Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การบริหารของเหลือจากการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนและลด PM 2.5,(วปอ.10298)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย อดิศักดิ์ ชูสุข,(วปอ. 10298)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การบริหารของเหลือจากการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนและลด PM 2.5 ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ผู้วิจัย นายอดิศักดิ์ ชูสุข หลักสูตร วปอ. รุ่นท่ี ๖๖ การวิจัยเรื่องการบริหารของเหลือจากการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนและลด PM2.5 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปริมาณของเหลือจากการเกษตรในแปลงปลูกและสามารถน าไปใช้เป็นพลังงาน ทดแทนได้ ปริมาณมลพิษท่ีสามารถลดลงได้จากการไม่เผาของเหลือจากการเกษตร และ ผลตอบแทน ต่อการลงทุนการแปรรูปเช้ือเพลิงชีวมวล โดยการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จาก ผู้ท่ีเกี่ยวข้อง กับการปลูกข้าว อาทิ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เกษตรอ าเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ผู้รวบรวมฟางข้าว ผู้แปรรูปฟางข้าวเป็นเช้ือเพลิงชีวมวล และ ผู้ใช้เช้ือเพลิงชีวมวล และ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม น า ข้อมูลท่ีได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความ ผลการวิจัย สรุปได้ว่า พื้นท่ีอ าเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี มีปริมาณฟางข้าวจ านวน ๒๙,๒๒๙,๙๙๓ กิโลกรัม/ปี มีปัญหาจากเผาหลังการเกี่ยวข้าว ซึ่งหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องในพื้นท่ีได้ พยายามแก้ไขปัญหา ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการน าไปใช้ประโยชน์แทนการเผา อาทิ น าไปเป็น อาหารสัตว์ น าไปเป็นเช้ือเพลิงชีวมวล และ น าไปปรับปรุงดิน เป็นต้น หากด าเนินการเผาในแปลง ปลูกจะท าให้มีการปล่อยมลพิษ (Emission Factors : EFs) สู่ส่ิงแวดล้อม ได้แก่ ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จ านวน ๓๒,๖๗๙.๑๓ ตัน/ปี ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ๒,๓๐๕.๐๘ ตัน/ปี ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOX) จ านวน ๔๒.๐๙ ตัน/ปี ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) จ านวน ๑๖.๓๗ ตัน/ปี และ ฝุ่นละอองรวม (Total Particulate Matter : TPM) จ านวน ๑๙๕.๕๕ ตัน/ปี และ มีผลตอบแทนต่อการลงทุนการแปรรูปเช้ือเพลิงชีวมวลภายในระยะเวลา ๑๐๓.๕๐ วัน ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวประมาณ ๑๐๐ บาทต่อไร่ต่อรอบการปลูกข้าว

abstract:

ข Abstract Title Management and utilization of agricultural residues as a renewable energy source and PM 2.5 mitigation. Field Science and Technology Name Mr. Adisak Choosuk Course NDC. Class 66 The research on management and utilization of agricultural residues as a renewable energy source and PM2.5 mitigation purposes to investigate the quantity of agricultural residues in the cultivated land, and their potential for being used as a renewable energy source. It also explores to quantify the reduction in pollution resulting from the non-burning of agricultural residues, as well as the benefits in biomass fuel conversion investments. The necessary data was collected through in- depth interviews with rice cultivation stakeholders, including farmers, Sam Khok District agricultural government officer, rice straw collectors, biomass fuel production business owners, and biomass fuel users. Non-participatory observation was also conducted, while the collected data was analyzed through interpretation. The study revealed that Sam Khok district, Pathum Thani province, generates 29,229,993 kilograms of the annual rice straw residue. The prevalent practice of post-harvest burning in the area has posed significant environmental challenges. Local authorities have been actively promoting alternative uses for rice straw to mitigate these issues, including animal feed, biomass fuel, and soil amendment. The research also investigated that burning rice straw in the cultivated land results in substantial emissions of various pollutants, including 32,679.13 tons of carbon dioxide (CO2), 2,305.08 tons of carbon monoxide (CO), 42.09 tons of nitrogen oxides (NOx), 16.37 tons of sulfur dioxide (SO2), and 195.55 tons of total particulate matter (TPM) annually. Likewise, the study demonstrated that investing in biomass fuel conversion offers a promising return, with a payback period of 103.5 days. This practice has the potential to increase farmers' income by approximately 100 Baht per rai per one cropping cycle.