Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ผลกระทบของราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในภาคครัวเรือนที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ,(วปอ.10291)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย สุวัชชัย พิทักษ์วงศาภรณ์,(วปอ. 10291)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เร่ือง ผลกระทบของราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในภาคครัวเรือนที่มีผลกระทบต่อ ความมั่นคงของประเทศ ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นายสุวัชชัย พิทักษ์วงศาภรณ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 66 งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพ่ือการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับ ทางเลือกในการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG : Liquefied Petroleum Gas) โดยการใช้ แบบสอบถามผู้ที่มีความเกี่ยวข้องและใช้แบบจำลองดุลยภาพบางส่วน (Partial Equilibrium Analysis) เพ่ือประมาณการกำหนดนโยบายราคา พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดจากการเลือกใช้ระบบ ราคาทางเลือกราคา ได้แก่ ระบบราคาลอยตัวเต็มที่ อุดหนุนราคาเต็มที่ ราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก และ สองราคา โดยนำมาทำการเปรียบเทียบกับระบบราคาในปัจจุบันที่มีการใช้อยู่หรือที่เรียกอีกอย่างว่า ระบบอุดหนุนราคาบางส่วน เข้าสูงหรือต่ำ ยังคงเป็นราคาที่สูงที่สุด เมื่อเทียบกับราคาภายใต้ระบบอ่ืน ๆ โดยเฉพาะ ระบบราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ที่สะท้อนต้นทุนการผลิตได้อย่างชัดเจน แม้กระนั้น ราคาภายใต้ทุก ระบบยังคงสูงกว่าระบบปัจจุบันที่ใช้อยู่ ซึ่งทำให้ราคาขายปลีก LPG ในตลาดภายในประเทศต่ำกว่า หากราคาสูงขึ้นตามระบบเหล่านี้ ความต้องการใช้ LPG ภายในประเทศจะลดลงอย่างชัดเจน ทำให้ ผู้ผลิตสามารถเพ่ิมการผลิตเพื่อส่งออก LPG ส่วนที่เหลือจากความต้องการภายในประเทศได้มากข้ึน การศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่า ในทุกระบบราคา ภาครัฐจะได้รับประโยชน์จากรายได้ภาษีที่ มากกว่าภาระการชดเชยที่เกิดขึ้นจากการควบคุมราคาขายส่ง LPG อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึง ต้นทุนจากการชดเชยการนำเข้าและค่าเสียโอกาสของผู้ผลิตภายในประเทศที่ไม่สามารถส่งออก LPG ไปยังต่างประเทศ พบว่า ผู้ผลิตยังต้องรับภาระค่าเสียโอกาสนี้ ยกเว้นในกรณีของระบบราคาลอยตัว เต็มที่ ที่เปิดทางให้ผู้ผลิตสามารถค้าขายและส่งออก LPG ไปขายในต่างประเทศได้อย่างอิสระ เมื่อพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประสิทธิภาพ ความเท่าเทียม และต้นทุนการผลิต ที่เหมาะสม ผู้วิจัยเสนอว่า ระบบราคาที่รัฐบาลควรพิจารณาใช้ควรเป็นระบบที่ทำให้ผู้ผลิตได้รับ ผลตอบแทนที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและมีผลกำไรที่เหมาะสม ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคควรจ่ายราคา ขายปลีกท่ีสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของผู้ผลิตและผู้ค้า LPG โดยราคาควรอยู่ในระดับที่ไม่สูงเกินไปและ ไม่ผันผวนตามราคาตลาดโลกจนเกินควร นอกจากนี้ ระบบราคาควรหลีกเลี่ยงการพ่ึงพาการชดเชย จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมากเกินไป โดยการชดเชยจากกองทุนควรไม่เกินกว่ารายได้ภาษีที่รัฐเก็บ จาก LPG ซึ่งระบบราคาที่สอดคล้องกับหลักการเหล่านี้มากที่สุดคือระบบราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ซึ่งเหมาะสมกับสถานการณ์ในประเทศไทย แต่ด้วยสถานการณ์ เศรษฐกิจปัจจุบันที่ค่าครองชีพสูง การเพ่ิมภาระราคาก๊าซ ปิโตรเลียมเหลวให้กับผู้บริโภคอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ที่สูงขึ้นจะไปเร่งเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจให้สูงขึ้น เนื่องจากก๊าซปิโตรเลียมเหลวถูกใช้ในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคของการผลิต ขนส่ง หรือแม้กระทั่งการทำอาหารปรุงสุก ซึ่งราคาที่สูงขึ้นจะกระทบต่อค่า ครองชีพของผู้บริโภคอย่างแน่นอน ข จากการทำแบบสอบถามสำรวจผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ที่เป็นผู้บริโภคก็สรุปผล ออกมาในทิศทางเดียวกัน คือ การขึ้นราคาขายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลว กระทบค่าครองชีพ โดยส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าถ้าขึ้นไปสูงมากกว่านี้อาจจะมีการพิจารณาในการลดการใช้ลง หรือ เปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทนอ่ืน ๆ ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเห็นว่ารัฐมีส่วนสำคัญอย่างมาก ในการกำหนดนโยบาย และคาดหวังว่ารัฐควรเข้ามาควบคุมราคาเพ่ือให้มีผลกระทบน้อยที่สุดต่อ ผู้บริโภค จะสังเกตได้ว่าถึงแม้ว่าการพิจารณาจากการคำนวณ เพ่ือค้นหาประสิทธิภาพจะบ่งชี้ว่า การใช้ระบบราคาลอยตัวเต็มที่ และ ระบบเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก มีจุดที่จะให้ผลที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และควรนำมาปรับใช้ แต่เมื่อนำปัจจัยเรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และผู้บริโภค เข้ามาร่วม การที่ปล่อยราคาให้สูงกว่าราคาปัจจุบันมาก อาจจะส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งเรื่องเงินเฟ้อ และ ปริมาณการใช้ เพราะฉะนั้นทางผู้วิจัยจึงสรุปได้ว่า จนกว่าราคาในระบบปัจจุบันกับระบบลอยตัวเต็มที่ และระบบเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจะมีค่าต่างกันเล็กน้อยจนไม่เป็นนัยยะสำคัญมาก หรือจนกว่าทางภาครัฐ จะหากลไกอ่ืน ๆ ที่ เหมาะสมมากกว่าได้ระบบปัจจุบันเป็นระบบที่ เหมาะสมที่สุดทั้ งในเรื่อง ประสิทธิภาพ และค่าครองชีพของผู้บริโภค

