย อาร์ม ทิพยจันทร์,(วปอ. 10317)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับเยาวชน ไทย : กรณีศึกษาโครงการสร้างเด็กและเยาวชนต้นแบบ รู้ รัก สามัคคี และ สำนึกความเป็นไทย รุ่น 1 และ รุ่นที่ 2 ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายอาร์ม ทิพยจันทร์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที ่66 การศึกษาวิจัยนี ้มีวัตถุประสงค์เพื ่อศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการจัด กิจกรรมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับเยาวชนไทยในโครงการสร้างเด็กและเยาวชนต้นแบบ รู้ รัก สามัคคี และสำนึกความเป็นไทย เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคของวิธีการจัด กิจกรรมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับเยาวชนไทยในโครงการสร้างเด็กและเยาวชนต้นแบบ รู้ รัก สามัคคี และสำนึกความเป็นไทย และเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาโครงการสำหรับการจัดกิจกรรม เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับเด็กและเยาวชนไทยในอนาคต ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูล และศึกษาข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-dept Interview) และแบบการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 25 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื ้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า โครงการนี้ต้องการให้มีเวทีสำหรับเด็กและเยาวชน ภายใต้ แนวคิด “รู้ รัก สามัคคี” มีรูปแบบการทำงานที่เปิดกว้างและไม่มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด ให้เด็กและ เยาวชนได้แสดงออกอย่างเต็มที่ เป็นการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมการและภาคี เครือข่าย มีพี่เลี้ยงในวัยใกล้เคียงกันช่วยในการสื่อสารและประสานงาน ตลอดจนนำผู้มีอิทธิพลบนสื่อ สังคมออนไลน์ (อินฟลูเอนเซอร์) มาให้ความรู้ในทุกช่วง ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ได้แก่ การ บริหารจัดการภายใต้ภาวะการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ช่วงอายุผู้เข้าร่วมโครงการ การ กระจายตัวของพื้นที่ดำเนินโครงการและระยะเวลาการดำเนินโครงการ ส่วนแนวทางการจัดกิจกรรม ในอนาคต ควรมีการวางแผนโดยพิจารณาบริบทสังคม ร่วมกับการปลูกฝังจิตสำนึก ภายใต้ สภาพแวดล้อมสำหรับการทดสอบ (Sandbox) การให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญในกิจกรรม “พี่ไม่ทิ้ง น้อง” การบูรณาในลักษณะการทำงานเป็นทีม และการผลักดันให้เกิดนโยบายภาครัฐ เพื่อให้เด็กและ เยาวชนกล้าแสดงออก มองเห็นและแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยการลงมือทำจริง อันจะนำไปสู่การเกิด ความภาคภูมิใจและการนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืนต่อไป ก

abstract:

Abstract Title Guidelines for Developing Activities to Instill Good Consciousness in Thai Youth: A Case Study of the Project to Create Role Models for Children and Youth who Knowing, Love, Unity and are Aware of Their Thai identity, Project 1 and Project 2 Field Social-Psychology Name Arm Thippayachan Course NDC Class 66 This research aimed to study and analyze the development guidelines for organizing activities to instill good conscience in Thai youth within the project designed to create role models among children and youth, emphasizing the values of knowing, love, unity, and Thai identity. Specifically, the study sought to (1) explore and evaluate the guidelines for effective activity organization, (2) identify and analyze the problems and obstacles encountered in these activities, and (3) propose future development guidelines for organizing such activities. Qualitative research was used to collect data and study information on the project to create children and youth role models, know, love, unity, and be aware of being Thai, or the “Dek (Show) D” project 1 and project 2, using in-dept interviews and focus group discussions with 25 key informants. The research results indicate that the project uses an open working format with no strict rules, collaborating closely with the committee and network partners. Mentors of similar ages and social media influencers facilitate communication and share knowledge. The research identified several problems and obstacles, including management challenges include COVID-19 management, diverse participant ages, geographic distribution, and project duration. For future approaches, the study suggests a socially aware approach, testing environment (Sandbox), expert advice through the “Older Siblings Do Not Abandon Younger one” activity, team integration, and supportive government policies. ข