Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการเพิ่มศักยภาพการทำการประมงนอกน่านน้ำไทย,(วปอ.10307)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย อภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์,(วปอ. 10307)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง แนวทางการเพ่ิมศักยภาพการทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 การศึกษาเรื่อง แนวทางการเพ่ิมศักยภาพการทำการประมงนอกน่านน้ำไทยมีวัตถุประสงค์ เพ่ือ 1) ศึกษาสถานการณ์การทำประมงนอกน่านน้ำไทย 2) ศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบการทำ ประมงนอกน่านน้ำไทย และ 3) เสนอแนะแนวทางการเพ่ิมศักยภาพการทำประมงนอกน่านน้ำไทย โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากงานวิจัย เอกสารทางวิชาการและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็น เอกสารจากประมวลกฎหมาย และบทความของผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิ จากการ สัมภาษณ์ผู้ประกอบการประมง นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ การประมงทั้งภาครัฐและเอกชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบ และสังเคราะห์ข้อมูลทฤษฎี หลักการต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การทำประมงนอกน่านน้ำไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2555 – 2564 มีผลผลิตจากการทำการประมงทะเลเฉลี่ย 1,413,911 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่า 58,355 ล้านบาท ต่อปี โดยผลผลิตมีแนวโน้มลดลงในอัตราร้อยละ 1.87 ตันต่อปี การทำประมงพาณิชย์เฉลี่ย 1,209,734 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่า 45,520 ล้านบาทต่อปี ผลผลิตมีแนวโน้มลดลงในอัตราร้อยละ 2.37 ต่อปี มูลค่ามีแนวโน้มเพ่ิมขึ้นในอัตราร้อยละ 0.91 ต่อปี การทำการประมงพ้ืนบ้านเฉลี่ย 204,178 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่า 12,835 ล้านบาทต่อปี ผลผลิตและมูลค่าสัตว์น้ำจากการทำการ ประมงทะเล พ.ศ. 2567 - 2569 คาดการณ์ว่าผลผลิตและมูลค่ามีแนวโน้มเพ่ิมขึ้นในอัตราร้อยละ 0.63 และ 2.82 ต่อปี ส่วนปัญหาและผลกระทบการทำประมงนอกน่านน้ำไทยมีดังนี้ 1) ปัญหา เกี่ยวกับระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องจำนวนมากและมีรายละเอียดที่ซับซ้อนยุ่งยาก 2) ปัญหา เกี่ยวกับบทลงโทษภายใต้กฎหมายประมงฉบับใหม่ 3) ปัญหาการประมงได้ถูกนำมาเป็นประเด็นทาง การเมืองสำหรับพรรคการเมืองหาเสียง 4) ปัญหาเกี่ยวกับเรือประมงนอกน่านน้ำจำนวนมากยังออก ทำประมงไม่ได้ 5) ปัญหาเกี่ยวกับแหล่งทำการประมงในรัฐชายฝั่งค่อนข้างจำกัด 6) ปัญหาเกี่ยวกับ การปรับเปลี่ยนเครื่องมือ 7) ปัญหาเกี่ยวกับการอบรมผู้ประกอบการ และ 8) ปัญหาการขาดแคลน แรงงานที่ถูกกฎหมาย สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางการเพ่ิมศักยภาพการทำประมงนอกน่านน้ำไทย มีดังนี้ 1) การจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการประมงนอกน่านน้ำ 2) ทบทวนการบังคับใช้กฎหมาย ประมงที่มีผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม 3) การปรับโครงสร้างและพัฒนาศักยภาพองค์กร ภาครัฐและเอกชน 4) การหาแหล่งประมงนอกน่านน้ำที่มีศักยภาพ 5) การบริหารจัดการและ ควบคุมดูแลการทำประมงนอกน่านน้ำไทย 6) การจัดการทรัพยากรประมงนอกน่านน้ำไทย 7) การ จัดตั้งกองทุนเพ่ือพัฒนาและส่งเสริมการทำประมงนอกน่านน้ำไทย และ 8) การจัดการแรงงานต่างด้าว ในการทำประมง ข ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รัฐบาลควรมีการกำหนดนโยบายในระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการในภาคประมงโดยเฉพาะ ควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดไม่เลือกปฏิบัติ และ จัดทำนโยบายด้านการประมงนอกน่านน้ำให้ชัดเจน

abstract: