Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลด้านการงบประมาณตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง,(วปอ.10305)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย อภิชาติ รัตนราศรี,(วปอ. 10305)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลด้านการงบประมาณ ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายอภิชาติ รัตนราศรี หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท ด้านความมั่นคง และนโยบายที่เกี ่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ โดยเฉพาะด้านการทหาร ซึ่งเป็น ส่วนสำคัญในการจัดสรรงบประมาณและกำหนดโครงสร้างแผนงาน นอกจากนี้ ยังมีการเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาตัวชี้วัดงบประมาณด้านการทหาร เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและ แผนพัฒนาอ่ืน ๆ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการพัฒนานโยบายด้านความม่ันคง โดยเน้นการติดตามและ ประเมินผลด้านการใช้งบประมาณเพื่อให้การดำเนินงานมีความชัดเจนและประสิทธิภาพมากขึ้นจาก การศึกษาการดำเนินงานด้านความมั่นคง พบว่า มีการตั้งคำถามจากภาคประชาชนและการเมืองเกี่ยวกับ งบประมาณและผลการดำเนินงานที่ไม่ชัดเจน ประเด็นนี้ยังถูกใช้เป็นนโยบายหาเสียงของพรรคการเมือง ในการเลือกตั้งปี 2566 การใช้จ่ายด้านความมั่นคงยังขาดการสื่อสารและการสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชน นอกจากนี้ การติดตามและประเมินผลยังขาดการบูรณาการข้อมูลและมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ในแต่ละรัฐบาล ทำให้การดำเนินงานขาดความต่อเนื่อง จากการศึกษานโยบายและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวงกลาโหม พบว่า การดำเนินงานด้านทหารยังขาดเป้าหมายที่ครอบคลุมและชัดเจน ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะการพัฒนา ระบบติดตามและประเมินผลด้านความมั่นคง โดยเริ่มจากการปรับปรุงกระบวนการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งควรเพิ่มประเด็นสำคัญด้านความมั่นคง โดยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนและ สร้างการรับรู้ต่อสาธารณชน นอกจากนี้ ควรมีการทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บททุก 2-3 ปี เพื่อให้ สามารถสะท้อนข้อเท็จจริงและความท้าทายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน การพัฒนาตัวชี้วัดและการดำเนินงานด้านความมั่นคง ต้องคำนึงถึงบริบทของประเทศ และสถานการณ์โลกที่เปลี ่ยนแปลงอยู ่เสมอ สะท้อนถึงผลประโยชน์จากการใช้จ่ายงบประมาณ นอกจากนี้ การแบ่งอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานต้องชัดเจน เพื่อลดความซ้ำซ้อนและให้หน่วยงาน มุ่งเน้นการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแล และการสนับสนุนให้ภาคส่วนอื่น ๆ ทั้งนี้ ควรพัฒนา ขีดความสามารถขององค์กรและบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ มีระบบตรวจสอบการดำเนินงานที่ชัดเจน สร ้างความโปร ่งใสในการใช ้งบประมาณ และต ้องเป ิดเผยข ้อม ูลท ี ่สามารถตรวจสอบได้ โดยสำนักงบประมาณควรร่วมมือกับกระทรวงกลาโหมในการทบทวนยุทธศาสตร์การจัดสรร งบประมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์และลดภาระงบประมาณในอนาคต

abstract: