Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการสมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการ : ศึกษากรณีนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ ๓,(วปอ.10312)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี อัฐพงศ์ พิชญาภรณ์,(วปอ. 10312)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการสมัครเข้าเป็นทหารประจำการ: ศึกษากรณี นักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ ๓ ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลตรี อัฐพงศ์ พิชญาภรณ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที ่ ๖๖ กระทรวงกลาโหมได้จัดทำยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ โดยจัดทำแผนพัฒนา บุคลากรที่กำหนดเป้าหมายในการบริหารจัดการกำลังพลแต่ละประเภทให้มีสัดส่วนที่สมดุล หลากหลาย สอดคล้องกับภารกิจของกองทัพ พร้อมที่จะก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัล ในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) และเมื่อพิจารณา ถึงความสำคัญของกำลังสำรอง ซึ่งจัดเป็นกำลังหลักในการปฏิบัติการรบโดยการขยายกำลังให้เต็มอัตรา ตามแผนป้องกันประเทศ การคัดเลือกกำลังพลสำรองเพ่ือบรรจุในหน่วยทหารจึงถือว่ามีความจำเป็น อย่างยิ่ง ทั้งนี้ นักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ ๓ บรรจุอยู่ในบัญชีบรรจุกำลังตาม พ.ร.บ.กำลังพลสำรอง พ.ศ.๒๕๕๘ จัดเป็นประเภทกำลังพลสำรองพร้อมใช้งาน ผ่านการปลูกฝังและเสริมสร้างอุดมการณ์ ความรักชาติ ศึกษาวิชาการทหาร ภารกิจกองทัพ ดังนั้น ความสำคัญของกำลังสำรองที่กล่าวมา ตลอดจนวัตถุประสงค์ของการวิจัย จำเป็นจะต้องศึกษาปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดแรงจูงใจที่เป็น ตัวกระตุ้นให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ ๓ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยในครั้งนี้ เกิดความสมัครใจที่จะเข้ารับราชการเป็นทหารประจำการ รวมทั้งเพ่ือนำเสนอแนวทางในการเพ่ิม สิทธิพิเศษสำหรับนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ ๓ ในการสมัครสอบคัดเลือกเข้ารับราชการในเหล่าทัพ ผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ โดยมุ่งเน้นศึกษาข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง และการวิจัยเชิงปริมาณที่มุ่งเน้นการจัดทำแบบสอบถามที่มี ประสิทธิภาพครอบคลุมทางด้านสังคมและจิตวิทยา เพ่ือสำรวจความคิดเห็นโดยตรงจากนักศึกษา วิชาทหาร ชั้นปีที่ ๓ โดยได้ทราบถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดแรงจูงใจ อาทิ การเพ่ิมแรงจูงใจด้านอัตรา เงินเดือน การปรับรูปแบบลำดับชั้นและสายการบังคับบัญชาให้มีระดับความเข้มงวดตามลักษณะงาน และขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน หลักการ และแนวทางด้านการจัดการ ทรัพยากรบุคคลโดยทั่วไป การสร้างหน่วยงานที่มีความทันสมัย ในการนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการ วิจัยครั้งต่อไป ควรจัดทำในลักษณะของโครงการวิจัยระยะยาวที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ การดำเนินงาน เปิดรับสมัครกลุ่มตัวอย่างที่มีความสนใจที่จะมีส่วนร่วมในการวิจัย โดยนำเสนอสิ่งที่ กลุ่มตัวอย่างจะได้รับจากการวิจัย อาทิ การศึกษาดูงานในหน่วยงานทหาร การฝึกงานในหน่วยทหาร เพ่ือให้เกิดความเข้าใจ การเข้าถึงอาชีพทหาร ส่งผลให้งานวิจัยประสบความสำเร็จและได้ผลลัพธ์ที่ตรง ตามวัตถุประสงค์ สามารถนำมาขยายผลและกำหนดทิศทางด้านทรัพยากรบุคคลของกองทัพได้

abstract: