Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการงานบำรุงทางบนโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน,(วปอ.10309)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย อรรถสิทธิ์ สวัสดิ์พานิช,(วปอ. 10309)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง แนวทางการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการงานบำรุงทางบนโครงข่ายทาง หลวงพิเศษระหว่างเมืองเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นายอรรถสิทธิ์ สวัสดิ์พานิช หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖ กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม มีภารกิจเกี่ยวกับ “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง การก่อสร้างและบำรุงรักษาทางหลวงให้มีโครงข่ายทางหลวงที่สมบูรณ์ครอบคลุมทั้งประเทศ” มีบริบทและ ทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ข้อมูลจากกองทางหลวงพิเศษระหว่าง เมือง (Motorway) ซึ่งรับผิดชอบดูแลทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง พบว่าค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทางมี แนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่ออัตราการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองมีความล่าช้า ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลง ขาดประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณในการบำรุงรักษา การบำรุงรักษาทางหลวงยังไม่สอดคล้องตามสภาพจริงในปัจจุบัน ในการศึกษานี้จึงได้วิเคราะห์ปัจจัยสภาพปัญหาของระบบการบำรุงรักษาทางหลวงที่มีผลต่อ ระบบการบำรุงรักษาทางบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลขสาย 7 และ 9 ในปัจจุบัน โดยใช้หลัก กระบวนการบริหาร 4 ด้าน และด้านดิจิทัล 1 ด้าน (4M+1D) พบว่า ยังไม่มีระบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพ่ืองานบำรุงรักษาทางมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม จากการศึกษารูปแบบเทคโนโลยี Digital Transformation ที ่เก ี ่ยวข้องกับระบบบริหารบำรุงทางในต่างประเทศ (Best Practices) พบว่าการใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) เป็นแนวโน้มของเทคโนโลยีในการวางแผนบำรุงรักษาให้ เกิดประสิทธิภาพ โดยผลการศึกษาจากต่างประเทศแสดงให้เห็นถึงการลดลงของค่าใช้จ่ายในการ บำรุงรักษาถึงร้อยละ 12 สอดคล้องกับผลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์สูง มีความเชี่ยวชาญ และ การบริหารงานในด้านการสำรวจประเมินและประมวลผลสำหรับจัดทำการบำรุงรักษาทางหลวงบนทาง หลวง ที่มีความเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยี AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการบำรุงทาง นำไปสู่การใช้ เงินทุนหมุนเวียน ให้มีประสิทธิภาพ และมีศักยภาพในการขยายโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ ซึ่งจากการศึกษานี้ได้สรุปแนวทางการกำหนดแผน ดำเนินการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารบำรุงทางด้วยเทคโนโลยี AI มาใช้ในระยะต่างๆ (Action Plan) ได้แก่ ระยะสั้น (1-2 ปี) มุ่งเน้นการจัดทำระบบฐานข้อมูล พัฒนาระบบ AI สำหรับการ สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการเตรียมความพร้อมบุคลากร ระยะกลาง (2-5 ปี) มุ่งเน้นการพัฒนา ระบบ AI สำหรับการคาดการณ์และวางแผนการบำรุงรักษาทาง พร้อมพัฒนาระบบ AI สำหรับ ติดตาม การดำเนินงานและผลการบำรุงรักษาทาง และการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบุคลากร และระยะยาว (มากกว่า 5 ปี) มุ่งเน้นการนำระบบที่พัฒนาขึ้น ขยายผลกับเส้นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองอ่ืนๆที่กำลัง จะเปิดใช้งาน บูรณาการข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน เพิ่มประสิทธิภาพโดยการพัฒนา ระบบที่มีความสามารถในการเรียนรู ้และปรับปรุงตนเอง สร้างต้นแบบให้หน่วยงานอื ่นๆได้นำไป ประยุกต์ใช้งานต่อไป รวมถึงผลักดันการจัดตั้ง Big Data Center ของรัฐบาล เพื่อผนวกฐานข้อมูลขนาด ใหญ่สำหรับสนับสนุนการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศต่อไป

abstract: