เรื่อง: แนวทางการขับเคลื่อนเทคโนโลยีการระบุตัวบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย เพื่อประโยชน์ด้านการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข,(วปอ.10297)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย โสภณ เอี่ยมศิริถาวร,(วปอ. 10297)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
๑
บทคัดย่อ
เร่ือง แนวทางการขับเคล่ือนเทคโนโลยีการระบุตัวบุคคลที่ไมใ่ชส่ัญชาติไทย
เพ่ือประโยชน์ด้านการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลย ี
ผู้วิจัย นายโสภณ เอ่ียมศิริถาวร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๖
การศึกษานี้มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจดจำลายม่านตาและใบหน้าในการ
ระบุตั วบุคคลของคนต่ างด้ าวที่ ไม่มี เอกสารยืนยันตั วบุคคล ในบริบทของการให้ บริการ
ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีพ้ืนฐานที่มาจาก
ประสบการณ์ในระยะที่มีการระบาดใหญ่ของโควิด 19 ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ ที่ประเทศไทย
ประสบกับปัญหาในการดูแลรักษาบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย เช่นกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีเอกสาร
หลักฐานระบุตัวบุคคล เนื่องจากขาดข้อมูลที่ถูกต้องที่จะใช้ในการติดตามตัวมารักษากักกันโรค ส่งผล
ทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อโรคต่อในวงกว้าง โดยเฉพาะในระยะที่มีการระบาดรุนแรง เมื่อมี
บุคคลต่างด้าวมากกว่า ๓ ล้านคนทำงานหรืออาศัยอยู่ในประเทศไทย และจำนวนไม่น้อยที่ไม่มี
เอกสารระบุตัวบุคคล ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านสุขภาพและเศรษฐกิจสังคม
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือพัฒนาระบบและประเมินซอฟต์แวร์สำหรับระบุตัวบุคคลของคนต่างด้าว
ที่ไม่มีเอกสาร โดยมุ่งใช้เทคโนโลยีชีวมิติในการจดจำลายม่านตาและใบหน้าคนต่างด้าวที่มารับบริการ
ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่โรงพยาบาล ๓ แห่ง ในจังหวัดตาก ชลบุรี และสมุทรสาคร การศึกษา
นี้ ยังได้ประเมินการยอมรับ ความเป็นไปได้และปัญหาอุปสรรคในการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในระบบ
บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขเพ่ือบริการคนต่างด้าวทั่วประเทศ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า
ระบบการตรวจสอบอัตลักษณ์และระบุตัวบุคคลด้วยชีวมิติที่ใช้ซอฟแวร์ TRCBAS ซึ่งเป็นระบบการ
พิสูจน์อัตลักษณ์เพ่ือยืนยันตัวบุคคล (Thai Red Cross Biometrics Authentication System) ของ
สภากาชาดไทย ที่ พัฒนาร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มี
ประสิทธิภาพสูงในการระบุตัวบุคคลตรวจสอบสิทธิ์และป้องกันการใช้ข้อมูลผู้ป่วยในทางที่ไม่ถูกต้อง
ระบบนี้ได้ลงทะเบียนและยืนยันบุคคล ตรวจสอบสิทธิ์คนต่างด้าวมากกว่า ๑๕,๗๓๕ คน โดยส่วนใหญ่
เป็นชาวเมียนมา ซึ่งเทคโนโลยีนี้ได้รับการยอมรับจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในเรื่องความแม่นยำและ
ศักยภาพในการตรวจสอบบุคคล อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นความท้าทาย เช่น ความไม่เต็มใจของต่าง
ด้าวบางคนที่ไม่มีเอกสารยืนยันตัวบุคคล รวมทั้งขาดการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพกับหน่วยงานอ่ืนๆ
ปัญหาทางเทคนิคของอุปกรณ์ที่ควรพัฒนาให้สะดวกกับการใช้งานมากขึ้น ผลการศึกษาสรุปว่าระบบ
TRCBAS ช่วยเพ่ิมประสิทธิภาพในการให้บริการสุขภาพแก่บุคคลที่ไม่ใช่สัญชาติไทยได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ แต่มีข้อเสนอให้มีการปรับปรุงด้านการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้ถูกกฎหมาย การอบรมบุคลากรที่ใช้งาน รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์เพ่ิม
เพ่ือให้การใช้ประโยชน์สูงสุดจากระบบการพิสูจน์อัตลักษณ์เพ่ือยืนยันตัวบุคคลนี้
ก
abstract:
๑
Abstract
Title Ways for Implementing Identity Verification Technology for
Non-Thai Nationals who Seek Medical and Health Services
Field Science and Technology
Name Mr. Sopon Iamsirithaworn Course NDC Class 66
This research study focused on the application of iris and face recognition
technology to identify non-Thai nationals who have no identification documents in
the healthcare services provided by the Thai Ministry of Public Health’s hospitals.
The study was initiated by the challenges faced during the COVID-19 pandemic from
2 0 2 0 to 2 0 2 2 when public health agencies encountered obstacles in providing
medical care to non-Thai people, particularly undocumented migrant workers. The
lack of accurate identification made it difficult to track, isolate and treat these
individuals, increasing the risk of disease transmission, especially during major
outbreaks. These issues affected both public health security and socio-economic
stability, given that over 3 million migrants work/live in Thailand, many of whom lack
identification documents. The study aimed to explore the potential benefit of
biometric technology and assess the software for identifying undocumented
individuals using iris and face recognition technology, particularly for those receiving
medical and health services at three hospitals in Tak, Chonburi, and Samut Sakhon
provinces. It also assessed the feasibility, acceptance, and challenges of
implementing this technology in healthcare systems. The research findings
demonstrated that the Thai Red Cross Biometrics Authentication System (TRCBAS)
software, developed in collaboration with the National Electronics and Computer
Technology Center (NECTEC), is highly effective in verifying identities and preventing
the misuse of patient data. The system successfully registered and verified 1 5 ,7 3 5
migrants, predominantly Myanmar. The technology was well-received by hospital
personnel, who praised its accuracy and potential for identity verification. However,
challenges such as the reluctance of some undocumented migrants to participate,
the lack of health data integration with other databases, and technical issues with
the equipment were noted. The study concluded that the TRCBAS system
significantly enhances efficiency of healthcare service delivery for non-Thai nationals.
However, it recommends improvements in data integration across relevant agencies,
ข
encouraging registration of migrant workers, training for personnel, and the
procurement of additional equipment to fully maximize the benefits of the system.