abstract:

ค Abstract Title The impact of liquefied petroleum gas (LPG) prices on household security, which impacts the national security Field Science and Technology Name Suwatchai Pitakwongsaporn Course NDC Class 66 The primary objective of this research article is to study and analyze alternative policies for determining the price of Liquefied Petroleum Gas (LPG) by utilizing a Partial Equilibrium Analysis model and stakeholder questionnaires. The goal is to estimate prices and quantities and to analyze the impacts of implementing various pricing systems, such as a flexible price system, a full subsidy price system, weighted average price system, two-tier price system, and compare these with the current partial subsidy system. The study results indicate that, regardless of whether LPG import prices are high or low, retail LPG prices under a flexible price system are the highest, followed by prices under the weighted average price system, which reflect LPG production costs clearly. These prices are higher than the current actual retail LPG price. The significant increase in prices would lead to a notable reduction in domestic consumption, allowing producers to have sufficient LPG for export. Regardless of the pricing systems, the government receives higher tax revenues than the burden of compensation required to maintain fixed wholesale LPG prices. However, considering the import compensation burden and opportunity costs from exporters being unable to export LPG, it was found that exporters bear the opportunity cost except under a flexible price system that allows free LPG trade. When considering other criteria, including price efficiency, equity, and appropriate production costs, the researcher suggests that the government should adopt a pricing system that allows producers to receive price reflecting actual cost and reasonable profit while ensuring consumers pay retail price that reflects the actual cost of LPG producers and traders. Price should not be excessively high or volatile due to global market price. Additionally, the pricing system should not rely heavily on subsidy from the Oil Fuel Fund, with subsidy not exceeding the tax revenues collected from LPG. The pricing system that best fits these criteria is the weighted average price system, suitable for Thailand's situation. ง However, given the current economic condition with high living costs, increasing the LPG price burden on consumers may not be the best solution, as higher LPG price would accelerate inflation. LPG is used in various sectors, including production, transportation, and cooking, and higher price would undoubtedly impact consumer living costs. Survey results from questionnaires indicate that most respondents, being consumers, share the same view. Increasing retail LPG price affects living costs, and if price rises significantly, consumers may consider reducing usage or switching to alternative energy sources. Respondents believe that the government plays a crucial role in policy determination and expect the government to control price to minimize consumer impact. Therefore, although calculations for efficiency indicate that a flexible price system and weighted average price system offer the highest efficiency and should be adopted, economic stability and consumer factors suggest otherwise. Significantly higher price than current level could lead to broad impacts on inflation and usage level. Thus, the researcher concludes that until current price system, flexible price system, and weighted average price system converge to a level of insignificance, or until the government identifies more appropriate mechanisms, the current system remains the most suitable for both efficiency and consumer living costs.