Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้กับจังหวัดภาคเหนือ เพื่อพัฒนาการบริการภาครัฐ,(วปอ.10308)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี อภิสิทธิ์ บุศยารัศมี,(วปอ. 10308)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง การศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้กับ จังหวัดภาคเหนือ เพื่อพัฒนาการบริการภาครัฐ ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย พลตรี อภิสิทธ์ิ บุศยารัศมี หลักสตูร วปอ. รุ่นที่ 66 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา, วิเคราะห์และเปรียบเทียบทัศนคติของประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้กับจังหวัดภาคเหนือเกี่ยวกับการรับบริการจากทางภาครัฐเพื่อน าผลการวิจัย ไปเป็นข้อมูลส าหรับการพัฒนาการบริการภาครัฐในอนาคต ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ท าการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจากผู้น าชุมชน ประชาชนทั่วไป และคนรุ่นใหม่ เพื่อให้ได้ทัศนคติของคนหลายกลุ่มหลายอายุ ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์วิจัย สรุปได้ว่า 1. ภาพรวมกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า มีทัศนคติโดยรวมใน เชิงลบต่อด้านการศึกษา และต่อการสาธารณสุข มีทัศนคติโดยรวมในเชิงบวกต่อด้านการสาธารณภัย และมีทัศนคติโดยรวมด้านที่อยากให้รัฐปรับปรุง คือด้านการศึกษาและสาธารณสุข 2. ภาพรวมกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ พบว่า มีทัศนคติในกลุ่มเป้าหมายที่ แตกต่างกันต่อด้านการศึกษา ในกลุ่มผู้น าชุมชนและประชาชนทั่วไปมีทัศนคติเชิงบวก แต่ในกลุ่มคน รุ่นใหม่มีทัศนคติในเชิงลบ มีทัศนคติโดยรวมในเชิงลบต่อการสาธารณสุข มีทัศนคติโดยรวมในเชิงบวก ต่อด้านการสาธารณภัยและมีทัศนคติโดยรวมด้านที่อยากให้รัฐปรับปรุง คือด้านการศึกษาและ สาธารณสุข 3. การเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างผู้น าชุมขนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กับภาคเหนือ เปรียบเทียบกันด้านการบริการทางการศึกษา พบว่า มีทัศนคติที่แตกต่างกัน จังหวัดชายแดนภาคใต้มี ทัศนคติเชิงลบ ส่วนในภาคเหนือมีทัศนคติเชิงบวก ในด้านการการบริการสาธารณสุขในเชิงลบ เหมือนกัน มีทัศนคติโดยรวมด้านที่อยากให้รัฐปรับปรุงเหมือนกัน คือด้านการศึกษาและสาธารณสุข 4. การเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างด้านประชาชนทั่วไปในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กับ ภาคเหนือ พบว่า มีทัศนคติในเชิงลบต่อการบริการทางการศึกษาและการบริการสาธารณสุข มีทัศนคติโดยรวมด้านที่อยากให้รัฐปรับปรุงเหมือนกัน คือด้านการศึกษาและสาธารณสุข 5. การเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างคนรุ่นใหม่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กับภาคเหนือ พบว่า มีทัศนคติในเชิงลบต่อการบริการทางการศึกษาและการบริการสาธารณสุขที่เหมือนกัน ทัศนคติโดยรวมด้านที่อยากให้รัฐปรับปรุงเหมือนกัน คือด้านการศึกษาและสาธารณสุข

abstract: