Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนฐานข้อมูลสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดของประเทศไทย,(วปอ.10304)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย อภิกิต ฉ.โรจน์ประเสริฐ,(วปอ. 10304)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนฐานข้อมูลสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดของประเทศไทย ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นายอภิกิต ฉ.โรจน์ประเสริฐ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖ สถานการณ์ปัญหายาเสพติดทั่วโลกมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มสารกระตุ้นประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน (Amphetamine – type stimulants: ATS) อย่างเช่น เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แนวโน้มการลักลอบผลิต เมทแอมเฟตามีนในทวีปเอเชีย โอเชียเนีย แอฟริกา และบางส่วนของยุโรปนิยมใช้สารอีเฟดรีน (ephedrine) เป็นสารตั้งต้นหลัก ในขณะที่ทวีปอเมริกาเหนือใช้สาร P-2-P เป็นสารตั้งต้นหลัก ส่วนพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำซึ่งเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดสำคัญแห่งหนึ่งของโลก พบว่ามีแนวโน้มผลิตยาเสพติดสังเคราะห์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันกับแนวโน้มการผลิตระดับโลก หากพิจารณาจากข้อมูล การจับยึดเมทแอมเฟตามีนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พบว่ามากกว่าร้อยละ ๗๕ ถูกจับยึดได้ในประเทศ ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง (เมียนมา ไทย สปป.ลาว เวียดนาม และกัมพูชา) ประเทศไทยซึ่งอยู่ใกล้กับแหล่งผลิตยาเสพติดสามเหลี่ยมทองคำที่สำคัญของโลกจึงถูก กลุ่มองค์กรอาชญากรรมอาศัยช่องว่างทางกฎหมายของการควบคุมสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ระหว่างประเทศในการกระทำความผิด โดยการลักลอบลำเลียงเอาสารเคมีเข้าสู่กระบวนการผลิตยาเสพติด ในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ โดยปัจจุบันมาตรการการควบคุมสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดของประเทศไทย ยังมีไม่เพียงพอ ประกอบกับสารเคมีดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของหลายหน่วยงานและกฎหมายหลายฉบับ เครื่องมือและกลไกที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทั้งระบบ จึงต้องเร่งรัดการดำเนินงานเพิ่มเติมให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการได้รวดเร็ว และยังสามารถตรวจสอบ กำกับ ติดตามการเคลื่อนย้ายของสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ได้ทั้งภายในและระหว่างประเทศ ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง การจัดทำกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านการควบคุมและสกัดกั้นสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ที่ใช้ผลิตยาเสพติด ควบคู่ไปกับการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อเป็นศูนย์กลางบูรณาการข้อมูลสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ เพื่อให้สามารถเห็นภาพการเคลื่อนตัวของสารเคมีตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง และสามารถแก้ไขปัญหาได้ตลอดห่วงโซ่กระบวนการอย่างเป็นระบบและเป็นเอกภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาและจัดทำแพลตฟอร์ม/กลไก หรือระบบปฏิบัติการเพื่อรองรับการดำเนินงานของภาครัฐ ให้สามารถเข้าใจสภาพปัญหาได้อย่างถ่องแท้ และนำไปใช้เป็นฐานในการกำหนดนโยบาย ทิศทางการแก้ไขปัญหา การตรวจสอบ และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ ในภูมิภาคผ่านเครื่องมือหรือกลไกที่มีอยู่ต่อไป เพื่อพัฒนาเครื่องมือและกลไกการเฝ้าระวังป้องกันมิให้ นำสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ไปใช้ผลิตยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ในฐานะหน่วยงานกลางในการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศ ร่วมกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับดูแล บังคับใช้กฎหมาย ทั้งในและต่างประเทศ จำเป็นต้องสร้างระบบฐานข้อมูลสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีอยู่ในปัจจุบันมาพัฒนาจัดเก็บข้อมูล และสามารถนำออกมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในปัจจุบัน หน่วยราชการต่างๆ ได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในทุกกระทรวง ทบวง กรม และมีฐานข้อมูลเป็นของตนเอง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานที่กำกับควบคุมดูแลสารเคมีโดยตรง รวมถึงการขอความร่วมมือกับหน่วยงานเกี่ยวข้องอื่นๆทั้งภายในและต่างประเทศ ในการจัดทำฐานข้อมูลสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติด (Chemical Data Center) ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางของข้อมูลสารตั้งและเคมีภัณฑ์ที่อาจถูกลักลอบนำไปใช้ในกระบวนการผลิต รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการข่าว การแลกเปลี่ยน และสนับสนุนข้อมูลด้านสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์กับหน่วยงานภายในและต่างประเทศ เพื่อเฝ้าระวังป้องกันการเคลื่อนย้ายของสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์มิให้รั่วไหลเข้าสู่พื้นที่แหล่งผลิตยาเสพติด

abstract:

บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอาจารย์ ในศูนย์ฝึกอบรมตารวจภูธรภาค ของสานักงานตารวจแห่งชาติ ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย พลตารวจตรี อาทิชา เปาอินทร์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 เอกสารงานวิจัยส่วนบุคคล เรื่อง แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของอาจารย์ในศูนย์ฝึกอบรมตารวจภูธรภาค ของสานักงานตารวจแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอาจารย์ และเสนอแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการสอนและการปฏิบัติงานของอาจารย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หลังจากนั้นจึงได้จัดทาแบบสัมภาษณ์ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (Key Informant) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยจะทาการศึกษาใน 3 ด้าน คือ 1. การฝึกอบรม 2. การศึกษา 3. การพัฒนา ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอาจารย์ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทักษะการสอน ปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น บรรยากาศการทางาน สถานที่และอุปกรณ์การสอน รวมถึงปัจจัยด้านการสนับสนุนจากองค์กร เช่น การฝึกอบรมและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นธรรม และการสร้างแรงจูงใจในการทางาน จากผลการวิจัยนี้ ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของอาจารย์ ได้แก่ การพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กร การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการสอน การจัดทาสื่อการสอนที่ทันสมัย การฝึกอบรมและพัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่อง การสร้างระบบการประเมินผลที่โปร่งใสและเป็นธรรม การให้รางวัลและยกย่องอาจารย์ที่มีผลงานดีเด่น และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก