สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute
NDSI- RASS
ระบบสืบค้นงานวิจัยและวิชาการ
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
คู่มือใช้งาน
Logout
Search
ค้นหา
Category
แสดงตามประเภท
แสดงทั้งหมด
งานวิจัย
งานวิชาการ
งานนวัตกรรม
เอกสารประกอบการศึกษาตามหลักสูตร
อื่น ๆ
แสดงตามปี
ปี พ.ศ. 2567
ปี พ.ศ. 2566
ปี พ.ศ. 2565
ปี พ.ศ. 2564
ปี พ.ศ. 2563
ปี พ.ศ. 2562
ปี พ.ศ. 2561
ปี พ.ศ. 2560
ปี พ.ศ. 2559
ปี พ.ศ. 2558
ปี พ.ศ. 2557
ปี พ.ศ. 2556
ปี พ.ศ. 2555
ปี พ.ศ. 2554
ปี พ.ศ. 2553
ปี พ.ศ. 2552
ปี พ.ศ. 2551
ปี พ.ศ. 2550
ปี พ.ศ. 2549
ปี พ.ศ. 2548
ปี พ.ศ. 2547
ปี พ.ศ. 2546
แสดงตามหน่วยงาน
แสดงทั้งหมด
สปท.
วปอ.สปท.
วสท.สปท.
สจว.สปท.
ศศย.สปท.
รร.ตท.สปท.
รร.ชท.สปท.
สศท.สปท.
แสดงตามสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์
แสดงทั้งหมด
Social-Psychology
Science and Technology
Economics
Strategy
Politics
Military
Education
Diplomacy
Information
Environment
not specified
แสดงตามหลักสูตรต่าง ๆ
แสดงทั้งหมด
หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร
หลักสูตรผู้นำพอเพียงด้านความมั่นคง
หลักสูตรเสนาธิการทหาร
หลักสูตรเสนาธิการร่วม
หลักสูตรนายทหารอาวุโส บก.ทท.
หลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง
หลักสูตรพัฒนาสัมพันธ์ผู้บริหาร
หลักสูตรนักยุทธศาสตร์
หลักสูตร รร.ตท.สปท.
หลักสูตร รร.ชท.สปท.
หลักสูตรจิตวิทยาความมั่งคง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานิ (สจว.สพฐ.
อื่น ๆ
Readed :
020656
Today :
000197
Total :
047637
Download :
000060
เรื่อง:
แนวทางการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการงานบำรุงทางบนโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน,(วปอ.10309)
Download
Open PDF
E-Book
หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย อรรถสิทธิ์ สวัสดิ์พานิช,(วปอ. 10309)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ
บทคัดย่อ:
ก บทคัดย่อ เร่ือง แนวทางการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการงานบำรุงทางบนโครงข่ายทาง หลวงพิเศษระหว่างเมืองเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นายอรรถสิทธิ์ สวัสดิ์พานิช หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖ กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม มีภารกิจเกี่ยวกับ “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง การก่อสร้างและบำรุงรักษาทางหลวงให้มีโครงข่ายทางหลวงที่สมบูรณ์ครอบคลุมทั้งประเทศ” มีบริบทและ ทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ข้อมูลจากกองทางหลวงพิเศษระหว่าง เมือง (Motorway) ซึ่งรับผิดชอบดูแลทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง พบว่าค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทางมี แนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่ออัตราการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองมีความล่าช้า ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลง ขาดประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณในการบำรุงรักษา การบำรุงรักษาทางหลวงยังไม่สอดคล้องตามสภาพจริงในปัจจุบัน ในการศึกษานี้จึงได้วิเคราะห์ปัจจัยสภาพปัญหาของระบบการบำรุงรักษาทางหลวงที่มีผลต่อ ระบบการบำรุงรักษาทางบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลขสาย 7 และ 9 ในปัจจุบัน โดยใช้หลัก กระบวนการบริหาร 4 ด้าน และด้านดิจิทัล 1 ด้าน (4M+1D) พบว่า ยังไม่มีระบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพ่ืองานบำรุงรักษาทางมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม จากการศึกษารูปแบบเทคโนโลยี Digital Transformation ที ่เก ี ่ยวข้องกับระบบบริหารบำรุงทางในต่างประเทศ (Best Practices) พบว่าการใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) เป็นแนวโน้มของเทคโนโลยีในการวางแผนบำรุงรักษาให้ เกิดประสิทธิภาพ โดยผลการศึกษาจากต่างประเทศแสดงให้เห็นถึงการลดลงของค่าใช้จ่ายในการ บำรุงรักษาถึงร้อยละ 12 สอดคล้องกับผลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์สูง มีความเชี่ยวชาญ และ การบริหารงานในด้านการสำรวจประเมินและประมวลผลสำหรับจัดทำการบำรุงรักษาทางหลวงบนทาง หลวง ที่มีความเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยี AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการบำรุงทาง นำไปสู่การใช้ เงินทุนหมุนเวียน ให้มีประสิทธิภาพ และมีศักยภาพในการขยายโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ ซึ่งจากการศึกษานี้ได้สรุปแนวทางการกำหนดแผน ดำเนินการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารบำรุงทางด้วยเทคโนโลยี AI มาใช้ในระยะต่างๆ (Action Plan) ได้แก่ ระยะสั้น (1-2 ปี) มุ่งเน้นการจัดทำระบบฐานข้อมูล พัฒนาระบบ AI สำหรับการ สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการเตรียมความพร้อมบุคลากร ระยะกลาง (2-5 ปี) มุ่งเน้นการพัฒนา ระบบ AI สำหรับการคาดการณ์และวางแผนการบำรุงรักษาทาง พร้อมพัฒนาระบบ AI สำหรับ ติดตาม การดำเนินงานและผลการบำรุงรักษาทาง และการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบุคลากร และระยะยาว (มากกว่า 5 ปี) มุ่งเน้นการนำระบบที่พัฒนาขึ้น ขยายผลกับเส้นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองอ่ืนๆที่กำลัง จะเปิดใช้งาน บูรณาการข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน เพิ่มประสิทธิภาพโดยการพัฒนา ระบบที่มีความสามารถในการเรียนรู ้และปรับปรุงตนเอง สร้างต้นแบบให้หน่วยงานอื ่นๆได้นำไป ประยุกต์ใช้งานต่อไป รวมถึงผลักดันการจัดตั้ง Big Data Center ของรัฐบาล เพื่อผนวกฐานข้อมูลขนาด ใหญ่สำหรับสนับสนุนการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศต่อไป
abstract: