Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการบริหารจัดการปัญหาสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ของประเทศไทย,(วปอ.10299)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อติพร อิงค์สาธิต,(วปอ. 10299)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการปัญหาสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ PM2.5 ของประเทศไทย ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย ศาสตราจารย์ ดร. พญ. อติพร อิงค์สาธิต หลักสตูร วปอ. รุน่ที่ 66 ปัจจุบันมลพิษทางอากาศถือเป็นความเส่ียงด้านส่ิงแวดล้อมท่ีส าคัญต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยในแต่ละปีมี ผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 7 ล้านคน จากคุณภาพอากาศที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โดย ร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตเหล่านี้เกิดขึ้นในเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งประชากรกว่า 4 พันล้านคน (92% ของประชากรท้ังหมด) ต้องสัมผัสกับอากาศท่ีมีมลภาวะเกินระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศของ องค์การอนามัยโลก ดังนั้นจึงจ าเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศให้เหมาะสม อย่างไรก็ตามการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของ PM2.5 ต่อสุขภาพในประชากรไทยยังมีจ านวนจ ากัด นอกจากนี้ยังขาดแนวทางการบริหารจัดการปัญหาสุขภาพท่ีเกิดจากมลพิษทางอากาศ PM2.5 ในเชิง นโยบายอย่างเป็นรูปธรรม โครงการวิจัยนี้จึงวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการกระจายตัวของมลพิษ ทางอากาศ PM2.5 เชิงพื้นท่ีและฤดูกาลของประเทศไทย รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมลพิษทาง อากาศต่าง ๆ รวมถึง PM2.5 กับผลต่อสุขภาพของประชากรไทยในระยะส้ันและระยะยาว เพื่อเสนอ แนวทางการบริหารจัดการปัญหาสุขภาพที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ PM2.5 ท่ีมีความเหมาะสมพร้อม ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้มีการรวบรวมทบทวนเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ ท่ีมีการตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ และท าการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลท่ี เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือเกี่ยวข้องกับการจัดการผลกระทบของมลพิษทางอากาศ PM2.5 ท่ีมีต่อ สุขภาพ จ านวน 5 คน และศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อหารูปแบบ การกระจายตัวของ PM 2.5 ในประเทศไทย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียมของส านักงานพัฒนา เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ร่วมกับข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ และกรมอุตุนิยมวิทยา และข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพจากฐานข้อมูล 43 แฟ้มกระทรวงสาธารณสุข ย้อนหลังต้ังแต่ 1 มกราคม 2561 – 31 ธันวาคม 2565 ผลการศึกษาพบว่าการกระจายตัวของค่าเฉล่ียมลพิษทางอากาศ PM2.5 เชิงพื้นท่ีและ ฤดูกาลของภูมิภาคโดยพิจารณาเป็นรายจังหวัด พบว่าปริมาณฝุ่น PM2.5 ในอากาศจะมีปริมาณสูงใน พื้นท่ีภาคเหนือได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา ก าแพงเพชร ในขณะท่ีพื้นท่ีภาคใต้จะเป็นพื้นท่ีท่ีมี ค่าเฉล่ียมลพิษทางอากาศ PM2.5 ต่ าท่ีสุดของประเทศ ได้แก่ จังหวัด ระนอง ภูเก็ต ตรัง นราธิวาส ปัตตานี ยะลา โดยท่ีช่วงเวลาท่ีพบปริมาณสูงยังคงเป็นในช่วงต้นปี คือ เดือนมกราคมเป็นต้นไป สูงสุด ในเดือนเมษายน และลดต่ าลงในเดือนพฤษภาคม ในส่วนของพื้นท่ีกรุงเทพมหานคร พบว่าการ กระจายตัวของปริมาณมลพิษทางอากาศ PM2.5 มีรูปแบบใกล้เคียงกับการกระจายตัวในระดับประเทศ ส าหรับผลกระทบด้านสุขภาพระยะส้ันพบว่ามลพิษทางอากาศสัมพันธ์กับการเกิดการก าเริบของโรค ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบ ส่วนผลกระทบด้านสุขภาพระยะยาว พบว่า ข เพิ่มความเส่ียงในการเสียชีวิตและเพิ่มความเส่ียงในการเกิดมะเร็งปอดอย่างมีนัยส าคัญ นอกจากนี้ยัง พบการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็ง Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs) และโลหะหนัก อันตราย เช่น สารหนู แคดเมียม นิกเกิ้ลและตะกั่ว กระจายตัวอยู่ในฝุ่นละออง PM2.5 รวมถึงพบความผิดปกติ ของสารพันธุกรรม DNA และการแสดงออกของยีนท่ีเป็นตัวบ่งช้ีภาวะอักเสบของร่างกายในกลุ่ม ประชากรท่ีอาศัยอยู่ในบริเวณท่ีมีการจราจรหนาแน่นของกรุงเทพมหานคร ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีข้อเสนอแนะหากรัฐจะด าเนินการพัฒนาแนวทางการบริหาร จัดการปัญหาสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ PM2.5 ของประเทศไทย รัฐควรด าเนินการดังนี้ 1. รัฐบาลควรทบทวนองค์ประกอบ บทบาทหน้าท่ีและวิธีการด าเนินการของ คณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน เพื่อให้มีผลงานการบูรณาการประสาน ทุกหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องเข้ากับกระบวนการวางแผนให้เป็นที่ประจักษ์ 2. คณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืนควรให้ความส าคัญ ในการขยายฐานความรู้ท่ีเป็นพื้นฐานของการจัดการคุณภาพอากาศ ซึ่งรวมถึงการขยายเครือข่าย คุณภาพอากาศในบรรยากาศ เพื่อให้ครอบคลุมและมีข้อมูลมากขึ้น สร้างความตระหนักรู้และการมี ส่วนร่วมของสาธารณชน โดยดึงผู้มีส่วนได้เสียให้เข้ามามีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ และสร้างพื้นท่ี การมีส่วนร่วมแบบ Bottom-Up ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 3. รัฐบาลควรจัดต้ังศูนย์กลางในการสอบเทียบเครื่องมือวัด หรือ Calibration center ของเครื่องมือท่ีใช้ในการวัดค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ท่ีพิจารณาถึงเกณฑ์มาตรฐาน และจัดงบประมาณ ส่วนกลางท่ีครอบคลุม การป้องกัน ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ทางด้านผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ อย่างครบวงจร

abstract:

ค Abstract Title Guidelines for Managing Health Problems from PM2.5 Air Pollution of Thailand. Field Science and Technology Name Prof. Atiporn Ingsathit MD., PhD. Course NDC Class 66 Currently, air pollution is considered a significant environmental risk to human health. Each year, 7 million premature deaths occur from unhealthy air quality, with 70 percent of these deaths occurring in Asia and the Pacific. More than 4 billion people (92% of the total population) are exposed to polluted air that exceeds the level of the World Health Organization's air quality standards. Therefore, there is an urgent need for policies and management to optimize air quality. However, studies on the health effects of PM2.5 in the Thai population are limited. In addition, there is a lack of explicit policy guidelines for managing health problems caused by PM2.5 air pollution. The purpose of this research is to study the spatial and seasonal distribution patterns of PM2.5 air pollution in Thailand, as well as to study the relationship between air pollution including PM2.5 and the short- and long- term health effects of the Thai population, and to propose appropriate guidelines for managing health problems caused by PM2.5 air pollution with policy recommendations. This research has compiled a review of various academic papers that have been published and conducted qualitative research by in-depth interviews with 5 people who are stakeholders or related to the management of the impact of PM2.5 air pollution on health. In addition, quantitative research has conducted to determine the distribution pattern of PM2.5 in Thailand. The data from the satellite of the Geospatial Technology Development Agency or GISTDA was analyzed together with data from the Pollution Control Department and the Meteorological Department, and health impact data from 43 databases of the Ministry of Public Health from January 1, 2018 to December 31, 2022. The results of the study showed that the distribution of regional and seasonal PM2.5 air pollution averages by province was determined. It was found that the amount of PM2.5 dust in the air will be high in the northern provinces of Chiang Rai, Nan, Phayao, and Kamphaeng Phet, while the southern areas will be the areas with the lowest average PM2.5 air pollution in the country, namely Ranong, Phuket, Trang, Narathiwat, Pattani, and Yala. The period of high volume is still at the beginning of ง the year, which is January onwards, peaking in April and decreasing in May. In the Bangkok area, it was found that the distribution of PM2.5 air pollution was similar to the distribution at the national level. For short-term health effects, air pollution has been found to be associated with exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease. and acute myocardial infarction. As for the long-term health effects, it was found to significantly increase the risk of death and increase the risk of lung cancer. It has also been found to be contaminated with carcinogens, polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs), and dangerous heavy metals such as arsenic, cadmium, nickel and lead. The population living in high-traffic areas of Bangkok were found abnormalities in DNA, and gene expression that are indicators of inflammation. Therefore, this research has suggestions if the government will continue to improve guidelines for managing health problems from PM2.5 air pollution in Thailand. The state should do the following: 1. The government should review the composition, roles, duties and implementation methods of the Air Pollution Management Committee for Sustainability so that the results of the integration of all relevant agencies into the planning process can be realized. 2. The Air Pollution Management Committee for Sustainability should focus on expanding the knowledge base that is the basis of air quality management. This includes expanding the atmospheric air quality network to make it more comprehensive and informative. Raising public awareness and participation By engaging stakeholders throughout the process and creating a bottom-up participation space with technology and innovation. 3. The government should establish a calibration center for instruments used to measure PM2.5 that considers the benchmark and allocate a comprehensive central budget for prevention, assistance, and restoration of the impact of air pollution.