สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute
NDSI- RASS
ระบบสืบค้นงานวิจัยและวิชาการ
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
คู่มือใช้งาน
Logout
Search
ค้นหา
Category
แสดงตามประเภท
แสดงทั้งหมด
งานวิจัย
งานวิชาการ
งานนวัตกรรม
เอกสารประกอบการศึกษาตามหลักสูตร
อื่น ๆ
แสดงตามปี
ปี พ.ศ. 2567
ปี พ.ศ. 2566
ปี พ.ศ. 2565
ปี พ.ศ. 2564
ปี พ.ศ. 2563
ปี พ.ศ. 2562
ปี พ.ศ. 2561
ปี พ.ศ. 2560
ปี พ.ศ. 2559
ปี พ.ศ. 2558
ปี พ.ศ. 2557
ปี พ.ศ. 2556
ปี พ.ศ. 2555
ปี พ.ศ. 2554
ปี พ.ศ. 2553
ปี พ.ศ. 2552
ปี พ.ศ. 2551
ปี พ.ศ. 2550
ปี พ.ศ. 2549
ปี พ.ศ. 2548
ปี พ.ศ. 2547
ปี พ.ศ. 2546
แสดงตามหน่วยงาน
แสดงทั้งหมด
สปท.
วปอ.สปท.
วสท.สปท.
สจว.สปท.
ศศย.สปท.
รร.ตท.สปท.
รร.ชท.สปท.
สศท.สปท.
แสดงตามสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์
แสดงทั้งหมด
Social-Psychology
Science and Technology
Economics
Strategy
Politics
Military
Education
Diplomacy
Information
Environment
not specified
แสดงตามหลักสูตรต่าง ๆ
แสดงทั้งหมด
หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร
หลักสูตรผู้นำพอเพียงด้านความมั่นคง
หลักสูตรเสนาธิการทหาร
หลักสูตรเสนาธิการร่วม
หลักสูตรนายทหารอาวุโส บก.ทท.
หลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง
หลักสูตรพัฒนาสัมพันธ์ผู้บริหาร
หลักสูตรนักยุทธศาสตร์
หลักสูตร รร.ตท.สปท.
หลักสูตร รร.ชท.สปท.
หลักสูตรจิตวิทยาความมั่งคง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานิ (สจว.สพฐ.
อื่น ๆ
Readed :
010013
Today :
000197
Total :
047637
Download :
000057
เรื่อง:
แนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนฐานข้อมูลสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดของประเทศไทย,(วปอ.10304)
Download
Open PDF
E-Book
หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย อภิกิต ฉ.โรจน์ประเสริฐ,(วปอ. 10304)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนฐานข้อมูลสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดของประเทศไทย ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นายอภิกิต ฉ.โรจน์ประเสริฐ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖ สถานการณ์ปัญหายาเสพติดทั่วโลกมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มสารกระตุ้นประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน (Amphetamine – type stimulants: ATS) อย่างเช่น เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แนวโน้มการลักลอบผลิต เมทแอมเฟตามีนในทวีปเอเชีย โอเชียเนีย แอฟริกา และบางส่วนของยุโรปนิยมใช้สารอีเฟดรีน (ephedrine) เป็นสารตั้งต้นหลัก ในขณะที่ทวีปอเมริกาเหนือใช้สาร P-2-P เป็นสารตั้งต้นหลัก ส่วนพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำซึ่งเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดสำคัญแห่งหนึ่งของโลก พบว่ามีแนวโน้มผลิตยาเสพติดสังเคราะห์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันกับแนวโน้มการผลิตระดับโลก หากพิจารณาจากข้อมูล การจับยึดเมทแอมเฟตามีนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พบว่ามากกว่าร้อยละ ๗๕ ถูกจับยึดได้ในประเทศ ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง (เมียนมา ไทย สปป.ลาว เวียดนาม และกัมพูชา) ประเทศไทยซึ่งอยู่ใกล้กับแหล่งผลิตยาเสพติดสามเหลี่ยมทองคำที่สำคัญของโลกจึงถูก กลุ่มองค์กรอาชญากรรมอาศัยช่องว่างทางกฎหมายของการควบคุมสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ระหว่างประเทศในการกระทำความผิด โดยการลักลอบลำเลียงเอาสารเคมีเข้าสู่กระบวนการผลิตยาเสพติด ในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ โดยปัจจุบันมาตรการการควบคุมสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดของประเทศไทย ยังมีไม่เพียงพอ ประกอบกับสารเคมีดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของหลายหน่วยงานและกฎหมายหลายฉบับ เครื่องมือและกลไกที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทั้งระบบ จึงต้องเร่งรัดการดำเนินงานเพิ่มเติมให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการได้รวดเร็ว และยังสามารถตรวจสอบ กำกับ ติดตามการเคลื่อนย้ายของสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ได้ทั้งภายในและระหว่างประเทศ ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง การจัดทำกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านการควบคุมและสกัดกั้นสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ที่ใช้ผลิตยาเสพติด ควบคู่ไปกับการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อเป็นศูนย์กลางบูรณาการข้อมูลสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ เพื่อให้สามารถเห็นภาพการเคลื่อนตัวของสารเคมีตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง และสามารถแก้ไขปัญหาได้ตลอดห่วงโซ่กระบวนการอย่างเป็นระบบและเป็นเอกภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาและจัดทำแพลตฟอร์ม/กลไก หรือระบบปฏิบัติการเพื่อรองรับการดำเนินงานของภาครัฐ ให้สามารถเข้าใจสภาพปัญหาได้อย่างถ่องแท้ และนำไปใช้เป็นฐานในการกำหนดนโยบาย ทิศทางการแก้ไขปัญหา การตรวจสอบ และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ ในภูมิภาคผ่านเครื่องมือหรือกลไกที่มีอยู่ต่อไป เพื่อพัฒนาเครื่องมือและกลไกการเฝ้าระวังป้องกันมิให้ นำสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ไปใช้ผลิตยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ในฐานะหน่วยงานกลางในการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศ ร่วมกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับดูแล บังคับใช้กฎหมาย ทั้งในและต่างประเทศ จำเป็นต้องสร้างระบบฐานข้อมูลสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีอยู่ในปัจจุบันมาพัฒนาจัดเก็บข้อมูล และสามารถนำออกมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในปัจจุบัน หน่วยราชการต่างๆ ได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในทุกกระทรวง ทบวง กรม และมีฐานข้อมูลเป็นของตนเอง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานที่กำกับควบคุมดูแลสารเคมีโดยตรง รวมถึงการขอความร่วมมือกับหน่วยงานเกี่ยวข้องอื่นๆทั้งภายในและต่างประเทศ ในการจัดทำฐานข้อมูลสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติด (Chemical Data Center) ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางของข้อมูลสารตั้งและเคมีภัณฑ์ที่อาจถูกลักลอบนำไปใช้ในกระบวนการผลิต รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการข่าว การแลกเปลี่ยน และสนับสนุนข้อมูลด้านสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์กับหน่วยงานภายในและต่างประเทศ เพื่อเฝ้าระวังป้องกันการเคลื่อนย้ายของสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์มิให้รั่วไหลเข้าสู่พื้นที่แหล่งผลิตยาเสพติด
abstract:
บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอาจารย์ ในศูนย์ฝึกอบรมตารวจภูธรภาค ของสานักงานตารวจแห่งชาติ ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย พลตารวจตรี อาทิชา เปาอินทร์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 เอกสารงานวิจัยส่วนบุคคล เรื่อง แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของอาจารย์ในศูนย์ฝึกอบรมตารวจภูธรภาค ของสานักงานตารวจแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอาจารย์ และเสนอแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการสอนและการปฏิบัติงานของอาจารย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หลังจากนั้นจึงได้จัดทาแบบสัมภาษณ์ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (Key Informant) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยจะทาการศึกษาใน 3 ด้าน คือ 1. การฝึกอบรม 2. การศึกษา 3. การพัฒนา ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอาจารย์ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทักษะการสอน ปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น บรรยากาศการทางาน สถานที่และอุปกรณ์การสอน รวมถึงปัจจัยด้านการสนับสนุนจากองค์กร เช่น การฝึกอบรมและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นธรรม และการสร้างแรงจูงใจในการทางาน จากผลการวิจัยนี้ ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของอาจารย์ ได้แก่ การพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กร การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการสอน การจัดทาสื่อการสอนที่ทันสมัย การฝึกอบรมและพัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่อง การสร้างระบบการประเมินผลที่โปร่งใสและเป็นธรรม การให้รางวัลและยกย่องอาจารย์ที่มีผลงานดีเด่น และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก